ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios)

ภาวะน้ำคร่ำมาก (Polyhydramnios) คือ ภาวะที่มีปริมาณน้ำในถุงน้ำคร่ำมากผิดปกติ ถุงน้ำคร่ำเกิดการขยายตัว และอาจมีอาการข้างเคียงต่าง ๆ ตามมา โดยทั่วไปจะพบในหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ 1 – 2% อาการส่วนใหญ่ของภาวะน้ำคร่ำมากจะไม่รุนแรง และเกิดจากการสะสมของน้ำคร่ำทีละน้อยในช่วงอายุครรภ์ท้าย ๆ หากภาวะน้ำคร่ำมากรุนแรงอาจทำให้หายใจไม่ออก เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการอื่น ๆ

ดังนั้นหากได้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะน้ำคร่ำมาก แพทย์อาจตรวจครรภ์ของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ภาวะน้ำคร่ำมากเป็นสำคัญ กรณีอาการไม่รุนแรงสามารถหายเองได้

สาเหตุ ภาวะน้ำคร่ำมาก

สาเหตุที่บางประการที่ทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำมาก คือ :

  • ความผิดปกติแต่กำเนิดที่ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารหรือระบบประสาทส่วนกลางของทารก
  • อาการเบาหวานของมารดา
  • การถ่ายเทเลือดในภาวพตั้งครรภ์ผิดปกติ คือกรณีที่เป็นครรภ์แฝดแล้วแฝดคนหนึ่งได้รับเลือดมากเกินไป ส่งผลให้แฝดอีกคู่ได้รับเลือดน้อยเกินไป
  • ภาวะขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงในทารก (โรคโลหิตจางของทารกในครรภ์)
  • ความเข้ากันไม่ได้ระหว่างเลือดของแม่และทารก
  • การติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์

แต่ในบางกรณีก็ไม่สามารถหาสาเหตุของภาวะน้ำคร่ำมากได้

อาการ ภาวะน้ำคร่ำมาก

อาการภาวะน้ำคร่ำมากจะส่งผลกระทบต่อความดันภายในมดลูก และอวัยวะใกล้เคียง

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากไม่รุนแรงอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการใดเลย แต่หากภาวะน้ำคร่ำมากมี ความรุนแรงอาจแสดงอาการดังนี้:

  • หายใจถี่หรือหายใจไม่ออก
  • ขาบวม และท้องบวม
  • รู้สึกปวดบริเวณมดลูกหรือมีการหดตัว
  • ความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่นการคว่ำตัวของทารก

แพทย์สันนิษฐานอาการภาวะน้ำคร่ำมาก เมื่อมดลูกของแม่ขยายใหญ่ผิดปกติ และรู้สึกทารกในครรภ์มีความผิดปกติ

การรักษา ภาวะน้ำคร่ำมาก

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากไม่รุนแรงมักหายได้เอง แต่อาจต้องเข้ารับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาการอาจเกิดซ้ำ แต่หากหายเองไม่ได้ แพทย์จะทำการรักษาตามทางเลือกดังนี้

การรักษาที่สาเหตุ

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากเกิดจากโรคเบาหวานที่เกิดในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณารักษาโรคเบาหวาน เพื่อบรรเทา และรักษาภาวะน้ำคร่ำมาก กรณีผู้ตั้งครรภ์มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ควรแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ทราบทันที

การรักษาตามอาการ

กรณีภาวะน้ำคร่ำมากส่งผลต่อใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาแนวทางการรักษา ดังนี้

  • การเจาะเพื่อนำน้ำคร่ำส่วนเกินออก ช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำให้อยู่ในระดับปกติ แพทย์จะพิจารณาตามความจำเป็นเพราะวิธีนี้มีความเสี่ยงที่จะทำให้คลอดก่อนกำหนด
  • การรักษาด้วยยาอินโดเมทาซิน เป็นยาช่วยลดปริมาณน้ำคร่ำและปัสสาวะของทารก ซึ่งต้องพิจารณษจากอายุครรภ์ เพราะหากอายุครรภ์มากจะเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจของทารกผิดปกติ
  • การทำคลอดก่อนกำหนด แพทย์อาจพิจารณาหากอาการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำคร่ำมากมีความรุนแรง

แม้เข้ารับการรักษาแล้ว แพทย์ก็จะยังตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดต่อไป

[Total: 0 Average: 0]