การรักษาโรคมะเร็งด้วยสารเภสัชรังสี (Radiopharmaceuticals)

สารเภสัชรังสี คือสารกัมมันตรังสีที่ติดฉลากกับสารเคมีที่มีโครงสร้างและคุณสมบัติที่เหมาะสม เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปยังอวัยวะเป้าหมายที่ต้องการ ทำให้สามารถนับวัดรังสีและถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยโรค หรือใช้ทำลายเนื้อเยื่อเพื่อการรักษาโรคได้

สารเภสัชรังสีแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. สารเภสัชรังสีสำหรับการรักษา (Therapeutic Radiopharmaceuticals) เป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่สามารถทำลายเซลล์หรือเนื้อเยื่อได้ ตัวอย่างสารเภสัชรังสีในการบำบัดรักษาโรคได้แก่
    1. รักษาโรคของต่อมไทรอยด์บางชนิด เช่น thyrotoxicosis thyroid carcinoma โดยการให้ I-131 ในรูปแบบสารละลายหรือแคปซูล ในขนาด 1-150 mCi ถ้าขนาดที่ให้มากกว่า 30 mCi จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยพักในโรงพยาบาลก่อน
    2. บรรเทาอาการปวดเนื่องจากมะเร็งแพร่กระจายที่กระดูก (Bone metastases) เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตในช่วงสุดท้ายที่ดีขึ้น สารเภสัชรังสีที่ใช้คือ Sr-89 และ Sm-153 EDTMP ซึ่งมีกลไกการสะสมในกระดูกเหมือน MDP
    3. I-131 Lipiodol ใช้ในการรักษามะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma ที่ไม่สามารถรักษาโดยการผ่าตัด โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดแดงตับ I-131 Lipiodol จะค้างอยู่ในหลอดเลือดฝอยของเนื้องอก
    4. รักษา rheumatoid arthritis โดยการฉีดสารกัมมันตรังสีที่ติดฉลากกับ particle เช่น Sm-153 hydroxyapatite
    5. I-131 ใช้ในการรักษาเนื้องอกชนิด pheochromocytoma และ neuroblastoma
    6. Y-90 Ibritumomab ใช้ในการการรักษา non-Hodogekin’s lymphoma Ibritumomab เป็น monoclonal antibody ซึ่งจำเพาะต่อ antigen CD-20
    7. Boron neutron capture therapy เป็นการรักษามะเร็งสมองบางชนิด โดยการทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเนื้อสมองส่วนที่เป็นมะเร็ง  ซึ่งสามารถทำลายเนื้อร้ายได้
  2. สารเภสัชรังสีสำหรับการตรวจวินิจฉัย (Diagnostic Radiopharmaceuticals) รังสีที่แผ่ออกมาจากจากร่างกายผู้ป่วยจะถูกนับวัดและนำมาประมวลไห้เกิดภาพหรือค่าทางคณิตศาสตร์ที่ประเมินความผิดปกติของอวัยวะที่เป็นโรคได้ สารเภสัชรังสีที่นำมาใช้ศึกษาความผิดปกติของกายวิภาคและการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกาย มีดังนี้
    1. Brain scan
      • Conventional brain scan ภาพถ่ายที่ได้บอกจุดที่ Blood brain barrier มีความผิดปกติหรือมีรอยฉีกขาด ทำให้สารเภสัชรังสีพวก Hydrophilic เช่น Tc-99m DTPA Tc-99m Glucoheptonate สามารถผ่านเข้าไปในสมองได้
      • Perfusion study ภาพถ่ายจะแสดงการไหลเวียนของโลหิตในสมอง สารเภสัชรังสีที่ใช้คือ Tc-99m ECD Tc-99m HMPAO
      • Glucose metabolism study เป็นการศึกษากระบวนการทางชีวเคมีของสมองโดยใช้ PET radiopharmaceutical เช่น F-18 Fluorodeoxyglucose
    2. Lung scan
      • Perfusion lung scan ภาพการตรวจแสดงการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีตามการไหลเวียนของ Pulmonary artery โดยดูการกระจายตัวของอนุภาคที่ไปอุดกลั้นใน arterioles เช่น Tc-99m MAA ขนาดอนุภาค 20-50 µm  จำนวนอนุภาค 200,000-400,000
      • Ventilation lung scan ภาพถ่ายแสดงการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีในทางเดินหายใจตั้งแต่หลอดลมจนถึง alveoli สารเภสัชรังสี Tc-99m Phytate ที่ใช้อยู่ในรูป aerosol ที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 µm และให้ผู้ป่วยหายใจเข้าทางปาก
    3. Cardiology scan
      1. Myocardial perfusion สารเภสัชรังสีที่ใช้ในการตรวจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
        • Cold spot marker สารเภสัชรังสีจะกระจายเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจเป็นสัดส่วนกับปริมาณของ coronary blood flow บริเวณที่ไม่มีสารเภสัชรังสี (cold spot) คือบริเวณที่มีกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ตัวอย่างสารเภสัชรังสีชนิดนี้คือ  Tc-99m MIBI Tl-201 chloride
        • Hot spot marker ตัวอย่างสารเภสัชรังสีชนิดนี้คือ Tc-99m Pyrophosphate ใช้ศึกษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเฉียบพลัน จากภาพจะเห็นสารเภสัชรังสีสะสม (hot spot) ที่บริเวณที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย
      2. Blood pool imaging ประเมินการทำงานของ ventricle เช่น ปริมาตร การเคลื่อนไหวของผนังหัวใจ หรือ ejection fraction ซึ่งเป็นค่าแสดงปริมาณร้อยละของเลือดใน ventricle ซ้ายที่ถูกฉีดออกไปในแต่ละครั้งของการบีบตัว สารเภสัชรังสีที่ใช้คือ เม็ดเลือดแดงที่ติดฉลากด้วย Tc-99m
      3. Myocardial metabolism เป็นการศึกษาที่จะบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว โดยใช้ PET radiopharmaceutical เช่น F-18 FDG หรือ C-11 palmitate
      4. Hepatobiliary scan สารเภสัชรังสีที่ใช้จะเข้าสู่ hepatocyte ในตับโดยวิธี active transport และถูกขับออกทางน้ำดี เข้าไปในถุงน้ำดี ผ่าน common bile duct ไปสู่ลำไส้เล็กภายใน 1 ชม. ภาพถ่ายที่ได้จะช่วยในการวินิจฉัยอาการผิดปกติของทางเดินน้ำดี สารเภสัชรังสีที่ใช้คือ Tc-99m DISIDA
      5. Reticuloendothelial scan ภาพถ่ายที่ได้จากการฉีด Tc-99m Sulfur colloid ที่ไปสะสมในตับและม้ามจะใช้ตรวจความผิดปกติของระบบที่มีหน้าที่จับสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอนุภาคโดยวิธี phagocytosis
      6. Renal scan เป็นการถ่ายภาพเพื่อดูการทำงานของไต แบ่งได้เป็น 3 ระยะเพื่อดู blood flow, parenchyma cell และ excretion ของไต สารเภสัชรังสีที่ใช้มีหลายชนิดและมีกลไกการทำงานต่างกัน จึงสามารถเลือกใช้เพื่อศึกษาแต่ละหน้าที่ของไตได้ ถ้าต้องการศึกษา glomerular filtration ใช้ Tc-99m DTPA ถ้าต้องการศึกษา tubular function ใช้ I-131 Hippuran ส่วน Tc-99m MAG3 สามารถใช้ศึกษาได้ทั้ง 2 อย่าง
      7. Bone scan เป็นการตรวจหาตำแหน่งและขอบเขตของกระดูกที่มีความผิดปกติ สามารถตรวจได้ในบริเวณกว้างทั่วร่างกาย สารเภสัชรังสีที่นิยมใช้คือ Tc-99m MDP เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะไปสะสมในกระดูก โดยบริเวณที่มีความผิดปกติอาจเห็นเป็น hot spot หรือ cold spot ก็ได้
      8. Thyroid function studies ศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ทั้งทางกายภาคและการทำงานของต่อม โดยการใช้ I-131 ในการตรวจวัดการทำงาน และนิยมใช้  Na-TcO4 ในการถ่ายภาพ
      9. Adrenal gland studies I-131 MIBG ใช้ในการตรวจเนื้องอกใน adrenal medulla (pheochromocytoma) ได้
      10. Tumor imaging ให้ข้อมูลในการวินิจฉัย บอกระยะความรุนแรงของโรค การตอบสนองต่อการรักษา และประเมินการกลับมาใหม่ของโรค สารเภสัชรังสีที่ใช้มีทั้งที่จับกับเนื้องอกแบบไม่เฉพาะเจาะจง เช่น Ga-67 Tl-201 Tc-99m MIBI และ F-18 FDG และสารเภสัชรังสีที่จับกับเนื้องอกบางชนิดเท่านั้น เช่น I-131 MIBG ใช้ตรวจเนื้องอกที่เกิดจาก neuroendocrine system Tc-99m antiCEA ใช้ตรวจมะเร็งลำไส้ In-111satumomab ใช้ตรวจมะเร็งรังไข่และมะเร็งลำไส้ In-111 octreotide ใช้ตรวจเนื้องอกที่มี somatostatin receptor
[Total: 1 Average: 5]