1. ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีไข้ ไอเสียงก้องมีเสียงอื้ดเป็นบางครั้งเฉพาะเวลาร้องไห้หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่เด็กยังรู้สึกร่าเริง กินได้ ไม่อาเจียน ก็ให้การรักษาตามอาการ (เช่น ให้ยาลดไข้ - พาราเซตามอล) ให้เด็กดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ให้ความชื้นโดยการวางอ่างน้ำไว้ข้างตัวเด็ก
ขณะมีอาการกำเริบให้เด็กสูดไอน้ำอุ่น เช่น เป็นน้ำอุ่นจากก๊อกน้ำในห้องน้ำขณะปิดประตูห้องน้ำ แล้วนำเด็กเข้าไปอยู่ในนั้น นานอย่างน้อย 10 นาที หรือใช้ผ้าขนหนูจุ่มน้ำอุ่นให้หมาด ๆ แล้วนำมาจ่อใกล้ปากและจมูกเด็ก สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทุกวัน ส่วนใหญ่มักจะหายไต้ภายใน 3-7 วัน
2. ถ้ามีอาการเสียงฮื้ดขณะพักอยู่นิ่ง ๆ หายใจลำบาก ซี่โครงและลิ้นปี่บุ๋ม ปากเขียว เล็บเขียว กลืนลำบาก กินไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม ควรส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว มักจะวินิจฉัยจากอาการเป็นหลัก บางครั้งอาจต้องตรวจพิเศษ เช่น เอกซเรย์ ใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง (laryngoscopy) ตรวจหาเชื้อก่อโรค ตรวจเลือดเป็นต้น
การรักษา ในรายที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาโดยให้ออกซิเจนพ่นฝอยละอองน้ำ ให้ความชื้น ให้ยาลดการอักเสบและการบวมของเยื่อบุกล่องเสียง ได้แก่ ยาสตีรอยด์ ชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้
- เดกซาเมทาโชน ขนาด 0.6 มก./กก. ฉีด เข้ากล้ามครั้งเดียว หรือให้กินขนาด 0.15 มก./กก.ครั้งเดียว (ขนาดยาทั้งหมดไม่ควรเกิน 10 มก./ครั้ง)
- เพร็ดนิโซโลนให้กินขนาด 1 มก. /กก.ทุก 12 ชั่วโมง (ไม่ควรเกิน 60 มก./วัน) จนกระทั่ง 24 ชั่วโมงหลังจากอาการดีขึ้นแล้วหรือถอดท่อช่วยหายใจได้แล้ว
- ใช้สตีรอยด์ชนิดพ่น (เช่น budosenide) แทนชนิดกินหรือฉีด นอกจากนี้ยังอาจให้ยาอะดรีนาลินชนิดพ่น (nebulized adrenaline)
ส่วนยาปฏิชีวนะจะให้เฉพาะในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ในรายที่หายใจลำบาก ปากเขียว มีภาวะขาดออกซิเจน จำเป็นต้องใส่ท่อหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
ผลการรักษา ส่วนใหญ่มักจะหายได้เป็นปกติ มีส่วนน้อยที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง และมีอัตราตายต่ำมาก