การดูดและเจาะเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกส่งตรวจ (Bone marrow aspiration biopsy)

การดูดและเจาะเอาเนื้อเยื่อไขกระดูกส่งตรวจ  (Bone  marrow  aspiration  biopsy) คือ การตรวจ  เซลล์และระบบเลือดของไขกระดูก  เป็นข้อมูลการวินิจฉัยที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับความผิดปกติของเลือดไขกระดูกอาจจะเอาออกมาด้วยการดูด หรือใช้วิธีการใช้เข็มเจาะตัดเนื้อเยื่อ (needle  biopsy) หลังจากฉีดยาชา  ส่วนการดูดออกจากไขกระดูก  ดูดเอาสิ่งส่งตรวจออกมาเป็นน้ำ  โดยดูดไขกระดูกมีลักษณะเป็นหนองขังอยู่ถูกเอาออกจากไขกระดูก  ส่วน  needle  biopsy นำเอา core  of  marrow  cells (ไม่ได้เป็นน้ำ) ออกมา การตรวจเหล่านี้ใช้ไขกระดูกสีแดง  (red  marrow) ซึ่งมีประมาณร้อยละ  50 ของไขกระดูกทั้งหมดของผู้ใหญ่  ผลิตโดยสเต็มเซลล์  (stem  cells) ซึ่งสุดท้ายค่อย ๆ  พัฒนากลายเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงเซลล์เม็ดเลือดขาว  และเกล็ดเลือด ไขกระดูกสีเหลือง (yellow  marrow) ประกอบด้วย  เซลล์ไขมัน (fat  cells) และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective  tissue) การเสียเลือดและการติดเชื้อ  อาจเป็นผลมาจาก  bone   marrow  biopsy  แต่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากที่สุดเกิดที่  sternum  เช่น  ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการเจาะที่หัวใจและหลอดเลือดใหญ่ เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกอย่างรุนแรง  และหากเจาะที่  mediastinum  เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะเมดิแอสตินั่มอักเสบ (mediastinitis) หรือภาวะมีอากาศในเนื้อเยื่อเมดิแอสตินั่ม (pneumomediastinum)

วัตถุประสงค์
1.เพื่อวินิจฉัยภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)  มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) รวมทั้งโรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (aplastic   tumors) และโรคโลหิตจางอย่างร้ายแรง (Pernicious  anemia)
2.เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นเนื้องอกปฐมภูมิ (primary  tumors)  และมะเร็งที่แพร่กระจายมาจาอวัยวะอื่น ๆ (Metastatic tumors)
3.เพื่อค้นหาสาเหตุของการติดเชื้อ
4.เพื่อตรวจดูระยะของโรค  เช่น  Hodgkin’s  disease
5.เพื่อดูผลการรักษาด้วยเคมีบำบัด  และเฝ้าระวัง (monitor) ภาวะที่ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดได้น้อยเนื่องจากผลของการรักษาโรคมะเร็ง

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าเป็นการตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ดู bone  marrow Specimen
2.อธิบายวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบและตอบคำถามของผู้ป่วย
3.บอกผู้ป่วยว่าไม่ต้องดน้ำงดอาหารก่อนตรวจ
4.บอกผู้ป่วยว่าใครเป็นผู้ตรวจและสถานที่ตรวจ
5.บอกผู้ป่วยว่าต้องเจาะไขกระดูกมากกว่า 1 ครั้ง อาจเจาะเลือดก่อนเจาะไขกระดูกเพื่อส่งห้องตรวจ
6.บอกผู้ป่วยว่าจะได้รับการฉีดยาชาแต่จะยังคงรู้สึกไม่สุขสบายและมีแรงกดเมื่อเข็มที่ใช้เจาะกระดูกแทงเข้าไปในกระดูก
7.ให้ผู้ป่วยหรือยาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษา
8.ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยว่าแพ้ยาชาหรือไม่
9.บอกผู้ป่วยว่าจะเจาะไขกระดูกส่วนไหน เช่น กระดูกสันอก (sternum) กระดูกเชิงกราน (anterior  หรือ posterior  iliac  crest) หรือกระดูกแข้ง (tibia)
10.บอกผู้ป่วยว่าจะได้รับยาชาเฉพาะที่ และจะรู้สึกมีแรงกดชั่วครู่บริเวณที่สอดใส่เข็มตัดเนื้อไขกระดูก  และเข็มดูดไขกระดูก ต้องให้ยานอนกลับ 1  ชั่วโมงก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.หลังจากจัดท่าผู้ป่วย บอกผู้ป่วยให้อยู่นิ่ง ๆ
2.ดูแลด้านจิตใจขณะตัดชิ้นเนื้อโดยคุยกับผู้ป่วยเบา ๆ บอกถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นและตอบคำถามของผู้ป่วย

 Aspiration  biopsy
1.เตรียมบริเวณผิวหนังที่ต้องการจะเจาะไขกระดูกแล้วฉีดยาชาเฉพาะที่ ใช้เข็มดูดไขกระดูกที่สอดใส่ผ่านผิวหนัง  ผ่านชั้นเนื้อเยื่อลงไปถึงกระดูก
2.ดึง  tylet  ออกจากเข็ม และต่อกับ syringe 10-20 มิลลิลิตร  ผู้ตรวจดูดเอาไขกระดูก 0.2-0.5  มิลลิลิตรแล้วถอนเข็มออก
3.กดตำแหน่งที่เจาะเป็นเวลา 5 นาที (หากผู้ป่วยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ  กดนาน  10-15   นาที)
4.ทำความสะอาดตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อ  และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ที่ปราศจากเชื้อ
5.หากดูดได้ไขกระดูกยังไม่เพียงพอในครั้งแรก  อาจต้องเจาะเข้าไปในช่องไขกระดูกอีกครั้งหรือเอาเข็มออกใส่อีกครั้งในตำแหน่งที่ฉีดยาชา หากพยายามครั้งที่สองแล้วไม่สำเร็จ  อาจต้องทำ needle  biopsy

Needle  biopsy
1.หลังจากเตรียมตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อและจัดบริเวณที่จะเจาะเรียบร้อยแล้ว  ผู้ตรวจทำเครื่องหมายบริเวณผิวหนังด้วยปากกา (marking pen)
2.ฉีดยาชาเข้าไปในชั้นใต้ผิวหนัง  ชั้นใต้ไขมันและชั้นผิวของกระดูก
3.สอดใส่เข็มตัดชิ้นเนื้อเข้าไปในเยื่อหุ้มกระดูกแข็งด้านนอก (periosteum) และ  needle  guard  แทงเข็มเข้าไปถึงชั้นผิวของกระดูก
4.แล้วใส่  inner  needle  ด้วย  trephine  tip  เข้าใน outer  needle โดยหมุนเข็มกลับไปกลับมาตามเข็มนาฬิกาและทวนเข็มนาฬิกาผู้ตรวจแทงเข็มเข้าไปในช่องไขกระดูกและตัดเอาเนื้อเยื่อออกมา
5.เมื่อดูดเอาไขกระดูกออกมาแล้วให้ใส่ในขวดที่มีน้ำยา Zenker’s  acetic  acid
6.หลังจากทำความสะอาดตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อแล้ว  ปิดพลาสเตอร์

Both  procedure
1.ตรวจสอบตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อว่ามีเลือดออกและมีการอักเสบหรือไม่
2.สังเกตผู้ป่วยว่ามีอาการแสดงของการเสียเลือดและการติดเชื้อหรือไม่  เช่น ชีพจรเร็ว ความดันเลือดต่ำ มีไข้ เป็นต้น

ข้อควรระวัง
1.Bone  marrow  biopsy มีภาวะแทรกซ้อนกับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของเลือด
2.ส่งชิ้นเนื้อหรือสไลด์ไปยังห้องตรวจทันที

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ผลการตรวจเป็นปกติจะพบไขกระดูกมีสีเหลือง (yellow  marrow)  ซึ่ง  ประกอบด้วย  เซลล์ไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective  tissue)
ไขกระดูกสีแดง (red  marrow) ประกอบด้วย เซลล์เม็ดเลือด (hematopoietic cells) เซลล์ไขมัน (fatcells) และเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน   (connective  tissue) นอกจากนี้เมื่อย้อมสีจะพบว่าได้ผลการตรวจเป็นปกติ ได้แก่

1.ตรวจด้วยสีย้อมพิเศษ (special  stains) ใช้เพื่อการตรวจสอบความผิดปกติทางโลหิตวิทยาพบว่าปกติ
2.ตรวจด้วยสีย้อมธาตุเหล็ก (iron  stain) ใช้วัดฮีโมซิเดอริน (hemosiderin)ซึ่งสะสมธาตุเหล็ก มีระดับ 2+
3.ตรวจด้วย Sudan  black B (SBB) fat  stain  ซึ่งใช้ตรวจหา glycogen Reactions  พบว่าได้ผลลบ (negative)
4.ตรวจด้วย  Periodic  acid – Schiff  (PAS) stain  ซึ่งตรวจหา  glycogen Reactions  พบว่าได้ผลลบ (negative)

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
จากการตรวจลักษณะของเซลล์ไขกระดูกตรวจพบเนื้อเยื่อใยเหนียวแทรกแทนไขกระดูก (myelofibrosis) พบมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma) และเซลล์มะเร็ง (cancer)

             การตรวจด้วยสีย้อมธาตุเหล็ก (iron stain) พบระดับฮีโมซิเดอริน (hemosiderin) ลดลง  ซึ่งอาจบ่งชี้ว่ามีภาวะขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency) พบระดับฮีโมเดอรินเพิ่มขึ้น  อาจพบได้ทั้งภาวะซีดและมีภาวะเลือดออกผิดปกติ (blood disorders) ส่วนการตรวจ  sudan    black B (SBB) stain  ได้ผลบวก สามารถแยก Acute  granulocytic  leukemia  จาก acute  lymphocytic  leukemia (SBB – negative) หรืออาจบ่งชี้  granulation ใน  myeloblasts  ซึ่ง  PAS  stain  ได้ผลบวก อาจบ่งชี้มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง    (acute  หรือ chronic  lymphocytic  leukemia) อะไมลอยโดซิส (amyloidosis) โรคธาลัสซีเมีย (thalassemia) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphomas) โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอลิส (Infectious  mononucleosis) ภาวะโลหิตจางจาการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency  anemia)

[Total: 1 Average: 1]