ขาหัก (Broken Leg)

ภาวะขาหัก (Broken Leg)  เป็น ภาวะของการหักหรือร้าวของกระดูกที่ขา หรืออาจเรียกว่า กระดูกขาแตกหรือหัก ก็ได้

ทั้งนี้ การแตกหักของกระดูกขาอาจเกิดขึ้นกับกระดูกตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น:

  • กระดูกโคนขา  กระดูกโคนขาเป็นกระดูกที่อยู่เหนือเข่า เรียกอีกอย่างว่ากระดูกต้นขา
  • กระดูกหน้าแข้ง กระดูกหน้าแข้งเป็นกระดูกที่อยู่บริเวณหน้าแข้ง เป็นกระดูกสองชิ้นที่ใหญ่กว่ากระดูกขาใต้เข่าลงไป
  • กระดูกน่อง  กระดูกน่องเป็นกระดูกสองชิ้นที่เล็กกว่ากระดูกใต้เข่าลงไป หรือเป็นกระดูกขาชิ้นนอกซึ่งอยู่ระหว่างเข่าและข้อเท้า

กระดูกขา 3 ชิ้นนี้เป็นกระดูกที่ยาวที่สุดในร่างกาย กระดูกโคนขาจะเป็นส่วนที่ยาวและแข็งแรงที่สุด

ประเภทของกระดูกหัก

ประเภทของกระดูกหักและความรุนแรงของการแตกหักขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแรงที่ทำให้เกิดความเสียหาย

แรงบีบอัดเพียงเล็กน้อยแต่เกิดขึ้นต่อเนื่องอาจแค่ทำให้กระดูกร้าวได้ แต่แรงบีบอัดอย่างหนักอาจทำให้กระดูกแตกและหักได้

ประเภทของกระดูกหักที่พบบ่อย ได้แก่ :

  • การแตกหักตามขวาง กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นเส้นตรงและในแนวนอน
  • กระดูกหักเฉียง กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นเส้นทะแยงมุม
  • กระดูกหักเป็นเกลียว กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นเส้นรอบ ๆ กระดูกเหมือนลายเส้นบนเสาไฟหน้าร้านตัดผม ซึ่งเกิดมักเกิดจากจากแรงบิด
  • กระดูกแตกย่อย กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะกระดูกแตกเป็นชิ้น ๆ หรือ 3 ชิ้นขึ้นไป
  • การแตกหักแบบมั่นคง กระดูกหักประเภทนี้มีลักษณะปลายกระดูกเสียหายเรียงตัวกันใกล้กับตำแหน่งรอยแตก แม้จะขยับเบา ๆ ก็เคลื่อนไหวลำบาก
  • กระดูกหักแบบมีแผลเปิด กระดูกหักประเภทนี้มีชิ้นส่วนของกระดูกแทงทะลุออกมาทางผิวหนังหรือกระดูกโผล่ออกมาทางบาดแผล

สาเหตุขาหัก

สาเหตุ 3 ประการที่พบบ่อยที่สุดเมื่อเกิดภาวะขาหัก ได้แก่

  1. เกิดการบาดเจ็บ การหกล้มหรือตกจากที่สูง การประสบอุบัติเหตุ หรือการได้รับแรงกระทกจากการเล่นกีฬาอาจทำให้เกิดภาวะขาหักได้
  2. การใช้งานขามากเกินไป การออกแรงซ้ำ ๆ หรือการใช้งานขามากเกินไปอาจทำให้กระดูกขาแตกหรือหักได้
  3. โรคกระดูกพรุน   โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียมวลกระดูกมากเกินไป หรือทำให้มวลกระดูกเหลือน้อยลง ซึ่งจะทำให้กระดูกอ่อนแอและอาจแตกหรือหักได้

อาการขาหัก

หากเกิดกระดูกโคนขาแตกหรือหัก จะเห็นหรือรู้สึกได้ชัดเจนมาก เพราะกระดูกส่วนนี้แข็งแรกมาก และหากจะทำให้หัก ก็ต้องใช้แรงมหาศาล แต่หากกระดูกส่วนอื่นแตกหักอาจจะเห็นหรือรู้สึกได้ไม่ชัดเจนแบบกระดูกโคนขา หากกระดูกทั้ง 3 ชิ้นนี้แตกหรือหัก จะมีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีอาการปวดรุนแรง
  • มีอาการเจ็บหรือปวดมากเมื่อขยับหรือเคลื่อนไหว
  • มีอาการบวม
  • เกิดรอยฟกช้ำ
  • ขาผิดรูป
  • ขาสั้นลง
  • เดินเหินไม่สะดวกหรือเดินไม่ได้เลย

การรักษา ขาหัก

แพทย์เลือกวิธีรักษาภาวะขาหัก โดยดูจากตำแหน่งและประเภทของกระดูกที่หัก ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยโรคเพื่อดูว่าการแตกหักเป็นประเภทใดด้วย เช่น :

  • กระดูกหักแบบมีแผลเปิด กระดูกหักประเภทนี้จะมีกระดูกแทงหรือโผล่ออกมาจากผิวหนัง
  • กระดูกแตกหักแบบแผลปิด กระดูกหักประเภทนี้ผิวโดยรอบไม่มีแผลเปิด
  • กระดูกแตกหักไม่สมบูรณ์ กระดูกหักประเภทนี้เป็นกระดูกแตก แต่ไม่แยกออกจากกัน
  • กระดูกแตกหักสมบูรณ์.กระดูกหักประเภทนี้ กระดูกจะหักออกเป็นสองส่วนขึ้นไป
  • กระดูกแตกหักแบบแยกจากกันกระดูกหักประเภทนี้ ชิ้นส่วนกระดูกในแต่ละด้านของรอยแตกไม่อยู่ในแนวเดียวกัน
  • กระดูกเดาะ กระดูกหักประเภทนี้เป็นกระดูกแตกเพียงด้านเดียว ส่วนกระดูกอีกด้านโก่งไป ตามแรงกดที่ปะทะเข้ามา กระดูก “งอ” ภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับเด็ก

การรักษากระดูกหักเบื้องต้นก็เพื่อให้แน่ใจว่า ส่วนปลายของกระดูกอยู่ในแนวเดียวกันอย่างที่ควรจะเป็น จากนั้น จึงทำการตรึงกระดูกเพื่อให้กระดูกสามารถรักษาตัวเองได้ดี ทั้งนี้ เริ่มด้วยการจัดขาของผู้ที่มีกระดูกแตกหรือหัก

หากเป็นกระดูกแตกหักแบบแยกจากกัน แพทย์อาจต้องเคลื่อนชิ้นส่วนของกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง กระบวนการจัดท่าและจัดตำแหน่งกระดูกนี้เรียกว่า การจัดแนวกระดูกให้เข้าที่ เมื่อกระดูกอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว ขาจะถูกตรึงด้วยเฝือกกระดานหรือเฝือกที่ทำจากปูนปลาสเตอร์หรือไฟเบอร์กลาส

ศัลยกรรมรักษา

ในบางกรณี แพทย์จำเป็นต้องฝังอุปกรณ์ยึดภายใน เช่น แท่งยึดกระดูก แผ่นเหล็กยึดกระดูกหรือสกรูยึดกระดูก แพทย์จำเป็นต้องใช้วิธีการทำศัลยกรรมรักษาในกรณีดังต่อไปนี้ เช่น:

  • กระดูกหักหลายจุด
  • กระดูกแตกหักแบบแยกจากกัน
  • กระดูกหักหรือแตกแล้วทำให้เอ็นรอบข้างเสียหาย
  • กระดูกแตกหรือหักที่หักยาวไปยังข้อต่อ
  • กระดูกแตกหรือหักที่เกิดแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ
  • กระดูกแตกหรือหักในบางบริเวณ เช่น โคนขา

ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ใส่โลหะยึดตรึงกระดูกรยางค์ภายนอก ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงครอบอยู่นอกขา และยึดเนื้อเยื่อขาเข้ากับกระดูก

การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ที่มีกระดูกแตกหรือหักใช้ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป เช่น  อะเซตามิโนเฟน  หรือ  ไอบูโพรเฟน   เพื่อช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ

ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง แพทย์อาจสั่งจ่ายยาบรรเทาอาการปวดที่รุนแรงขึ้น

การทำกายภาพบำบัด

เมื่อถอดเฝือกแล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการตึง และช่วยฝึกการเคลื่อนไหวและสร้างความแข็งแกร่งให้กับขาที่รักษาหายแล้ว

[Total: 0 Average: 0]