จมูกไม่ได้กลิ่น (Asnomia) คือภาวะการสูญเสียการได้กลิ่นบางส่วนหรือทั้งหมด อาการทั่วไปคือความรู้สึกระคายเคืองจมูก เช่นอาการภูมิแพ้หรือการเป็นหวัด ก็เป็นอาการของจมูกไม่ได้กลิ่นเหมือนกัน
อาการที่มีความรุนแรงเป็นอาการที่ส่งผลกับสมองและเส้นประสาท เช่นเนื้องอกในสมอง หรือการบาดเจ็บที่ศีรษะ ก็อาจทำให้สูญเสียการรับกลิ่นไปชั่วคราวได้ บางครั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้นก็เป็นสาเหตุจมูกไม่ได้กลิ่นเช่นกัน
ภาวะจมูกไม่ได้กลิ่นปกติไม่ใช่ภาวะที่รุนแรง เพียงแต่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตได้
ผู้ป่วยที่มีภาวะจมูกไม่ได้กลิ่นก็อาจจะไม่สามารถรับรู้รสชาติอาหารได้เต็มที่และทำให้ความอยากในการรับประทานอาหารลดน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักตัวลงหรือขาดสารอาหาร จมูกไม่ได้กลิ่นเป็นสาเหตุของความเครียดเพราะความสามารถในการได้กลิ่นหรือรับรู้รสอาหารที่ชื่นชอบมันหายไป
สาเหตุ จมูกไม่ได้กลิ่น
จมูกไม่ได้กลิ่นบ่อยครั้งมักเกิดขึ้นมาจากการบวมและอุดตันภายในจมูกซึ่งเป็นตัวการในการกันกลิ่นไม่ให้ไปถึงด้านบนของจมูกได้ จมูกไม่ได้กลิ่นในบางครั้งอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับการส่งสัญญานจากเส้นประสาทในจมูกไปยังสมอง
สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะจมูกไม่ได้กลิ่น:
การระคายเคืองเยื่อเมือกในจมูก
ซึ่งส่งผลมาจาก:
- ไซนัสอักเสบ
- โรคไข้หวัด
- การสูบบุหรี่
- โรคไข้หวัดใหญ่
- โรคภูมิแพ้(โรคจมูกอักเสบ)
- หายใจขัดเรื้อรังที่ไม่เกี่ยวกับภูมิแพ้(โรคจมูกอักเสบชนิดไม่แพ้)
โรคไข้หวัดเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้สูญเสียการได้กลิ่นทั้งแบบบางส่วนและชั่วคราว จมูกไม่ได้กลิ่นนี้ก็จะหายไปได้เอง
การอุดตันในจมูก
การสูญเสียการได้กลิ่นจากการถูกปิดกั้นทางเดินของอากาศที่เข้าสู่จมูก อาจเกิดจาก:
- เนื้องอก
- โรคริดสีดวงจมูก
- ความผิดปกติของกระดูกในจมูกหรือผนังกั้นจมูกผิดรูป
สมองและเส้นประสาทเสียหาย
เนื่องจากประสาทรับกลิ่นที่อยู่ในจมูก เป็นตัวส่งสัญญานข้อมูลผ่านเส้นประสาทไปยังสมอง หากพบว่ามีส่วนใดได้รับความเสียหายก็อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะจมูกไม่ได้กลิ่นได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียหายมีดังต่อไปนี้:
- อายุที่เพิ่มมากขึ้น
- โรคอัลไซเมอร์
- เนื้องอกในสมอง
- โรคฮันติงตัน
- ความผิดปกติของฮอร์โมน
- ภาวะขาดไทรอยด์
- การใช้ยาบางชนิด รวมไปถึงยาปฏิชีวนะบางตัวและยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
- โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- โรคพาร์กินสัน
- โรคจิตเภท
- โรคลมชัก
- โรคเบาหวาน
- รับสารเคมีจนเกิดความเสียหายภายในจมูก
- อาการบาดเจ็บที่สมองหรือศีรษะ
- การผ่าตัดสมอง
- ภาวะขาดสารอาหารและได้รับวิตามินไม่เพียงพอ
- การบำบัดด้วยรังสี
- โรคพิษสุราเรื้อรังที่เป็นมาเป็นเวลานาน
- โรคหลอดเลือดสมอง
ผู้ที่เกิดมาไม่มีประสาทรับรู้กลิ่นที่เรียกว่าผู้ที่รับรู้กลิ่นเสียแต่กำเนิด ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก
อาการ จมูกไม่ได้กลิ่น
อาการที่ชัดเจน คือ สูญเสียการรับรู้กลิ่นต่าง ๆ เช่น กลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ เป็นต้น โดยผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับรู้กลิ่นได้เลย หรืออาจรับรู้กลิ่นต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปถึงการรับรู้รสชาติที่น้อยลงได้ด้วย
จมูกไม่ได้กลิ่นมักเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและเกิดขึ้นชั่วคราว แต่อาจกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ ในบางกรณีอาจก่อให้เกิดอันตรายหากกลิ่นที่ไม่รับรู้นั้นเป็นสัญญาณเตือนถึงสถานการณ์สำคัญต่าง ๆ เช่น กลิ่นก๊าซรั่ว กลิ่นควันไฟ กลิ่นนมเปรี้ยว เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือมีปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับการดมกลิ่นควรรีบไปพบแพทย์ โดยเฉพาะหากมีอาการจมูกไม่ได้กลิ่นโดยที่ไม่ได้ป่วยเป็นหวัดหรือภูมิแพ้ และอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์
การรักษา จมูกไม่ได้กลิ่น
การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากเกิดการสูญเสียเพราะเกิดจากหวัด ภูมิแพ้หรือไซนัสอักเสบ อาการต่างๆอาจหายไปเองได้ภายใน2-3วัน หากพบว่าอาการจมูกไม่ได้กลิ่นยังไม่หายไปแม้หวัดหรือภูมิแพ้จะดีขึ้นแล้วก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์
การรักษาอาจรวมไปถึงการไม่ได้กลิ่นเพราะเกิดจากการระคายเคืองเยื่อเมือกในจมูกด้วย เช่น:
- ยาแก้คัดจมูก
- ยาแก้แพ้
- ยาสเตรียรอยด์พ่นจมูก
- ยาปฏิชีวนะ สำหรับการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ยาลดการระคายเคืองของจมูก
- การเลิกสูบบุหรี่
การสูญเสียการได้กลิ่นที่มีสาเหตุมาจากสิ่งอุดตันสามารถรักษาได้ด้วยการนำสิ่งที่กีดขวางนั้นๆออก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำริดสีดวงจมูกหรือเนื้องอกขนาดใหญ่ออก
ในคนอายุมากอาจมีการสูญเสียการได้กลิ่นแบบถาวร
ยังไม่มีวิธีรักษาสำหรับผู้ที่มีภาวะจมูกไม่ได้กลิ่นมาแต่กำเนิด
คนที่สูญเสียการรับกลิ่นเป็นบางส่วนสามารถเติมกลิ่นลงในอาหารเพื่อให้มีความสุขมากขึ้นในการรับประทานอาหาร