โรคฉี่หนู หรือ เล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) คือ แบคทีเรียหายากชนิดหนึ่งที่สามารถติดเชื้อได้ทั้งในมนุษย์และสัตว์ เชื้อแบคทีเรียนี้สามารถแพร่จากสัตว์ไปยังมนุษย์ได้ เมื่อผิวหนังของเราที่มีแผลสัมผัสกับน้ำหรือดินที่มีฉี่ของสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียนั้นๆ
โรคฉี่หนู คือ การที่แบคทีเรีย เล็ปโตสไปโรซิสนั้นเข้าสู่ร่างกายได้ทางช่องแผลที่เปิด ดวงตา หรือเยื่อหุ้มต่างๆ สัตว์จะเป็นตัวแพร่กระจายเชื้อโรคไปสู่มนุษย์ โดยสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคนี้ ได้แก่ หนู สกั๊งซ์ ออพอสซัม สุนัขจิ้งจอก และแรคคูน โดยสกุลของเชื้อแบคทีเรียเล็ปโตสไปโรซิสนั้นมีอยู่หลากหลาย เชื้อเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ แต่เชื้อนี้จะไม่แพร่จากมนุษย์สู่มนุษย์
เล็ปโตสไปโรซิสเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและองค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า พบผู้ติดเชื้อในโลกนี้ ราวๆ 10 คน ต่อ 100,000 คนในแต่ละปี ในสภาพภูมิอากาศเขตอบอุ่น มีโอกาสพบที่ 1 คน ต่อ 100,00 คน ในพื้นที่ระบาดจะพบได้มากกว่า 100 คน ต่อ 100,000 คน โดยในภูมิอากาศเขตร้อนผู้คนนั้นมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อได้มากกว่าภูมิอากาศโซนอื่นๆ
ประเภทของโรคฉี่หนู
เราสามารถแบ่งประเภทของโรคฉี่หนูได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
โรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรง:
พบประมาณ 90% จากผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรซิส จะมีอาการเจ็บกล้ามเนื้อ หนาวสั่น หรืออาจจะปวดหัวได้
โรคฉี่หนูชนิดรุนแรง:
พบประมาณ 5 – 15% จากผู้ติดเชื้อเล็ปโตสไปโรซิส จะมีอาการสภาวะอวัยวะภายในล้มหลว, การตกเลือด ไปจนถึงการเสียชีวิตซึ่งอาจส่งผลตับหรือไตและอวัยวะสำคัญอื่น ๆ เกิดการติดเชื้อได้
สำหรับโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงนั้นมักจะพบว่าเป็นโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยปอดบวม ที่อยู่ในวัยเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบในผู้สูงอายุ
สาเหตุ โรคฉี่หนู
แบคทีเรียเล็ปโตสไปโรซิสนั้นพบได้ในแรคคูน ค้างคาว แกะ สุนัข หนู ม้า วัว ควายและหมู แบคทีเรียชนิดนี้จะอาศัยอยู่ในไตของสัตว์พาหะ และจะหลังออกมาพร้อมกับฉี่ของสัตว์ทำให้มีเชื้ออยู่ในดินหรือน้ำ
ข้อควรระวังคือ เชื้อนี้สามารถอยู่ในน้ำหรือดินได้มากกว่าระยะเวลา 1 เดือน
อาการโรคฉี่หนู
สัญญาณและอาการของโรคฉี่หนู จะปรากฎในระยะเวลา 5 – 14 วัน หลังจากติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ระยะฟักตัวนั้นอยู่ที่ 2 – 30 วัน
อาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรง
สัญญาณและอาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงประกอบไปด้วย:
- มีไข้ร่วมกับอาการหนาวสั่น
- ไอ
- ท้องเสีย(diarrhea) หรือ อาเจียน
- ปวดศีรษะ (headache)
- เจ็บปวดกล้ามเนื้อ ได้แก่ หลังช่วงล่าง หรือ น่องขา
- ผื่น
- ตาแดงและระคายเคืองตา
- ดีซ่าน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้ภายใน 1 สัปดาห์ และจะมีเพียงแค่ 10% ที่มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง
อาการโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง
สัญญาณและอาการของโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงจะปรากฎภายในไม่กี่วันหลังจากที่อาการโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงหายไปในกรณีที่เชื้อมีการพัฒนา
อาการขึ้นอยู่กับอวัยวะสำคัญที่ได้รับการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อสามารถนำไปสู่ภาวะไตหรือตับล้มเหลวได้ หายใจติดขัด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาจถึงแก่ชีวิตได้
วิธีการรักษาโรคฉี่หนู
วิธีรักษาโรคฉี่หนูชนิดไม่รุนแรงนั้นแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา ได้แก่ ยาด็อกซี่ไซลิน(Doxycycline) หรือเพนนิซิลิน (Penicillin)
ในระยะเริ่มต้นของโรคฉี่หนูนั้นยากที่จะวินิจฉัยได้ เพราะอาการจะคล้ายกับไข้หวัด(flu)และการติดเชื้อโดยทั่วไป
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคฉี่หนูชนิดรุนแรง ผู้ป่วยจะต้องได้รับการทดสอบจนแน่ชัดเสียก่อนซึ่งวิธีการทดสอบมีหลากหลาย และจำเป็นต้องมีการทดสอบซ้ำๆ เพื่อทำการยืนยันผล แพทย์อาจจะทำการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ที่คุณไปก่อนจะเริ่มมีอาการว่าอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรคฉี่หนูหรือไม่
ส่วนวิธีการรักษาโรคฉี่หนูชนิดรุนแรงนั้นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยจำเป็นต้องไปรับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด และต้องการเครื่องช่วยหายใจ ในขณะที่หากมีการติดเชื้อที่ไตในบางกรณีจำเป็นจะต้องได้รับการฟอกไตร่วมด้วย และในบางกรณีอาจจะต้องมีการให้อาหารเหลวผ่านทางสายยาง
การพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนั้นอาจจะใช้เวลาไม่กี่วันหรืออาจจะเป็นเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษาของคนไข้ และความเสียหายของอวัยวะสำคัญที่ถูกทำลาย
ข้อควรระวังในหญิงที่ตั้งครรภ์คือ เล็ปโตสไปโรซิสสามารถติดเชื้อไปยังทารกในครรภ์มารดาได้ ดังนั้นสำหรับใครที่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์จำเป็นต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลและรับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด