การประเมินการทำงานของของตับอ่อน (C-peptide)

เกี่ยวข้อง insulin คือใช้ในการประเมินการทำงานของ beta – cell ของตับอ่อนเนื่องจากตับอ่อนหลั่ง C – peptide พร้อมกับ insulin ในปริมาณที่เท่ากันไม่ถูกทำลายโดยกระบวนการ first pass effect เหมือน insulin และจะอยู่ในกระแสเลือดได้นาน 4 ชั่วโมง ในขณะที่ insulin จะอยู่ในกระแสเลือดได้นานถึง 30 นาที นอกจากนั้นการวัด insulin ในกระแสเลือดยังวัดได้ยากเนื่องจากในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย Insulin ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็น exogenous insulin หรือ endogenous insulin กรณีที่วัด C – peptide ได้น้อยกว่า 0.2 mmmol / L แสดงว่า beta – cell เริ่มมีการสูญเสียการทำงานแล้ว

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ C – peptide ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 พบว่าช่วยลด glomerular hyperfiltration, filtration fraction และช่วยลด albumin excertion แต่ไม่ช่วยลด platelet fibrinogen binding ช่วยเพิ่ม cardiac perfusion ในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 1 ที่ขาด C – peptide โดยไม่เพิ่ม ozygen consumption และยังมีฤทธิ์ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นมากขึ้นในขณะพักและในขณะออกกำลังกาย มีเลือดไปเลี้ยงไตเพิ่มมากขึ้นโดยกระตุ้นผ่าน Na, K – ATPase ที่ capillary tissue ซึ่งจะเสริมฤทธิ์กับ insulin ช่วยให้มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

มีการศึกษาการใช้ C – peptideในหนูที่โตเต็มวัยที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานพบว่าช่วยให้มีการส่งกระแสประสาทได้ดีขึ้นซึ่ง จะเกิดในเส้นประสาทเส้นเล็กเช่นที่บริเวณหน้าขาได้ดีกว่าเส้นประสาทขนาดใหญ่ เช่น บริเวณก้นกบ Connecting peptide (c-peptide) เป็น biologically inactive chain formed ระหว่าง proteolytic Conversion ของโพรอินซูลิน (proinsulin) ต่ออินซูลิน ในเซลล์เบต้าของตับอ่อน (pancreatic beta cells) ซึ่งไม่มีอินซูลินที่มีผลต่อ biologically หรือ Immunologic assay ขณะที่อินซูลินถูกหลั่งเข้าไปในกระแสเลือด C – peptide chain จะแยกออกจากฮอร์โม

วัตถุประสงค์

1.เพื่อระบุสาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
2.เพื่อตรวจวัดการหลั่งอินซูลินโดยตรงที่พบอินซูลินแอนติบอดีส์ (insulin Antibodies) ในกระแสเลือด
3.เพื่อสืบหาเนื้อเยื่อที่ยังเหลืออยู่หลังจากผ่าตัดเอามะเร็งตับอ่อนออกทั้งหมด
4.เพื่อตรวจดูหน้าที่ของเบตาเซลล์ในผู้ป่วยเบาหวาน

ผลการตรวจที่เป็นปกติ

ระดับ C – peptide ในซีรั่ม โดยทั่วไปจะคู่ขนานกับ ระดับของอินซูลิน
ระดับปกติ C – peptide เมื่องดอาหาร = 0.78-1.89 ng / ml
อัตราส่วนของ insulin : C – peptide อาจจะตรวจดูความแตกต่างของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากก้อนเนื้องอก (insulinoma) ออกจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia)
อัตราส่วนของ insulin : C – peptide < 1.0 บ่งชี้ว่ามี endogenous insulin อัตราส่วนของ insulin : C – peptide >1.0 บ่งชี้ว่ามี endogenous insulin

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

ระดับ C – peptide สูงขึ้น ในผู้ป่วย Endogenous hyperinsulinism (insulinoma), oral hypoglycemic drug ingestion การปลูกถ่ายตับอ่อน หรือ B – cell ไตวาย หรือเบาหวานชนิดที่ 2
ระดับ C – peptide ลดลง น้ำตาลในเลือดต่ำชนิดเทียม การผ่าตัดตัดตับ อ่อนบางส่วนร่วมต่อมน้ำเหลืองหรือเบาหวานชนิดที่ 1

[Total: 1 Average: 5]