การตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ (Sleep studies)

การตรวจวินิจฉัยการนอนหลับ หรือการตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep  studies) รู้จักกันอีกอย่างหนึ่ง คือ Polysomnography (PSG) ซึ่ง Sleep studies เป็น การตรวจที่ใช้เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกการหายใจที่ผิดปกติเมื่อนอนหลับ ตัวแปรหลายอย่าง ที่ใช้ประเมินสำหรับผู้ป่วยที่ถูกทดสอบสำหรับการนอนหลับผิดปกติ หรือสิ่งเหล่านี้  ได้แก่ อัตราและจังหวะการเต้นของหัวใจ การขยับเคลื่อนไหวของทรวงอกและช่องท้อง ลมหายใจ  ที่ผ่านทางจมูกและปาก ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (oxygen saturation) การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ หน้าที่ของเรตินา และการทำงานของสมองระหว่างช่วงของการนอนหลับปัจจุบันสามารถนำเครื่องไปติดตั้งถึงบ้านผู้ป่วย ซึ่งจะมีข้อดีกว่าการตรวจใน ห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล คือ บรรยากาศในการนอนเหมือนเดิมและค่าใช้จ่าย ถูกกว่า มีข้อเสียคือ กรณีสายสัญญาณหลุดไม่สามารถแก้ไขคืนนั้นได้

วัตถุประสงค์
ตรวจในผู้ที่มีปัญหานอนกรนดังผิดปกติ หรือมีอาการง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ ทั้ง ที่ได้นอนอย่างเพียงพอแล้ว หายใจลำบาก และสงสัยว่าจะมีการหยุดหายใจขณะหลับ หรือผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น การนอนแขนขากระตุก นอนกัดฟัน หรือนอนละเมอ นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ

การเตรียมผู้ป่วย
1.อธิบายผู้ป่วยถึงวัตถุประสงค์ของการตรวจ  และควบคุมให้ผู้ป่วยนอนหลับได้ปกติตามตารางที่กำหนดไว้
2.ก่อนเริ่มการตรวจเจ้าหน้าที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการนอน  รวมทั้งยารักษาโรคประจำตัว หรือการให้กรอกแบบสอบถาม และเอกสารยินยอมของผู้รับการตรวจ
3.อธิบายลักษณะเกี่ยวกับอุปกรณ์  และการปฏิบัติตัวต่าง ๆ  ระหว่างการตรวจโดยให้ผู้ป่วยสวมเสื้อผ้าชุดนอนหลวม ๆ ทำจิตใจให้สบาย
4.บอกผู้ป่วยว่าการตรวจสุขภาพการนอนหลับ  เป็นตารางที่กำหนดตั้งแต่หัวค่ำถึงกลางคืน โดยเริ่มตั้งแต่ 22.00 น. ถึง 6.00 น. ทั้งนี้ตามความเหมาะสมของ ผู้ป่วยแต่ละราย และนอนในสถานที่มีห้องตรวจที่ออกแบบไว้
5.บอกผู้ป่วยว่า  ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา  กาแฟ  และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม หรือหลีก เลี่ยงการนอนหลับในช่วงสั้น ๆ หรืองีบหลับ เป็นเวลา 2 – 3 วันก่อนตรวจ
6.บอกให้ผู้ป่วยอาบน้ำหรือสระผมก่อนตรวจ

การตรวจและการดูแลภายหลังตรวจ
1.เมื่อมาถึงโรงพยาบาลหรือเริ่มตรวจ ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนชุดนอน
2.เตรียมผู้ป่วยเพื่อต่อเข้ากับเครื่องตรวจสุขภาพการนอนหลับ โดยนำอิเล็กโทรดหรือสายวัดเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ติดที่ผิวหนังผู้ป่วย ที่ศีรษะ คาง จมูก รอบ ๆ ตา หน้าอก ท้อง นิ้วมือ ขา 2 ข้าง เพื่อวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง การกรอกลูกตา คลื่นไฟฟ้า กล้ามเนื้อ คลื่นหัวใจไฟฟ้า ซึ่งขึ้นกับชนิดของมอนิเตอร์ (monitor) ที่นำมาใช้
3.บอกผู้ป่วยให้อยู่ในท่าสบาย และเคลื่อนไหวร่างกายตามปกติ ไม่ต้องกังวลกับอิเล็กโทรด
4.ปิดไฟและติดสายวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง(EEG  monitor) เพื่อใช้เป็นพื้นฐานโดยอ่านค่าก่อนที่ผู้ป่วยจะหลับ
5.ต้องแน่ใจว่าเครื่องบันทึกแลเครื่องวีดีโอบันทึกเหตุการณ์การนอหลับได้
6.ติดตามเกี่ยวกับการนอนหลับของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งการตรวจ เสร็จเรียบร้อย

ข้อควรระวัง
1.สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ (sleep  apnea) อาจใช้การตรวจการนอนหลับแบบแบ่งครึ่งคืน (split – night study) เป็นการติดตามโดยมอนิเตอร์ครึ่งแรกของช่วงกลางคืน แล้วใช้เครื่องเป่าความดันลมเพื่อขยายทางเดินหายใจ (Positive airway pressure; PAP) อย่างต่อเนื่องหรือใช้การระบายอากาศทางจมูก (nasal ventilation) เพื่อเปิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ (airway) ระหว่างครึ่งหลังของช่วงกลางคืน
2.ให้ติดตามผู้ป่วยเกี่ยวกับการหายใจไม่สะดวก

[Total: 0 Average: 0]