การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test)

การตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test)

กรตรวจสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test หรือ Lung function  test) เป็นการตรวจหน้าที่การระบายอากาศหายใจ โดยใช้สไปโรมิเตอร์ (spirometer)ใช้สำหรับตรวจผู้ป่วยที่สงสัยวาปอดทำหน้าที่ผิดปกติ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อประเมินการระบายอากาศหายใจก่อนผ่าตัด
2.เพื่อประเมินผลก่อนและหลังจากการักษาด้วยยาขยายหลอดลม
3.เพื่อวิเคราะห์แยกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังว่าเป็นชนิดใด  เช่น ปอดถูกจำกัดการขยายตัวหรือปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ (restrictive) พบในผู้ป่วยผ่าตัดปอดออกทั้ง 2 ข้าง (pneumonectomy) มีพังผืดเกาะในปอด (pulmonary fibrosis) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม (pneumonia) หรือปอดมีการอุดกั้น (obstructive) หรือมีความยืดหยุ่น  ตัวลดลง พบในโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis) หรือถุงลมปอดโป่งพอง (pulmonary emphysema)

การเตรียมผู้ป่วย
1.อธิบายวิธีการตรวจให้ผู้ป่วยทราบ
2.บอกผู้ป่วยให้งดยาขยายหลอดลมหรืองดสูบบุหรี่ 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
3.วัดและบันทึกส่วนสูงและน้ำหนักผู้ป่วยก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ
1.ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า – ออกผ่านกระบอกสูบหรือท่อที่ต่อกับสไปโรมิเตอร์ซึ่งจะบันทึกค่าตามที่ผู้ป่วยหายใจ
2. บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึก ๆ เท่าที่จะทำได้ และหายใจออกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. ผลที่บันทึกบนสไปโรมิเตอร์ จะนำมาคำนวณหาค่า FVC, FEV1, FEV1/ FVC และ  MMEF
4.ให้ผู้ป่วยหายใจเข้า – ออกลึกและเร็วเท่าที่จะทำได้ 10 – 15 วินาที (โดยทั่วไปจะหายใจได้วินาทีละ 40 – 70 ครั้ง และจำนวนอากาศที่หายใจเข้าแต่ละครั้งจะมีค่าเป็น 50% ของปริมาณอากาศที่หายใจออกเต็มที่หลังจากการหายใจเข้าเต็มที่โดยไม่ต้องใช้แรงหรือความเร็วเข้าช่วย) ปริมาตรอากาศที่หายใจได้จะบันทึกบนสไปโรมิเตอร์  การทดสอบนี้จะใช้เวลาประมาณ 10 นาที
5. ให้ผู้ป่วยพักระหว่างตรวจในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจอย่างรุนแรง

ข้อควรระวัง
ห้ามทำในผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวด  เพราะการตรวจนี้จะต้องบอกให้ผู้ป่วยหายใจเข้าและออกลึก ๆ

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
                FVC        (Forced vital capacity)    =     3,800  มิลลิลิตร
                FEV1       (Forced expiratory volume in 1 second)  =     3,000 มิลลิลิตร
                MMEF     (Maximal mid expiratory flow)    =    360 ลิตร / นาที
                MVV        (Maximal voluntary ventilation)  =    125 – 170   ลิตร / นาที
FVC         (Forced vital capacity)  คือ ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็วแรง จนหมด หลังจากหายใจเข้าอย่างเต็มที่ ผลการประเมินค่า
                ค่า  FVC  แสดงถึงปริมาตรอากาศที่จุอยู่ในปอดเกือบทั้งหมด ค่าปกติ > 8 0%
                ปริมาตรอากาศที่วัดได้เมื่อหายใจเข้าเต็มที่  แล้วหายใจออกหรือเป่าออกอย่างเร็ว แรง จนหมด FVC ถือเป็นดรรชนีที่สำคัญในการทดสอบหน้าที่การระบายอากาศหายใจที่ช่วยบอกเกี่ยวกับแรงต้านในทางเดินหายใจ และกำลังงานที่ใช้ในการหายใจ หากได้ค่าลดลงกว่าปกติ พบได้ในผู้ป่วยโรคปอดแบบ  restrictive  และ obstructive FEV1 (Forced expiratory volume in one second) คือ ปริมาตรของอากาศที่เป่าออกอย่างเร็ว แรง ในวินาทีที่ 1 ซึ่ง FEV1 นี้เป็นข้อมูลที่ใช้บ่อยที่สุดใน  การตรวจสมรรถภาพปอด
                ค่า  FEV1  ใช้ค่าคำนวณร่วมกับค่า FVC เพื่อหาค่า  FEV1/ FVC  เป็น %
                ค่าปกติ  FEV1  >  80%
FEV1/  FVC%  คือ  ร้อยละของปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมาได้ในวินาที  ที่ 1 ต่อปริมาตาของอากาศที่เป่าออกมาได้มากที่สุดอย่างเร็ว แรง ซึ่งเป็นข้อมูลที่ดีที่ สุดที่แสดงถึงการอุดกั้นของหลอดลม
                ผลการประเมินค่า FEV1/  FVC% จะแสดงถึงความสามารถในการที่จะเป่า อากาศออกจากปอด ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแรงของผู้เข้ารับการตรวจ และลักษณะของทางเดินหายใจ ถ้าทางเดินหายใจถูกอุดกั้นหรือมีความยืดหยุ่นตัวลดลง อากาศจะผ่านออกลำบาก
                ค่าปกติ  FEV1/  FVC  >  70 %
ผลการตรวจที่ผิดปกติ
                ค่า  FVC  ลดต่ำลง เมื่อเนื้อเยื่อปอดมีการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นพังผืด หรือปอด ขยายตัวได้ไม่เต็มที่ เรียกภาวะนี้ว่า “Restrictive
 (มีการจำกัดการขยายตัวของปอด)”
                ค่า  FEV1/  FVC  ลดน้อยลงในภาวะ “obstructive (มีการอุดกั้นของ  หลอดลมหรือมีการตีบของหลอดลม”

[Total: 0 Average: 0]