มะเร็งลิ้น

โรคมะเร็งลิ้น คือ โรคมะเร็งในช่องปากที่พบได้บ่อยที่สุด หรือราว 30% ของมะเร็งในช่องปากทั้งหมด

อันตรายของโรคมะเร็งลิ้น จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงค่อนข้างสูง และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยค่อนข้างมาก เนื่องจากลิ้นใช้ทั้งเคี้ยวอาหาร กลืน พูด และเป็นอวัยวะที่มีเส้นประสาท และเส้นเลือดมาเลี้ยงจำนวนมาก ผู้ป่วยโรคมะเร็งลิ้นจึงมีปัญหาด้านการเคี้ยว กลืนอาหาร การพูด และจะมีความเจ็บปวดที่ลิ้นค่อนข้างเยอะ รวมถึงอาการเลือดออกที่ลิ้นได้ สัญญาณอันตราย

ซึ่งส่วนมากมักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุ มะเร็งลิ้น

ปัจจุบันยังคงไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ส่วนใหญ่แล้วจะคิดว่าเป็นเพราะการได้รับบาดเจ็บเรื้อรัง รังสีอุลตร้าไวโอเลท เอ็กซเรย์รวมไปถึงวัตถุที่มีรังสีอื่นๆ ทำให้เกิดมะเร็งลิ้น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุทางด้านจิตใจ และการขับออกของเสียจากภายใน ภูมิคุ้มกันของร่างกายรวมไปถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมต่างมีความเกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งลิ้นทั้งสิ้น

  • การสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาสูบชนิดเคี้ยว
  • การเคี้ยวหมาก
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง
  • การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลิ้นและมะเร็งชนิดอื่น ๆ
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็งช่องปากหรือมะเร็งลิ้น
  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยการศึกษาบางส่วนพบว่าการรับประทานอาหารที่มีผักและผลไม้น้อยอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งช่องปาก
  • สุขภาพในช่องปากไม่ดี เช่น ขาดการดูแลฟันและเหงือก ฟันปลอมไม่พอดีกับฟัน ฟันแตก เป็นต้น
  • การเจ็บป่วยด้วยโรคซิฟิลิส และโรคตับแข็ง

อาการ มะเร็งลิ้น

  1. ขอบลิ้น ปลายลิ้น ด้านหลังลิ้นและส่วนท้องของลิ้นจะปรากฎมีแผลเน่าเปื่อยและเมื่อเวลาผ่านไปนานก็ยังไม่หาย
  2. บริเวณลิ้นมีก้อนเนื้อซึ่งมีลักษณะแข็ง บริเวณขอบลิ้นไม่สะอาด มีอาการปวด และจะมีลักษณะใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว
  3. ลิ้นไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดีเหมือนเดิม และเกิดความลำบากในการทานอาหารหรือกลืนอาหาร

การรักษา มะเร็งลิ้น

1.การผ่าตัด เป็นขั้นตอนหลักของการรักษามะเร็งลิ้น โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ผู้ป่วยระยะ T1 สามารถทำการผ่าตัดกำจัดเนื้องอกโดยมีขนาดของบาดแผลรูป X ขนาด 1 ซม. ได้ และสำหรับผู้ป่วยระยะ T2-T4 ต้องผ่าตัดครึ่งหนึ่งของลิ้นหรือทั้งหมดของลิ้นออกไป

2. การฉายแสง เป็นการรักษาเสริมที่ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งลิ้นระยะสุดท้ายก่อนการผ่าตัดหรือหลังการผ่าตัดก็ได้

3. การทำคีโม สามารถใช้เป็นการรักษาเสริมก่อนหรือหลังการผ่าตัดได้ นอกจากนี้ก็เหมาะสมกับผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งมีการลุกลามไปยังส่วนอื่นที่ไกลออกไป

4.แพทย์แผนจีน เป็นการรักษามะเร็งลิ้นที่มาทดแทนสิ่งที่การฉายแสงและคีโมไม่มี รวมไปถึงการผ่าตัด เพราะสามารถเพิ่มผลการรักษาให้มีประสิทธิภาพและลดผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยคีโมและฉายแสงได้

นอกจากนี้ ทางโรงพยาบาลมะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวของเรายังได้มีเทคโนโลยีการรักษามะเร็งลิ้นแบบบาดแผลเล็ก โดยผู้เชี่ยวชาญทางมะเร็งลิ้นจะมีการออกแบบแผนการรักษาโดยเฉพาะเพื่อผู้ป่วยตามลักษณะอาการและสภาพร่างกายของผู้ป่วย

[Total: 0 Average: 0]