กระดูกสันหลังเคลื่อน

โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน คือ ภาวะที่มีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังข้อหนึ่งไปด้านหน้ามากกว่าปกติ (หรืออาจเคลื่อนมาทางด้านหลัง แต่พบได้น้อยมาก) โดยมักพบในผู้ป่วยที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นน้อยกว่าเพศชาย ความมั่นคงของข้อต่อน้อยกว่าจึงเสียงต่อการเป็นโรคนี้ง่ายกว่า

โดยมากมักพบการเคลื่อนของกระดูกสันหลังระดับเอวข้อที่ 4 และข้อที่ 5 (L4-L5) เนื่องจากข้อกระดูกสันหลังส่วนนี้จะรับนํ้าหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย มีแรงเครียดสูงกว่า และเป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวได้มากกว่าข้อบนๆ เมื่อข้อต่อระดับนี้รับภาระมากขนาดนี้จึงไม่แปลกที่จะเกิดปัญหากับข้อที่ L4-L5 เสมอ

สาเหตุ กระดูกสันหลังเคลื่อน

สาเหตุของโรคนี้จะแตกต่างกันไปตามอายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิต ความพิการแต่กำเนิด พันธุกรรม อุบัติเหตุ ความเสื่อมตามอายุ การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงวัยรุ่น การทำกิจกรรมที่ทำให้มีแรงตึงสะสมบริเวณกระดูกหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะกีฬา เช่น ฟุตบอล ยิมนาสติก กรีฑา ยกน้ำหนัก เป็นต้น รวมถึงการติดเชื้ออย่างวัณโรคกระดูกสันหลังหรือโรคมะเร็งที่กระจายลุกลามมายังกระดูกสันหลัง

  • ข้อต่อ facet joint เกิดการเสื่อม ทำให้กระดูกสันหลังข้อนั้นๆขาดความมั่นคงจนเกิดการเคลื่อนไหวที่มากกว่าปกติ
  • เกิดจากส่วน pars interarticularis แตกหัก ซึ่งเป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างตัวปล้องกระดูกสันหลัง (vertebral body) กับส่วนหางของกระดูกสันหลัง จึงทำให้ตัวปล้องของกระดูกสันหลังเคลื่อนมาข้างหน้ามากกว่าปกติเพราะขาดตัวยึดไว้นั่นเองครับ
  • เกิดจากอุบัตเหตุที่มีการกระแทกต่อกระดูกสันหลังโดยตรงจนทำให้ข้อเคลื่อน
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ หรือในผู้ที่อ้วนลงพุง
  • ผู้ที่ทำงานต้องก้มๆเงยๆเป็นประจำ
  • อาจเกิดจากติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น วัณโรคกระดูกหลัง

อาการ กระดูกสันหลังเคลื่อน

สำหรับอาการเริ่มแรก คนไข้จะมีอาการปวดช่วงเอวในกลุ่มที่มีปัญหากระดูกสันหลังช่วงเอวเคลื่อน ซึ่งพบบ่อยมากที่สุด หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานกระดูกที่เคลื่อนจะกดทับเส้นประสาทที่สั่งการไปที่ขา จึงเกิดอาการปวดขาทั้งสองข้าง ไม่สามารถเดินได้นานเหมือนเดิม เช่น เดินได้เพียง 10 นาทีก็ต้องพัก แต่ถ้ามีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังช่วงหน้าอกจะมีอาการเป็นอัมพาตครึ่งตัวบน

ลักษณะการเคลื่อนของกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้ 4 ระดับ คือ

  • ระดับที่ 1 : เคลื่อน 25%
  • ระดับที่ 2 : เคลื่อน 50%
  • ระดับที่ 3 : เคลื่อน 75%
  • ระดับที่ 4 : เคลื่อน 100%

ซึ่งระดับที่ 1-2 นั้น สามารถรับการรับการรักษาทางกายภาพบำบัดให้หายปวดได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการรักษานั้นจะเป็นการรักษาแบบประคับประคองไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนไปมากกว่าที่เป็นอยู่นะครับ ไม่ได้รักษาให้กระดูกกลับมาเป็นปกติ แต่ถ้ารุนแรงถึงระดับ 3-4 โอกาสที่จะหายได้โดยการรักษาทั่วไปมักไม่ได้ผล การรักษาโดยการผ่าตัดจึงมักทําในระยะนี้

การรักษา กระดูกสันหลังเคลื่อน

การรักษาสำหรับโรคนี้ถ้าไม่เข้ารับการผ่าตัดโดยแพทย์นั้น สามารถเข้ารับการรักษากับ การจัดกระดูกสันหลัง SAP ร่วมด้วยกับทางทีมนักกายภาพบำบัด ซึ่งการรักษาทางกายภาพนั้นจะเน้นการลดปวดและการออกกำลังกล้ามเนื้อหลังเพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะหยุงกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนมากกว่าที่เป็นอยู่ และในการรักษาของเรายังสามารถ ทำให้กระดูกสันหลัง เคลื่อนกลับมาในตำแหน่งที่ดีขึ้นได้ด้วย ในผู้ที่เป็นโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนทีมนักกายภาพจะให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายมากเป็นพิเศษเลยนะครับ โดยเฉพาะการฝึก core stabilize เป็นการฝึกกำลังกล้ามเนื้อชั้นลึกที่ติดอยู่กับกระดูกสันหลังให้แข็งแรงมากพอที่จะพยุงกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนครับ นอกจากนี้จะใช้อุปกรณ์เสริมร่วมด้วยเช่นอุปกรณ์พยุงหลัง หรือติด kinesio tape ที่หลังเพื่อพยุงกล้ามเนื้อหลังช่วยลดปวดได้

[Total: 1 Average: 5]