รายละเอียดเพิ่มเติม
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจสุขภาพ 20 รายการ สำหรับผู้หญิงหรือผู้ชาย มีรายการตรวจดังนี้
- วัดความดันโลหิตและชีพจร (Vital sign)
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ (PE)
- เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1c)
- ตรวจการทำงานของไต (BUN)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine)
- ตรวจปัสสาวะอย่างสมบูรณ์ (UA)
- ตรวจหาระดับกรดยูริกในเลือด
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด
- ตรวจหาระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
- ตรวจการทำงานของตับ (SGOT)
- ตรวจการทำงานของตับ (SGPT)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด-ไขมันชนิดดี (HDL)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด-ไขมันชนิดไม่ดี (LDL)
- ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
- ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบบี (Anti HBs)
- ค่าตรวจอัลตราซาวด์หัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง และพบแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
หมายเหตุ
- สำหรับผู้รับบริการลูกค้าที่ประกันทุกบริษัท
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจนี้
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- สามารถทราบผลได้ภายในวันที่ตรวจ ระยะเวลารอผลประมาณ 2 ชั่วโมง
- ควรนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วันก่อนรับบริการ
- งดเครื่องดื่มและอาหาร 8-12 ชั่วโมงก่อนรับบริการ สามารถดื่มน้ำเปล่าได้
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดก่อนตรวจสุขภาพอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรรอตรวจหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน
- ไม่ควรนำของมีค่า เช่น เครื่องประดับ ติดตัวมาด้วย
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายตัว เพื่อความสะดวกในการตรวจ ซึ่งควรเป็นเสื้อผ้าที่เป็นชุดคนละท่อน และไม่สวมเสื้อชั้นในแบบเต็มตัว
- หากสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนการตรวจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
การตรวจสุขภาพ
- การตรวจสุขภาพไม่เหมาะสำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วง 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือน
สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนตรวจสุขภาพ
- โรคประจำตัว ยาที่กำลังรับประทาน และประวัติสุขภาพอื่นๆ หากมีผลตรวจสุขภาพครั้งก่อนหรือรายงานจากแพทย์ ควรนำไปในวันที่รับบริการด้วย
- ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบหากสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ เพื่องดการตรวจเอกซเรย์
- ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่หรือแพทย์ทราบหากกำลังมีประจำเดือน เพื่องดการตรวจปัสสาวะ
การตรวจ ECHO
สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- มีประวัติเคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณลำคอ หรือหน้าอก
- เป็นโรคเกี่ยวกับหลอดอาหารต่างๆ เช่น โรคหลอดอาหารตีบ โรคหลอดอาหารเป็นแผลรุนแรง
- เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับกระดูกสันหลังบริเวณคอ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
การตรวจ Echocardiogram เป็นกระบวนการที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่หากมีภาวะข้างต้น ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากการตรวจบางประเภทได้ ดังนี้
- Stress Echocardiogram ส่งผลให้รู้สึกคลื่นไส้ เวียนศีรษะ และอาจมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยระหว่างออกกำลังกาย ทั้งยังมีโอกาสเล็กน้อยที่การทดสอบจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
- Transesophageal Echocardiogram อาจทำให้ลำคอระคายเคือง และปวดเล็กน้อยในช่วงไม่กี่ชั่วโมงหลังการตรวจ และแท่งตรวจอาจกระทบกระเทือนภายในลำคอ
[Total: 7 Average: 4.9]
Maniyyu –
แพงไปง่ะ
ัคง นา ดือ –
ขอบคถณ
ทศพิษ –
โอเค