หนังตาตก (Ptosis)

โรคหนังตาตก (Ptosis) คืออาการที่เปลือกตาหย่อนหรือหนังตาตก อาจเกิดจากการบาดเจ็บ อายุที่มากขึ้น หรือความผิดปกติทางการแพทย์ต่างๆ

ภาวะนี้เรียกว่า unilateral ptosis เมื่อมีอาการหนังตาตกข้างเดียว และ bilateral ptosis เมื่อมีอาการกับตาทั้งสองข้าง

อาการนี้อาจจะเป็นๆหายๆหรือเป็นได้อย่างถาวร และเป็นได้ตั้งแต่แรกเกิด เรียกว่า ภาวะหนังตาตกโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นในภายหลังก็ได้

อาการหนังตาตก จะปิดกั้นการมองเห็นได้มากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ว่าเปลือกตาจะขวางรูม่านตามากหรือน้อย

ในกรณีส่วนใหญ่ อาการสามารถหายได้เอง แต่ในบางครั้งอาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์

สาเหตุ หนังตาตก

หนังตาตสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่ โดยอาจมีสาเหตุดังต่อนี้

  • หนังตาตกในเด็กแรกเกิด (Congenital Ptosis) อาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อที่หนังตาผิดปกติมาแต่กำเนิด โดยประมาณ 70 เปอร์เซนต์ มักจะเกิดผลกระทบต่อดวงตาเพียงข้างเดียว
  • อาจเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังและกล้ามเนื้อบริเวณดวงตาจะอ่อนแอลง และอาจทำให้หนังตาตกได้ในที่สุด
  • เกิดจากภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัดรักษาที่เกี่ยวกับดวงตา เช่น การทำเลสิก (Lasik) หรือการผ่าตัดต้อ ซึ่งอาจทำให้หนังตาขยายออก รวมไปถึงเนื้องอกที่ตาก็อาจทำให้หนังตาตกได้  
  • หนังตาตกเป็นอาการหนึ่งที่พบบ่อยจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis) ซึ่งนอกจากจะทำให้หนังตาตกหรือกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวอ่อนแรง ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อใบหน้า แขน และขา มีอาการอ่อนแรงได้เช่นกัน
  • โรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (Oculopharyngeal Muscular Dystrophy) เป็นโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของดวงตา และยังทำให้กลืนลำบาก นอกจากนั้น โรคอัมพาตกล้ามเนื้อกลอกตา (External Ophthalmoplegia) สามารถเกิดขึ้นได้ในวัยผู้ใหญ่ที่อายุยังไม่มาก โดยอาจทำให้กล้ามเนื้อตาตกทั้ง 2 ข้าง และทำให้การเคลื่อนไหวดวงตามีปัญหา
  • เนื่องจากกล้ามเนื้อตาควบคุมด้วยระบบประสาทจากสมอง ดังนั้น หากสมองหรือประสาทได้รับบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหาย ได้แก่ โรคหลอดเลือดในสมอง เนื้องอกในสมอง หลอดเลือดในสมองโป่งพอง หรือประสาทเกิดความเสียหายจากการเป็นโรคเบาหวาน เป็นระยะเวลานาน อาจพบว่าทำให้หนังตาตกได้ นอกจากนั้น ภาวะฮอร์เนอร์ (Horner’s Syndrome) ก็ทำให้หนังตาตก หรือทำให้ตาดำเล็กกว่าปกติและสูญเสียความสามารถในการขับเหงื่อที่ใบหน้าครึ่งซีกในข้างที่ผิดปกติ
  • เกิดความผิดปกติที่บริเวณตาโดยตรง เช่น การติดเชื้อหรือเนื้องอก เป็นต้น

อาการ หนังตาตก

อาการหนังตาตกเกิดจากการที่เปลือกตาหนึ่งหรือสองข้างหย่อนลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็น อย่างไรก็ตามในบางครั้งก็แทบจะไม่สามารถสังเกตุเห็นได้หรือไม่ได้มีอาการตลอดเวลา

คุณอาจมีอาการตาแห้งหรือมีน้ำไหลในตามาก ใบหน้าจะดูอิดโรยและเหนื่อยล้า หนังตาหย่อน

บริเวณหลักที่จะได้รับผลกระทบคือ รอบดวงตา ในบางครั้งอาจมีอาการปวดและทำให้คุณดูเหนื่อยล้าได้

บางคนอาจมีอาการหนังตาตกอย่างรุนแรง จึงต้องเอียงศรีษะไปด้านหลังเพื่อที่จะสามารถมองเห็นได้ขณะพูด

แพทย์ควรที่จะตรวจดูอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการแทรกซ้อนใดๆ ถ้าหารคุณมีอาการปวดหัวไมเกรน หรืออาการอื่นๆ จำเป็นที่จะต้องบอกแพทย์ทันที

การรักษา หนังตาตก

วิธีแก้หนังตาตกและการรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ

หากอาการเกิดจากอายุหรือเป็นโดยกำเนิด แพทย์มักจะไม่แนะนำให้ทำอะไรเพราะจะไม่ส่งผลอันตรายใดๆต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามคุณสามารถทำศัลยกรรมเพื่อลดอาการได้

หากแพทย์พบว่าอาการเกิดจากสเหตุอื่น แพทย์จะทำการรักษาพื้นฐานเพื่อไม่ให้หนังตาหย่อนไปมากกว่าเดิม

หากหนังตาของคุณส่งผลกระทบต่อการมองเห็น แพทย์มักจะแนะนำให้คุณทำการผ่าตัด

แว่นตาที่ทำหน้าที่ในการดึงหนังตาขึ้น เรียกว่า ptosis crutch เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษา และมักจะได้ผลดีที่สุด หากเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว แว่นตานี้ยังเป็นที่แนะนำอย่างมาก ถ้าหากว่าคุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัด

การผ่าตัด

แพทย์อาจแนะนำให้คุณทำการผ่าตัดเพื่อดึงหนังตาขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ การผ่าตัดจะทำให้กล้ามเนื้อตึงขึ้น สำหรับเด็กที่มีอาการหนังตาตก แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดถ้าหากเริ่มมีอาการตาขี้เกียจ

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดอาจส่งผลกระทบอื่นๆ เช่น ตาแห้ง กระจกตาถลอก หรือเป็นห้อเลือด ห้อเลือดคือการสะสมของเลือด และในบางครั้งแพทย์อาจจะทำการปรับเปลือกตาไว้ในตำแหน่งที่สูงหรือต่ำเกินไป

อีกทางเลือกหนึ่งคือ การใช้สลิงกับกล้ามเนื้อเพื่อยกเปลือกตาขึ้น

[Total: 0 Average: 0]