การผ่าตัดเอาเต้านมออก (Mastectomy)

Mastectomy คือการผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และกล้ามเนื้อที่หน้าอกออก ซึ่งมีวิธีการผ่าตัดได้หลายชนิด

  • Simple Mastectomy เป็นการผ่าตัดเอาเฉพาะเต้านมออกหมดแต่ต่อมน้ำเหลือง แต่ไม่ตัดกล้ามเนื้อ
  • Modified Radical Mastectomy (MRM) ผ่าตัดเอาเต้านมและต่อมน้ำเหลือง และกล้ามเนื้อหน้าอกบางส่วนออก ซึ่งวิธีนี้เป็นมาตรฐานการผ่าตัดในปัจจุบัน
  • Radical Mastectomy ผ่าตัดเอาเต้านม ต่อมน้ำเหลืองรักแร้ทั้งหมด และกล้ามเนื้อหน้าอกออกหมด

สมัยก่อนแพทย์มีความเชื่อว่า การผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกให้มากที่สุด จะลดโอกาสการแพร่กระจายของมะเร็ง และเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอด แต่ปัจจุบันได้พบความจริงแล้วว่า การตัดต่อมน้ำเหลืองออกหมด ไม่ได้ลดอัตราการแพร่กระจายของมะเร็ง แต่การต่อมน้ำเหลืองไปตรวจก็มีประโยชน์ ที่จะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง และยังมีประโยชน์ในการเลือกยาที่จะใช้รักษา

การตัดต่อมน้ำเหลืองตรวจมีสองวิธีคือ Sentinel lymph node biopsy (SLNB) คือการตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับมะเร็ง เพื่อส่งตรวจหามะเร็ง หากไม่พบเซลล์มะเร็งก็ไม่ต้องผ่าต่อ แต่หากพบเซลล์มะเร็งก็จะผ่าตัดแบบ Axillary lymph node dissection (ALND) คือตัดเอาต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง

  • ชาบริเวณผิวหนังแขนด้านใน
  • การเคลื่อนไหวของแขนและไหล่ติดขัด
  • บวมบริเวณแขนและเต้านมที่เรียกว่า Lymphedema

วิธีป้องกัน Lymphedema

  • ไม่เจาะเลือด หรือให้น้ำเกลือแขนข้างที่จะผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง
  • ไม่วัดความดันโลหิตแขนข้างดังกล่าว
  • หากรู้สึกว่าแขนบวมให้บอกแพทย์
  • ใส่เสื้อเฉพาะที่รัดแขน
  • เมื่อจะทำสวนให้ใส่ถุงมือ

การผ่าตัดมะเร็งเต้านม ด้วยวิธี Radical mastectomy เริ่มต้นขึ้นในปี 1882 โดย William Halsted หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาการผ่าตัดเรื่อยมาเป็น Modified radical mastectomy จนกระทั่งกลางทศวรรษ 1970 มีการทำ randomized control trial ของ Breast conserving surgery เทียบกับ mastectomy พบว่าอัตราการรอดชีวิตเท่ากัน ทำให้รูปแบบของการผ่าตัดมะเร็งเต้านมเปลี่ยนแปลงไปร่วมกับมีการพัฒนาของยาที่ใช้ร่วมรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นทำให้เป้าหมายของการผ่าตัดจากเดิมที่มุ่งหวังจะให้หายขาดด้วยการผ่าตัดใหญ่ๆ พัฒนามาเป็นการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยคำนึงถึงระยะของโรคชนิดของมะเร็งการรักษาร่วมอื่นๆ รวมถึงความต้องการของผู้ป่วยด้วยทำให้การผ่าตัดมะเร็งเต้านมมีความหลากหลายมากขึ้น

[Total: 1 Average: 5]