การตัดชิ้นเนื้อจากเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจ (Pleural biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจ (Pleural biopsy) เป็นการนำเนื้อเยื่อจากเยื่อหุ้มปอด (pleura) ควรดูลักษณะของเซลล์ (histology)โดยการทำ needle biopsyหรือ open biopsy เพื่อตรวจดูเซลล์ (ทำโดยฉีดยาชาเฉพาะที่) ทั่ว ๆ ไปเจาะปอด (ดูดเอาน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด) ใช้ตรวจเมื่อไม่ทราบสาเหตุของการมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด การตัดชิ้นเนื้อโดยผ่าตัดช่องอก (Open pleural) ทำเมื่อไม่เห็นน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด จึงต้องตรวจให้เห็นเยื่อหุ้มปอดและสิ่งที่เป็นสาเหตุอยู่เบื้องหลังที่ปอดโดยตรง การตรวจแบบนี้ต้องทำในห้องผ่าตัด

วัตถุประสงค์
1.เพื่อแยกระหว่างโรคมะเร็งและไม่ใช่โรคมะเร็ง
2.เพื่อวินิจฉัยโรคของเยื่อหุ้มปอดว่าเกิดจากเชื้ออะไร เช่น ไวรัส รา พยาธิเป็นต้น หรือโรคของเยื่อหุ้มปอด

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าจะตรวจอย่างไร
2.บอกผู้ป่วยว่าเป็นการตรวจหาเชื้อในเยื่อหุ้มปอด
3.บอกว่าใครเป็นคนตรวจ สถานที่ตรวจ และไม่ต้องงดอาหาร
4.บอกว่าจะต้องเจาะเลือดไปตรวจก่อนการตัดชิ้นเนื้อ และถ่ายภาพรังสีทรวงอกก่อนและหลังตัดชิ้นเนื้อ
5.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบยินยอมรับการตรวจรักษาก่อนตรวจ
6.ตรวจดูว่าผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยาชาหรือไม่
7.บอกผู้ป่วยว่าจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยจากการฉีดยาชา
8.บันทึกสัญญาณชีพก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลหลังตรวจ
1.จัดให้ผู้ป่วยนั่งด้านข้างของเตียง พักเท้าอยู่บนม้านั่ง และวางแขนบนโต๊ะคร่อมเตียง บอกให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่นิ่ง ๆ จนกว่าจะตรวจเสร็จ
2.เตรียมผิวหนังและจัดบริเวณที่จะตัดชิ้นเนื้อ
3.ฉีดยาชาเฉพาะที่
4.การตัดชิ้นเนื้อชนิด Vim – silverman needle biopsy โดยแทงเข็มผ่านช่องว่างระหว่างซี่โครงที่เหมาะสม ไปยังตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ ไปยังเยื่อหุ้มปอดและตรงกลางดันยาชาลงไปส่วนที่ลึกและตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ จากข้างนอกแทงเข็มเข้าไปประมาณ 1 เซนติเมตร หมุนไปรอบ ๆ 360 องศา และใช้เข็มดูดเอาเนื้อเยื่ออกมาเพื่อส่งตรวจ ส่วนชนิด Core needle biopsy ใช้ trocar แทงนำผ่านเข้าช่องว่างระหว่างซี่โครงไปยังตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อ เพื่อนำเอาเนื้อเยื่อออกมาส่งตรวจ โดยมีห่วง ผ่านเข้าทาง trocar ขณะที่จับท่อด้านนอกไว้นิ่ง ๆ ท่อด้านในถูกบิดเพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อเยื่อออกมาและดึงออกมาทั้งหมด
5.หลังจากได้สิ่งส่งตรวจแล้ว อาจดูดเอาน้ำออกมา เพื่อเป็นการรักษาภาวะที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
6.ใส่สิ่งส่งตรวจในน้ำยาฟอร์มาลิน 10% ทันที เขียนข้างขวดที่ใส่สิ่งส่งตรวจและส่งไปยังห้องตรวจทันที
7.ทำความสะอาดรอบผิวหนังที่ตัดชิ้นเนื้อและปิดพลาสเตอร์
8.ถ่ายภาพรังสีทรวงอกซ้ำทันทีหลังจากตัดชิ้นเนื้อเสร็จ
9.บันทึกสัญญาณชีพทุก 15 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง และทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 4 ชั่วโมงหรือจนกระทั่งชีพจรคงที่

  1. สิ่งที่ต้องระวังทางคลินิก คือ เฝ้าระวังอาการแสดงของการกดการหายใจปวดไหล่ และภาวะแทรกซ้อน เช่น มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (เกิดขึ้นทันที) มีภาวะปอดอักเสบ (เกิดขึ้นช้า) และมีเลือดออก
  2. แนะนำผู้ป่วยให้นอนพักเพื่อให้แผลที่ตัดชิ้นเนื้อหายเร็วขึ้น

ข้อควรระวัง

การนำชิ้นเนื้อปอดส่งตรวจ (Pleural biopsy) ห้ามทำสำหรับผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติอย่างรุนแรง

ผลการตรวจที่เป็นปกติ

เยื่อหุ้มปอดปกติ ประกอบด้วย เซลล์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ เนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีหลอดเลือด เส้นประสาท และท่อน้ำเหลือง

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

การตรวจลักษณะเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ส่งตรวจ สามารถพบโรคที่มีเนื้อร้ายวัณโรค และพบไวรัส เชื้อรา พยาธิ หรือโรคทางหลอดเลือดและคอลลาเจนเนื้องอกของเยื่อหุ้มปอด

[Total: 0 Average: 0]