โรคกระดูกพรุน

กระดูกพรุน คือ โรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลง มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะโครงสร้างของกระดูก มีผลทำให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนัก หรือแรงกดดันได้ตามปกติ ทำให้เกิดอาการกระดูกหักง่ายกว่าปกติ ตำแหน่งที่พบกระดูกหักบ่อย ได้แก่ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือโดยเฉพาะตำแหน่งของกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังที่พบว่ามีโอกาสหักมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น

สำหรับโรคกระดูกพรุนจะไม่พบว่ามีอาการใดๆ เลย เพราะพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นเกิดจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกเสียคุณสมบัติการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะหักง่าย ส่วนใหญ่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม น้ำเต้าหู้ ผักใบเขียว ปลาเล็กปลาน้อย จะช่วยป้องกัน ช่วยชะลอ หรือช่วยลดความรุนแรงของโรคกระดูกพรุนได้

สาเหตุ โรคกระดูกพรุน

  1. การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่ม สาว ซึ่งเป็นช่วงที่ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด
  2. สาเหตุจากรรมพันธุ์ ซึ่งควรจะพิจารณาถึงบุคคลในครอบครัว เช่น ปู่ ยา ตา ยาย ถ้าท่านเหล่านั้นมีอาการของโรคกระดูกพรุนอย่างชัดเจน โอกาสที่บุตรหลานจะมีอาการ เช่นกันนั้นสูงถึง 80% ส่วน 20% ที่เหลือนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
  3. ยาอาจเกิดจากการใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างที่นำสู่การลดความหนาแน่นของ กระดูก เช่น ออร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ, โรคหืด, ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจ และความดันโลหิต การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมีก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่มีการทำลายเซลล์กระดูก ซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุน
  4. กายภาพ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราเป็นประจำ จะลดประสิทธิภาพการดูดซึม ธาตุแคลเซียม ใน ร่างกาย ทำให้กระดูกเสื่อมและหดลงเร็ว
  5. คาเฟอีน การดื่มกาแฟมาก ๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเช่น โค้ก, ชา เป็นต้น ก็ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
  6. ฮอร์โมน การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูก พรุนเพิ่มขึ้น
  7. อาหารที่มีแคลเซี่ยมต่ำ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา และใน คู่สามีภรรยา จะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรค กระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
  8. การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ ควรจะทดแทนการ สูญเสียเหล่านั้น เพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
  9.  การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วง ที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
  10. ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ในบ้านเรามักจะไม่มี ปัญหาการขาดวิตามีนดี เนื่องจากมีแสงแดดตลอดปี

อาการ โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนส่งผลให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลงจึงเปราะและหักง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในกระดูกที่มีสภาพปกติ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนอาจไม่พบอาการใด ๆ เลย จนกระทั่งมีกระดูกแตกหรือหักขึ้นมา ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้จึงอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังป่วยด้วยโรคกระดูกพรุนอยู่จนกระทั่งกระดูกแตกหรือหัก หรือตรวจพบความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำอีกครั้ง

การป้องกัน โรคกระดูกพรุน

  • ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะกลางแจ้งตอนที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า หรือเย็น
  • เมื่อมีความเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อน ไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย
  • รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง ซึ่งสามารถรับประทาน กระดูกปลาได้ หรือดื่มนมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เป็นต้น
  • งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่
  • ไม่ควรซื้อยารับประทาน เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักจะมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว

การรักษา โรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันมียารักษาโรคกระดูกพรุน 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. ยาช่วยลดการทำลายกระดูก เช่น แคลเซี่ยม บิสฟอตฟาเนต ฮอร์โมนแคลซิโตนิน
  2. ยาช่วยกระตุ้นการสร้างกระดูก เช่น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์เทอริพาราไทด์
  3. ยาที่ช่วยทั้งกระตุ้นการสร้างและลดการทำลายกระดูก เช่น สตรอนเทียมรานิเลต

อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่ต้องการเป็นโรคนี้ก็สามารถป้องกันได้ โดยการสะสมมวลกระดูกให้มากที่สุดในช่วงวัยเด็กและก่อนอายุ 35 ปี โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง

 1.กินแคลเซียมให้พอเพียงทุกวัน อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียว เข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพลู) งาดำคั่ว

                แนวทางปฏิบัติ สำหรับเด็กและวัยรุ่นควรดื่ม นมวันละ 2-3 แก้ว ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุดื่มนมวันละ 1-2 แก้วเป็นประจำจะทำให้ได้รับแคลเซียมร้อยละ 50 ของ ปริมาณที่ต้องการส่วนแคลเซียมที่ยังขาดให้กินจาก อาหารแหล่งอื่น ๆ ประกอบ

                ผู้ใหญ่บางคนที่มีข้อจำกัดในการดื่มนม (เช่น มีภาวะไขมันในเลือดสูงอ้วน เป็นเบาหวาน ความดัน โลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด)ให้เลือกกินเนยแข็ง นม เปรี้ยว นมพร่องมันเนยแทน หรือบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงในแต่ละมื้อให้มากขึ้น

                2.ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ออกกำลังที่มีการถ่วงหรือต้านน้ำหนัก (weight bearing) เช่น การเดิน การวิ่ง  เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยให้มี มวลกระดูกมากขึ้น และกระดูกมีความแข็งแรง ทั้งแขนขา  และกระดูกสันหลัง

                3. รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างกระดูก ในบ้านเราคน ส่วนใหญ่จะได้รับแสงแดดเพียงพออยู่แล้ว นอกจากใน รายที่อยู่แต่ในบ้านตลอดเวลา ก็ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อน ๆ ยามเช้าหรือยามเย็น วันละ10-15 นาที สัปดาห์ ละ 3 วัน ถ้าอยู่แต่ในที่ร่ม ไม่ถูกแสงแดด อาจต้องกิน วิตามินดีเสริมวันละ 400-800 มก.

                4.รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป) เพราะคนผอมจะมีมวลกระดูกน้อย เสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้

                5. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น

  •   ไม่เกินอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มาก เกินไป เพราะอาหารพวกนี้จะกระตุ้นให้ไตขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากเกินปกติ
  • ไม่กินอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะเกลือโซเดียมจะทำให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลงและเพิ่มการขับแคลเซียมทางไตมากขึ้น
  • ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกเลต ในปริมาณมาก เพราะแอลกอฮอล์และกาเฟอีนในเครื่องดื่มเหล่านี้จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมของลำไส้เล็ก (กาแฟไม่ควรดื่มเกินวันละ 3 แก้ว แอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ 2 หน่วยดื่ม ซึ่งเทียบเท่าแอลกอฮอล์สุทธิ 30 มล.)
  • งดการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่กระตุ้นให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น (เนื่องจากลดระดับเอสโทรเจนในเลือด)
  • ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาสตรีรอยด์ ซึ่งจะเร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย

        6. รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอย์ทำงานเกิน โรคคุชชิง

[Total: 0 Average: 0]