การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองส่งตรวจ (Lymphnode biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง (Lymphnode  biopsy) คือการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองหรือใช้เข็มดูดเอาชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจดูเซลล์ปกติใช้ฉีดยาชาและนำตัวอย่างจากผิว ๆ ของต่อมน้ำเหลืองที่ คอ ไหปลาร้า  รักแร้  หรือขาหนีบ แต่การตัดต่อมน้ำเหลืองออกมาตรวจนิยมทำมากกว่าเพราะได้ชิ้นเนื้อส่งตรวจที่ใหญ่กว่า
                แม้ว่าต่อมน้ำเหลืองบวมโตระหว่างที่มีการติดเชื้อ การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเป็นสิ่งบ่งชี้เมื่อมีต่อมน้ำเหลืองโตเป็นเวลานานและมีอาการ ปวดหลัง  ขาบวม  มีอาการหายใจและกลืนลำบากร่วมด้วย  และต่อมาจะมีน้ำหนักลด อ่อนเพลีย  คันอย่างรุนแรง มีไข้เหงื่อออกตอนกลางคืน ไอ
ไอเป็นเลือด และเสียงแหบ ต่อมน้ำเหลืองโตเป็นลักษณะเฉพาะของโรค  มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์แบบเรื้อรัง (chronic  lymphatic   leukemia) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดกิน (Hodgkin’s  disease) โรคโมโนนิวคลิโอลิส (Infectious  mononucleosis) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatiod  arthritis) ก่อนตัดชิ้นเนื้ออกตรวจ  ควรตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง (complete  blood count) การตรวจการทำงานของตับ (Liver  function  tests; LFTs) การสแกนตับ (Liver  scan)  การตรวจสแกนม้าม (Spleen  scan) และเอกซเรย์
(X – rays)

วัตถุประสงค์
1.เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต
2.เพื่อแยกแยะให้เห็นต่อมน้ำเหลืองโตว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
3.เพื่อดูระยะของการแพร่กระจายของมะเร็ง

การเตรียมผู้ป่วย
1.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจนี้ใช้วิธีการส่องกล้องจุลทรรศน์ดูเยื่อเยื่อต่อมน้ำเหลือง
2.บอกวิธีการตรวจให้กับผู้ป่วย และตอบคำถามที่ผู้ป่วยสงสัย
3.สำหรับการตัดชิ้นเนื้อทั้งหมดออกไปตรวจ (excistion  biopsy) บอกผู้ป่วยให้งดอาหารหลังเที่ยงคืน และให้ดื่มน้ำเปล่าในตอนเช้าวันตรวจ (หากใช้ยาสลบเมื่อต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ลึก ๆ จะต้องงดน้ำ)
4.สำหรับการใช้เข็มเล็ก ๆ ตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ (needle  biopsy) บอกผู้ป่วยว่าไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร บอกบุคคลที่จะเป็นผู้ตัดชิ้นเนื้อและทำที่ไหน
5.ให้ผู้ป่วยหรือญาติเซ็นใบอนุญาตการตรวจ
6. ตรวจสอบประวัติผู้ป่วยว่ามีการแพ้ยาชาหรือไม่
7. หากผู้ป่วยจะได้รับยาชาเฉพาะที่บอกผู้ป่วยว่าอาจจะไม่สุขสบายระหว่างการแทงเข็มฉีด
 8.บันทึกสัญญาณชีพไว้เป็นพื้นฐานก่อนตัดชิ้นเนื้อ

การตรวจและการดูแลผู้ป่วยหลังตรวจ
 การตัดชิ้นเนื้อทั้งหมดออกไปตรวจ (Excisional  biopsy)
1.หลังจากเตรียมตำแหน่งผิวหนังที่จะตัดชิ้นเนื้อไว้เรียบร้อยแล้วให้ฉีดยาชาเฉพาะที่
2.ผู้ตรวจกรีดผิวหนังแล้วนำเอาต่อมน้ำเหลืองออกทั้งหมด และใส่ในขวดที่บรรจุด้วยน้ำเกลือหรือติดฉลากให้ถูกต้อง
3.ปิดแผลที่เย็บไว้ด้วยผ้าปิดแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อ

การใช้เข็มเล็ก ๆ ตัดเอาชิ้นเนื้อไปตรวจ (Needle  biopsy)
1.หลังจากเตรียมตำแหน่งที่จะตัดชิ้นเนื้อและฉีดยาชาแล้ว ผู้ตรวจใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับต่อมน้ำเหลืองไว้ แล้วใช้เข็มแทงเข้าไปที่ต่อม และนำเอาชิ้นเนื้อเล็ก ๆออกมาเพื่อตรวจ
2.ดึงเข็มออก และใส่ชิ้นเนื้อไว้ในขวดที่บรรจุด้วยน้ำเกลือ  และติดฉลากที่บอกชื่อสิ่งของในขวดไว้ด้วย
3.กดตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อเพื่อห้ามเลือดและปิดพลาสเตอร์ไว้

ทั้งสองอย่าง (Both  procedure)
1.ตรวจสอบสัญญาณชีพและเฝ้าดูบริเวณที่มีเลือดออก มีการกอเจ็บ และตำแหน่งที่ตัดชิ้นเนื้อที่มีสีแดง
2.บอกผู้ป่วยว่าอาจจะรับประทานอาหารได้ตามปกติ

ข้อควรระวัง
เก็บเนื้อเยื่อในน้ำเกลือแทนที่จะเป็นน้ำยา 10%  formalin  เพื่อนำไปตรวจดูเซลล์ต่อไป

ผลการตรวจที่เป็นปกติ
ต่อมน้ำเหลืองที่เป็นปกติจะมีปลอกหุ้มด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (collagenous Connective tissue) และแบ่งเป็นกลีบเล็ก ๆ ด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่า    trabeculae โดยส่วนนอกประกอยด้วย reticular phagocytic  cells  ซึ่งเป็นที่เก็บและระบายน้ำ

ผลการตรวจที่ผิดปกติ
            การตรวจเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ตัดชิ้นเนื้อมาตรวจจะพบเซลล์มะเร็งและเซลล์ที่เป็นสาเหตุทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต มะเร็งต่อมน้ำเหลืองพบมากถึง ร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมดพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย
            ถ้าผลการตรวจดูเซลล์ไม่ชัดเจน  สามารถตรวจอีกต่อมหนึ่งด้วยการส่องกล้องในช่องอก (mediastinoscopy) หรือการผ่าตัดเปิดตรวจช่องท้อง (laparotomy) บางครั้งมีการถ่ายภาพระบบน้ำเหลือง (lymphangiography) เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการวินิจฉัย

สารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor markers)

Tumor Marker Tests (CA – 125, CA 19 – 9, CA – 50, and CA 15 – 3) สารบ่งชี้มะเร็ง (T…+ Read More

การทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง (Tuberculin skin tests)

Tuberculin Skin Tests การทดสอบวัณโรคทางผิวหนัง(Tuberculin skin tests)เป็นการคัดกรองกา…+ Read More

[Total: 0 Average: 0]