โรคดื้อต่อต้าน

โรคดื้อต่อต้าน (Oppositinoal Defiant Disorder :ODD)  เป็นความผิดปกติที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมเกิดอาการต่อต้านและอารมณ์ฉุนเฉียวได้ง่าย ซึ่งมักส่งผลต่อการทำงาน การศึกษาและการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น

แม้แต่เด็กที่เชื่อฟังมากก็ยังมีโอกาสเกิดอารมณ์ขุ่นมัวและดื้อบ้างเป็นครั้งคราว แต่รูปแบบการแสดงความโกรธ การต่อต้านและความกร้าวร้าวต่อผู้ใหญ่อาจเป็นสัญญาณของโรคดื้อและต่อต้านได้

โรคดื้อต่อต้านพบในเด็กวัยเรียนประมาณ 1 ถึง 16%  พบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง เด็กหลายคนเริ่มแสดงอาการโรคดื้อและต่อต้านระหว่างอายุ 6 ถึง 8 ปี โรคดื้อและต่อต้านยังมีโอกาสพบผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่ที่เป็นโรคดื้อและต่อต้านอาจไม่พบว่ามีอาการในวัยเด็กได้

ระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้าน

DSM-5 แบ่งระดับความรุนแรงของโรคดื้อและต่อต้านไว้ดังนี้:

  • ไม่รุนแรง: อาการมีจำกัด อาจมีเพียงอาการใดอาการหนึ่งเท่านั้น
  • ปานกลาง: อาการปรากฏอย่างน้อย 2 ลักษณะประกอบกัน
  • รุนแรง: อาการปรากฏอย่างน้อย 3 ลักษณะประกอบกัน

สาเหตุ โรคดื้อและต่อต้าน

ไม่มีสาเหตุของโรคดื้อและต่อต้านที่ชัดเจน แต่มีทฤษฎีว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยทางชีวภาพ และจิตวิทยาเมื่อร่วมกันอาจก่อให้เกิดโรคนี้ได้ อย่างกรณีของครอบครัวที่มีประวัติของโรคสมาธิสั้น (ADHD) มักมีโอกาสเป็นโรคดื้อและต่อต้านได้

ทฤษฎีหนึ่งระบุว่าโรคดื้อและต่อต้านจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ยังเป็นเด็กแบเบาะ พบว่าเด็กหรือวัยรุ่นที่เป็นโรคดื้อต่อต้านยังมีพฤติกรรมปกติในช่วงวัยแบเบาะ ทฤษฎีนี้ยังเชื่อว่าเด็กหรือวัยรุ่นคือช่วงวัยที่กำลังต้องการเป็นอิสระจากผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ จึงมีแนวโน้มที่จะใช้อารมณ์มากขึ้น และจะมีภาวะต่อต้าน หลายคนเลยเรียกว่าเป็นวัยต่อต้าน

นอกจากนี้เป็นไปได้ว่าภาวะต่อต้านเป็นพฤติกรรมที่ได้จากการเรียนรู้ สะท้อนว่าการเลี้ยงดูที่ผิดวิธีของผู้ปกครองจะส่งผลต่อเด็ก เด็กอาจใช้พฤติกรรมที่ไม่ดีเรียกร้องความสนใจ และรับพฤติกรรมเชิงลบมาจากผู้ปกครอง

สาเหตุอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ ได้แก่ :

  • อุปนิสัยส่วนตัว เช่น เป็นคนเอาแต่ใจ
  • ขาดความผูกพันที่ดีกับผู้ปกครอง
  • ความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ในชีวิตประจำวัน

อาการของโรคดื้อและต่อต้าน

อาการในเด็กและวัยรุ่น

โรคดื้อและต่อต้านมักส่งผลกระทบต่อเด็กและวัยรุ่นมากที่สุด อาการของโรคดื้อและต่อต้านมีดังนี้ :

  • ฉุนเฉียวง่าย หรือโกรธได้บ่อย ๆ
  • มีอาการต่อต้านคำสั่งของผู้ใหญ่
  • ชอบโต้เถียงผู้ใหญ่และผู้มีอาวุโสมากกว่า
  • ชอบตั้งคำถามหรือหาทางหลีกเลี่ยงกฎระเบียบต่าง ๆ
  • มีพฤติกรรมชอบยุ่วยุให้ผู็อื่นอารมณ์เสีย หรือรำคาญ
  • ชอบกล่าวโทษผู้อื่นในข้อผิดพลาด หรือการประพฤติที่ไม่ถูกต้องของตนเอง
  • หงุดหงิดรำคาญง่าย
  • รู้สึกอาฆาต โกรธแค้น

การมีอาการเหล่านี้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคดื้อและต่อต้าน แต่ต้องมีอาการหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

อาการในผู้ใหญ่

อาการโรคดื้อและต่อต้านในเด็กและผู้ใหญ่มีความคล้ายคลึงกัน ดังมีรายละเอียด ดังนี้ :

  • รู้สึกโกรธเกลียดโลก
  • รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือโกรธเกลียดผู้คน
  • ต่อต้านผู้มีอำนาจมากกว่า อย่างหัวหน้างานในที่ทำงาน
  • รู้สึกต่อต้านสังคม
  • ปิดกั้นตัวเองด้วยอารมณ์ฉุนเฉียว และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
  • พาลเอาแต่โทษผู้อื่น

ความผิดปกติในในผู้ใหญ่มักวินิจฉัยได้ยาก เพราะมีพฤติกรรมทางอารมณ์ที่หลากหลาย และหลายพฤติกรรมยังเป็นผลจากสารเสพติด และความผิดปกติอื่น ๆ

การรักษาโรคดื้อและต่อต้าน

เกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัยความผิดปกติของผู้ป่วย :

เอกสารคู่มือการวินิจฉัยและวัดสถิติความผิดปกติทางจิต ที่เรียกว่า DSM-5 ได้สรุปปัจจัยหลัก 3 ประการที่ต้องใช้เพื่อวินิจฉัยโรคดื้อและต่อต้าน:

1. แสดงรูปแบบพฤติกรรม: พิจารณารูปแบบของอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ ทั้งอารมณ์โกรธ หงุดหงิด วิธีการโต้เถียง หรือการโต้เถียง ใช้เวลาวินิจฉัยประมาณ 6 เดือน ในช่วงเวลานี้ต้องสังเกตุพฤติกรรม อย่างน้อย 4 รายการจากรูปแบบที่ระบุ เป็นการแสดงพฤติกรรมกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติมิตร ได้แก่ :

การแสดงอารมณ์โกรธ หรือหงุดหงิด ได้แก่:

  • อารมณ์เสียบ่อย
  • ขี้งอน
  • ขี้รำคาญ
  • โกรธหรือไม่พอใจอะไรง่าย ๆ

พฤติกรรมต่อต้าน หรือยั่วยุต่าง ๆ ได้แก่:

  • ขึ้นเสียงกับผู้มีบังคับบัญชาหรือผู้ปกครองบ่อย ๆ
  • ไม่ยอมทำตามคำขอของผู้มีอำนาจ
  • ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำขอของผู้มีอำนาจ
  • จงใจสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
  • กล่าวโทษผู้อื่นเวลากระทำผิด
  • ความอาฆาต มาดร้าย

การแสดงความอาฆาตแค้นอย่างน้อย 2 ครั้งในรอบ 6 เดือน

[Total: 0 Average: 0]