ปวดประสาท (Neuropathic Pain) คือ อาการปวดเรื้อรัง โดยเกิดจากโรคเส้นประสาทที่ลุกลามเรื้อรัง และสามารถเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ
โดยทั่วไปอาการปวดที่ไม่เกี่ยวกับระบบประสาท (nociceptive pain) แต่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย เช่น หากเท้าถูกหนังสือตกใส่สัญญาณความเจ็บปวดจะเกิดขึ้นโดยทันที
อาการปวดประสาทโดยทั่วไปความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกกระตุ้นด้วยการได้รับบาดเจ็บ แต่ร่างกายจะส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองโดยไม่ได้รับการกระตุ้น
อาการปวดจะเป็นแบบปวดแสบปวดร้อน อาจจะปวดเป็นระยะหรือปวดตลอดเวลาก็ได้
สาเหตุ ปวดประสาท
สาเหตุหลักๆ ของการปวดประสาทสามารถแบ่งได้ดังนี้
โรคประจำตัว
อาการปวดประสาทอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรค และปัญหาทางสุขภาพจากประสาทส่วนกลาง myeloma เสื่อม และมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยพบในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
โรคเบาหวานกระทบระบบประสาทมากกว่า 30% ทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท
มักจะเริ่มจากการสูญเสียความรู้สึก และชาตามมา จากนั้นตามมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปในระยะยาวสามารถทำให้เกิดการปวดประสาทที่เรื้อรังได้
Trigeminal neuralgia ทำให้เกิดอาการปวดประสาทอย่างรุนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า โดยเป็นการปวดประสาทที่พบได้บ่อยและมักไม่ทราบสาเหตุ
และการรักษามะเร็งสามารถทำให้เกิดอาการปวดประสาท การรักษาด้วยเคมีบำบัด และการฉายรังสีสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทจนทำให้ส่งสัญญาณความเจ็บปวดที่ผิดพลาดได้
การได้รับบาดเจ็บ
การได้รับบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อสามารถทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย และนำไปสู่อาการปวดประสาทได้
เมื่ออาการบาดเจ็บหายไป ความเสียหายของเส้นประสาทอาจไม่หายไปด้วย ทำให้หลังการเกิดอุบัติเหตุ ความเจ็บปวดจะยังคงอยู่อีกหลายปี
อุบัติเหตุ หรือการได้รับบาดเจ็บที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังสามารถทำให้เกิดอาการปวดประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และกดทับไขสันหลังจะทำให้เส้นประสาทรอบไขสันหลังถูกทำลาย
การติดเชื้อ
การติดเชื้อนั้นไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการปวดประสาท
แต่มีบางโรคเช่น โรคงูสวัดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดประสาทตามเส้นประสาทเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดย Postherpetic neuralgia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยของโรคงูสวัดทำให้เกิดอาการปวดประสาทอย่างต่อเนื่อง
การติดเชื้อซิฟิลิสนั้นสามารถนำไปสู่การปวดแสบร้อน และความเจ็บปวดที่ไม่มีสาเหตุ โดยเกิดในผู้ป่วย HIV เช่นกัน
การสูญเสียอวัยวะ
การปวดประสาทที่ผิดปกติที่เรียกว่า phantom limb syndrome สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อแขนหรือขาถูกตัดออก แม้จะไม่มีแขนขาแล้วแต่สมองยังได้รับสัญญาณความเจ็บปวดจากแขนและขาอยู่
เพราะเส้นประสาทเหล่านั้นที่ติดกับแขนและขายังคงทำงานอยู่
นอกจากแขนหรือขา ยังสามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้อีกด้วย
สาเหตุอื่นๆ
สาเหตุของอาการปวดประสาทอื่นๆ ได้แก่
- การขาดวิตามิน B
- โรค Carpal tunnel
- ปัญหาของต่อมไทรอยด์
- ปัญหาของเส้นประสาทใบหน้า
- โรคข้ออักเสบในกระดูกสันหลัง
อาการ ปวดประสาท
อาการปวดประสาทที่พบโดยทั่วไปได้แก่
- ปวดแสบ ปวดร้อน หรือปวดแปล๊บๆ
- เสียวเหมือนถูกเข็มทิ่ม
- เจ็บปวดโดยไม่ได้ถูกกระตุ้น
- มีความเจ็บปวดจากเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดได้ เช่น การหวีผม
- สร้างความรำคาญใจ
- รบกวนการนอนหลับหรือพักผ่อน
- ปัญหาทางอารมณ์เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ
การรักษา ปวดประสาท
Neuropathic pain จะมีอาการปวดแบบปวดแสบปวดร้อน (burning pain), ปวดแปลบ (lancinating pain), ปวดตุ้บ ๆ (throbbing pain) และการปวดเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีการกระตุ้น peripheral nociceptor
Oxycodone เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น เป็นสารสังเคราะห์จาก Thebaine ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับ codeine ที่ใช้เป็นยาแก้ไอ ฤทธิ์แก้ไอของ oxycodone จะแรงกว่า codeine 7-12 เท่า และมีฤทธิ์แก้ปวด 0.3-2.2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ morphine ส่วนใหญ่ oxycodone จะใช้แก้ปวดในกรณีที่เป็นการปวดรุนแรงจากการทำฟัน การผ่าตัด โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โดยที่มีฤทธิ์สงบ ระงับ และแก้ไอด้วย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เคลิ้มฝัน เคลิบเคลิ้ม เบาสบาย ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้อาการเจ็บปวดของผู้ป่วยดีขึ้น
จากการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ผู้ป่วยที่ได้ oxycodone เพียงชนิดเดียวบรรเทาอาการปวดรุนแรงได้ในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังและปวดกล้ามเนื้อ พบ 3 การศึกษาที่มีผู้เข้าร่วม 254 คน ได้รับ oxycodone ควบคุมอาการปวด โดยปรับขนาดในช่วง 60-120 มิลลิกรัมต่อวัน ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ได้รับ oxycodone เพียงชนิดเดียวบรรเทาอาการปวด neuropathic pain ได้ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก โดยเฉพาะแผลเบาหวาน หรืออาการปวดหลังติดเชื้องูสวัด
กล่าวโดยสรุป แม้ยา oxycodone เป็นยาแก้ปวดที่รุนแรง การรักษาอาการปวด neuropathic pain ด้วยยา oxycodone เพียงชนิดเดียวให้ผลการรักษา neuropathic pain ไม่ดี