1. ไข้เลือดออกมักแยกออกจากไข้หวัด
ได้โดยที่ไข้เลือดออกไม่มีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล อาจมีไข้สูง หน้าแดง ตาแดง หรือมีผื่นขึ้นคล้ายหัด แต่แยกจากหัด โดยหัดจะมีน้ำมูกและไอมาก และตรวจพบจุดค็อปลิก
นอกจากนี้อาการไข้สูงโดยไม่มีน้ำมูก ยังอาจ ทำให้ดูคล้ายไข้ผื่นกุหลาบในทารก ไข้หวัดใหญ่ ไทฟอยด์ มาลาเรีย ตับอักเสบจากไวรัส ระยะแรก เล็ปโตสไปโรซิส เป็นต้น
ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อาจมาด้วยอาการไข้สูงร่วมกับซักก็ได้ ดั้งนั้นในช่วงฤดูฝนหรือในช่วงที่มีการระบาดของไข้เลือดออก ถ้าพบผู้ที่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันไม่ว่าเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ ควรทำการทดสอบทูร์นิเคต์ หรือ ตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อพิสูจน์ไข้เลือดออกทุกราย
2. ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่มียาที่ใช้ รักษาโดยเฉพาะ
ประมาณร้อยละ 70-80 ของผู้ ที่เป็นไข้เลือดออกจะมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เองภายในประมาณ 7-14 วัน เพียงแต่ให้การรักษาตามอาการและให้ดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อป้องกันภาวะช็อกก็เพียงพอไม่ ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลไม่ต้องฉีดยาให้น้ำเกลือ หรือให้ยาพิเศษแต่อ่างใด รวมทั้งไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ และสตีรอยด์
ประมาณร้อยละ 20-30 ที่อาจมีภาวะช็อกหรือ เลือดออก ซึ่งก็มีทางรักษาให้หายได้ด้วยการให้น้ำเกลือ หรือให้เลือด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นอาจรุนแรงมากจน เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะถ้าพบในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี อาจมีอัตราตายสูงกว่าเด็กอายุกลุ่มอื่นๆ
3. ระยะวิกฤติของโรคนี้คือวันที่ 3-7 ของไข้
ซึ่งผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหรือเลือดออกได้ ดังนั้นจึงควรเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดถ้าพ้นระยะนี้ไปได้ ก็ถือว่าปลอดภัย
ควรบอกให้ญาติสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณ อันตรายดังต่อไปนี้
- ปวดท้องตรงยอดอกหรือลิ้นปี่
- อาเจียนมาก
- มือเท้าเย็นชืด มีเหงื่อออกและท่าทางไม่สบายมาก
- หายใจหอบและเขียว
- มีจ้ำเลือดตามตัวหลายแห่งมีเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน เป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น
ถ้าพบอาการดังกล่าวเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งควรพาไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

4. ผู้ที่เป็นไข้เลือดออกในระยะแรก
ถ้ามีอาการปวดท้อง อาเจียนมาก หรือเบื่ออาหาร (ดื่มน้ำได้น้อย) อาจมีภาวะช็อกตามมาได้ ดังนั้นถ้าพบอาการเหล่านี้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรพยายามให้ดื่มน้ำให้มากๆ ถ้าดื่มไม่ได้ควรแนะนำไปโรงพยาบาล อาจต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ และเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
5. เนื่องจากเชื้อไข้เลือดออกมีอยู่หลายชนิด
ดังนั้นคนเราจึงอาจติดเชื้อไข้เลือดออกได้หลายครั้ง แต่ส่วนมากจะมีอาการไข้คล้ายไข้หวัด แล้วหายได้เอง ส่วนน้อยที่อาจเป็นรุนแรงถึงช็อก และแต่ละคนจะมีโอกาส เป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรงถึงช็อก และแต่ละคนจะมีโอกาส เป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรงเพียงครั้งเดียว (หรืออย่าง มากไม่ควรเกิน 2 ครั้งในชั่วชีวิต) ที่จะเป็นรุนแรงซ้ำ ๆ กันหลายครั้งนั้นนับว่ามีน้อยมาก
6. ผู้ที่เป็นไข้เลือดออกสามารถให้พาราเซตามอลเพื่อลดไข้ได้
แต่ควรแยกแยะอาการตัวเย็นจากยาลดไข้ให้ออกจากภาวะช็อกกล่าวคือ ถ้าตัวเย็นเนื่องจากยา ลดไข้ผู้ป่วยจะดูสบายดีและหน้าตาแจ่มใส แต่ถ้าตัวเย็นจากภาวะช็อก ผู้ป่วยจะซึมหรือกระสับกระส่าย
อย่างไรก็ตาม ควรย้ำให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่าการใช้ยาลดไข้ อาจไม่ทำให้ไข้ลด ถ้าไม่ลด ก็ให้เช็ดตัว ด้วยน้ำเย็น อย่าให้พาราเซตามอลเกินขนาดที่กำหนด ถ้าให้มากไปหรือถี่เกินไป อาจมีพิษต่อตับถึงขั้นอันตรายได้และอย่าหันไปใช้ยาลดไข้ชนิดอื่นๆ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยี่ห้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ประกอบด้วยยาพาราเซตามอลล้วนๆ (โดยอ่านดูฉลากยาให้แน่ใจ) เพราะยาแก้ไข้อื่น ๆ อาจมีอันตรายต่อผู้ป่วยไข้เลือดออกได้
7. ในรายที่จำเป็นต้องให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำควรให้ด้วยความระมัดระวัง
อย่าให้น้อยไปหรือมากไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีภาวะวิกฤติประมาณ 24-48 ชั่วโมง จำเป็นต้องตรวจวัดระดับฮีมาโทคริต อย่างใกล้ชิด และปรับปริมาณและความเร็วของน้ำเกลือที่ให้ตามความรุนแรงของผู้ป่วย ต้องระวังการให้น้ำเกลือมากหรือเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ เป็นอันตรายได้