ปัสสาวะไม่ออก (Urinary Retention)

ภาวะปัสสาวะไม่ออก (Urinary Retention) คือการที่ผู้ป่วยไม่สามารถถับถ่ายปัสสาวะได้เป็นปกติถึงแม้ว่าจะรู้สึกปวดปัสสาวะก็ตาม ภาวะปัสสาวะไม่ออกมี 2 รูปแบบ คือ ภาวะเฉียบพลันและภาวะเรื้อรัง

การปัสสาวะไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งในเพศชายและหญิง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นผู้ป่วยชาย โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น การวิจัยพบว่าอาการนี้สามารถพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า

สาเหตุ ปัสสาวะไม่ออก

ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างของคุณประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเก็บปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อระหว่างกระเพาะปัสสาวะและภายนอกร่างกาย ในผู้ชายต่อมลูกหมากก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบนี้เช่นกัน กล้ามเนื้อมีสองชุดเรียกว่ากล้ามเนื้อหูรูด กล้ามเนื้อหูรูดภายในเป็นจุดที่ท่อปัสสาวะของคุณเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ กล้ามเนื้อหูรูดภายนอกซึ่งอยู่ลึกลงไปถึงท่อปัสสาวะจะเปิดและปิดเพื่อควบคุมการขับปัสสาวะออกจากระเพาะปัสสาวะ

เมื่อคุณปัสสาวะ กล้ามเนื้อในกระเพาะปัสสาวะจะบีบตัวเพื่อดันปัสสาวะออก ในเวลาเดียวกันระบบประสาทจะสั่งการให้กล้ามเนื้อหูรูดเปิดและปัสสาวะจะผ่านท่อปัสสาวะออกจากร่างกายของคุณ กล้ามเนื้อหูรูดทั้งสองประกอบด้วยกล้ามเนื้อประเภทต่างๆ ดังนั้นคุณจึงไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดภายในได้ แต่คุณสามารถควบคุมกล้ามเนื้อหูรูดภายนอกได้

อาการ ปัสสาวะไม่ออก

ภาวะเฉียบพลัน

ภาวะปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน เกิดขึ้นอย่างกะทันหันและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากคุณไม่สามารถปัสสาวะได้ ทำให้เกิดอาการปวดและไม่สบายตรงบริเวณท้องน้อยเป็นอย่างมาก ควรพบแพทย์ฉุกเฉินทันทีเพื่อขับปัสสาวะที่สะสมออก

ภาวะเรื้อรัง

ภาวะปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถปัสสาวะได้ แต่ไม่สามารถขับออกได้ทั้งหมด ผู้ป่วยบางคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอาการนี้ เนื่องจากไม่มีอาการบ่งชี้ใด ๆ ชีดเจนในช่วงแรก

การปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ สิ่งสำคัญคือ คุณควรต้องไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการอย่างน้อยหนึ่งอย่างดังต่อไปนี้:

● คุณรู้สึกว่าต้องปัสสาวะบ่อย วันละแปดครั้งขึ้นไป

● เริ่มปัสสาวะได้ยาก

● ปัสสาวะขัด

● คุณรู้สึกว่าต้องปัสสาวะอีกครั้งทันที หลังจากที่ปัสสาวะเสร็จ

● ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ๆ

● ปัสสาวะซึมทั้งวัน

● คุณมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือรู้สึกว่าต้องปัสสาวะทันที และไม่สามารถหยุดปัสสาวะได้

● คุณมีอาการไม่สบายตัว หรือรู้สึกแน่นบริเวณกระดูกเชิงกรานหรือท้องน้อย

การรักษา ปัสสาวะไม่ออก

ภาวะเฉียบพลัน

แพทย์จะใส่สายสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะของคุณอย่างรวดเร็วเพื่อปล่อยปัสสาวะออก นี่เป็นขั้นตอนที่รวดเร็วและง่ายที่สุด

หากวิธีนี้ไม่สามารถทำได้หรือไม่ได้ผล แพทย์จะทำการเจาะผิวหนังเหนือกระเพาะปัสสาวะและทะลุผนังกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นจึงทำการใส่สายสวน

ภาวะเรื้อรัง

การสวน

คุณอาจต้องใส่ท่อสวนเพื่อปล่อยปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ เว้นแต่จะสามารถแก้ไขสาเหตุของการกักเก็บปัสสาวะได้ทันที

แพทย์จะพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ท่อสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ คุณจะได้รับการสอนวิธีการใส่สายสวน เพื่อลดการรับแบคทีเรียเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ

การขยายท่อปัสสาวะและการใส่ขดลวด

ขั้นตอนนี้สามารถใช้เพื่อขยายท่อปัสสาวะตีบเพื่อให้ปัสสาวะไหลผ่านได้มากขึ้น ท่อที่มีความกว้างเพิ่มขึ้นจะถูกสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะของคุณ อีกวิธีหนึ่งคือ การสอดท่อที่มีบอลลูนเข้าไปในท่อปัสสาวะของคุณและขยายบอลลูน

การส่องกล้องตรวจลงไปในกระเพาะปัสสาวะ

แพทย์จะทำการสอดท่อเข้าไปเพื่อค้นหาและก้อนนิ่วหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ

ยา

แพทย์อาจะสั่งยาให้ผู้ป่วยตามความเหมาะสมดังนี้ :

● ยาปฏิชีวนะหรือยาอื่น ๆ สำหรับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากอักเสบหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

● ยาที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดท่อปัสสาวะและต่อมลูกหมากคลายตัว เพื่อให้ปัสสาวะไหลผ่านท่อปัสสาวะได้ดีขึ้น

● ยาที่ทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลง เพื่อบรรเทาการอุดตันในผู้ชายที่มีการขยายตัวของต่อมลูกหมากที่ไม่ใช่มะเร็ง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถควบคุมอาการได้ดีขึ้น เช่น:

● จัดการปริมาณและเวลาในการดื่มน้ำให้เหมาะสม

● ออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อในกระดูกเชิงกรานของคุณ

การผ่าตัด

หากยาและวิธีการรักษาอื่นๆไม่ได้ผล การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่แพทย์แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยเพศชาย ขั้นตอนการผ่าตัดส่วนใหญ่ทำได้โดยการสอดเครื่องมือผ่านท่อปัสสาวะ จากนั้นศัลยแพทย์จะใช้เครื่องมือหรือเลเซอร์ทำการผ่าตัดตามขั้นตอน  โดย วิธีการผ่าตัดสามารถทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ :

● การผ่าตัดผ่านท่อปัสสาวะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้เข็มขนาดเล็กและคลื่นความร้อน

● การผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะ(TURP) เพื่อขจัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนเกินที่ปิดกั้นท่อปัสสาวะ

● การผ่าตัดท่อปัสสาวะส่วนที่ตีบ

ในบางครั้ง คุณอาจจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการผ่าตัดในรูปแบบอื่น ๆ  เช่น การส่องกล้อง  หรือวิธีการผ่าตัดแบบเปิด   :

● เพื่อเอาต่อมลูกหมากบางส่วนหรือทั้งหมดออกเนื่องจากมีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้น

● เพื่อกำจัดมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นหรือผิดปกติ

● แก้ไขปัญหากระเพาะปัสสาวะหย่อนหรือการมีกระเปาในทวารหนัก โดยยกกระเพาะปัสสาวะหรือทวารหนักกลับสู่ตำแหน่งปกติ

● เพื่อกำจัดมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ

● เพื่อกำจัดเนื้องอกอื่นๆหรือมะเร็งของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

[Total: 0 Average: 0]