การตรวจหากรดโฟลิก (Folic acid)

การตรวจหากรดโฟลิก (Folic  acid) เป็นการหาระดับกรดโฟลกิกในซีรั่ม (อาจเรียกว่า Pteroylglutamic acid, folacin หรือ folate) กรดโฟลิกเป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ  มีอิทธิพลต่อการสร้างเม็ดเลือด (hematopoiesis) การสังเคราะห์ DNA (Deoxyribonucleic) และการเจริญเติบโตของร่างการทั้งหมดปกติอาหารที่มีกรดโฟลิก  ได้แก่  ตับ ไต  ยีส  ผลไม้  ผักใบเขียว ขนมปังแห้งและเมล็ดธัญพืชประเภทข้าว ข้าวโพด (cereals)  ไข่  และนม  หากรับประทานอาหารไม่พออาจเป็นสาเหตุของการขาดกรดโฟลิกได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภค์ เนื่องจากกรดโฟลิกมีบทบาทในการสร้างเม็ดเลือด ซึ่งปกติเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการตรวจในกรณีที่สงสัยว่ามีความผิดปกติของเม็ดเลือด

วัตถุประสงค์
1.ช่วยวินิจฉัยแยกโรคโลหิตจาง (Megaloblastic) ซึ่งอาจจะเป็นผลจากการขาดกรดโฟลิก  หรือวิตามินบี 
2.เพื่อประเมินการสะสมโฟเลต (folate) ในขณะตั้งครรภ์

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
           ค่าปกติกรดโฟลิกในชีรั่ม       =          18 – 9      ng / ml

ผลการตรวจที่ผิดปกติ

ระดับกรดโฟลิกในซีรั่มต่ำ อาจบ่งชี้ถึงมีความผิดปกติของระบบเลือด เช่น ภาวะซีด (โดยเฉพาะ Megaloblastic  anemia) ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ (leukopenia) และภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) การตรวจ  Schilling test เป็นการตรวจเพื่อชี้ขาดว่ามีภาวะพร่องวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะซีดที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 (Megaloblastic  anemia)
ระดับกรดโฟลิกต่ำ  เป็นผลจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyrodism) รับประทานอาหารไม่เพียงพอ เป็นโรคกลุ่มอาการลำไส้เล็กดูดซึม ผิดปกติ (small – bowel  malabsorption  syndrome) เป็นโรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรังหรือตั้งครรภ์
ระดับกรดโฟลิกในซีรั่มมากกว่าปกติอย่างมาก บ่งชี้ถึงการรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกมากเกิน หรือได้รับกรดโฟลิกทดแทนมากเกินอย่างไรก็ตามเมื่อได้รับ ขนาดสูง ๆ  ก็จะไม่ทำให้เป็นพิษ

[Total: 1 Average: 5]