แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)

(2 บทวิจารณ์จากลูกค้า)

เป็นการตรวจขณะเดินหรือวิ่งบนสายพาน ช่วยประเมินความแข็งแรงของหัวใจ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความเสี่ยงหัวใจตีบ ดูว่าออกกำลังกายได้หนักแค่ไหน

หมวดหมู่: ป้ายกำกับ:

คำอธิบาย

ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจนี้

  • ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
  • สามารถทราบผลในวันที่ตรวจ ระยะรอผลประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากการตรวจ โดยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งผลให้ทราบ
  • หากต้องการเอกสารผลการตรวจ สามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้

การเตรียมตัวก่อนรับบริการ

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
  • ควรรับประทานอาหารก่อนตรวจประมาณ 1 ชั่วโมง
  • งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดสูบบุหรี่เป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ
  • งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากก่อนการตรวจ เช่น การออกกำลังกาย
  • หากผู้ป่วยรับประทานยาหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการเต้นของหัวใจควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ

ข้อห้ามสำหรับการตรวจ EST

  • ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (หากต้องการรับบริการ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่คงที่ (Unstable Angina)
  • ผู้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอเออร์ติก (Aortic Valve) ตีบอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่การรักษายังไม่ได้ผล
  • ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
  • ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ และ/หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
  • ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดแดงเอออร์ตา (Aorta) ฉีกขาดเฉียบพลัน
  • ผู้ที่มีภาวะการเจ็บป่วยเฉียบพลันที่มีผลต่อการตรวจ EST เช่น การติดเชื้อต่างๆ โรคไตวาย โรคไทรอยด์เป็นพิษ

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจ EST อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และพยาบาล จึงไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่สำหรับผู้ที่มีสุขภาพหัวใจผิดปกติอาจมีผลข้างเคียง หรืออาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • มีอาการเหนื่อยมากจนไม่สามารถเดินต่อได้
  • คลื่นไส้ วิงเวียน อ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม
  • มีอาการแสบร้อน ปวด หรือแน่นหน้าอก
  • พบลักษณะของกราฟไฟฟ้าหัวใจที่บ่งชี้ถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง
  • ความดันโลหิตสูงขั้นรุนแรงขณะที่เดินสายพาน

ข้อมูลทั่วไป

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST⠀หรือ⠀Exercise Tolerance Test: ETT)⠀ใช้สำหรับตรวจหาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตรวจหาการเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่เกิดขึ้นขณะออกกำลังกาย โดยดูว่าในขณะที่ร่างกายออกกำลังอย่างหนัก กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงเพียงพอหรือไม่
การตรวจ EST มีเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ 2 แบบ คือ สายพานไฟฟ้า (Treadmill) และจักรยาน (Bicycle Ergometer)

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจ EST

  • ผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นภาวะหัวใจขาดเลือด เช่น เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือเหนื่อยมากเมื่อออกกำลังกาย
  • ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ผู้สูบบุหรี่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรืออัมพาต
  • นักกีฬา เพราะการวิ่งสายพานจะช่วยให้รู้ระดับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับระดับการเต้นของหัวใจ

ขั้นตอนการตรวจ EST

  • แพทย์ประเมินหาข้อห้ามในการทดสอบ
  • ทำการติดเครื่องวัดความดันโลหิตและชีพจรแบบอัตโนมัติ และติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอก
  • แพทย์บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบ ในท่านอนและท่ายืน
  • แพทย์ติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะออกกำลังกาย รวมไปถึงวัดความดันโลหิตและชีพจรเป็นระยะๆ

หมายเหตุ

  • ไม่แนะนำผู้ที่มีข้อจำกัดในการวิ่ง เช่น ปวดเข่า เพิ่งเข้ารับการผ่าตัดกระดูกและข้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว หรือมีอาการขาอ่อนแรง
[Total: 0 Average: 0]

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) จาก 2 รีวิว

  1. นิรนาม

    .

  2. healthmeth

    .

เพิ่มบทวิจารณ์

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *