การรักษา กลุ่มอาการระบายลมหายใจเกิน

โรค | สาเหตุ | อาการ | การรักษา


1.ในรายที่มีอาการเฉียบพลัน มีอาการหายใจเกิน และมือเท้าจีบ  เมื่อชักถามอาการและตรวจร่างกาย แล้วแน่ใจว่าไม่ใช่เกิดจากสาเหตุทางกายก็ให้การรักษาโดยการพูดจาปลอบผู้ป่วยแนะนำให้ผู้ป่วยหายใจช้าลง หรือให้กินยากล่อมประสาท เช่น ไดอะซีแพม ขนาด 5 มก.เม็ด

                ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนอง หรือกินยาไม่ได้ ให้ฉีดไดอะซีแพม 5-10 มก.เข้าหลอดเลือดดำช้า ๆ หรือให้ใช้กระดาษทำเป็นรูปกรวยมีรู 0.5 – 1 ซม.ตรงปลายกรวย (หรือใช้ถุงกระดาษเจาะรูตรงกลาง) ครอบปากและจมูกผู้ป่วยพอแน่นให้ผู้ป่วยหายใจภายในกรวยหรือถุงกระดาษ เพื่อสูดเอาก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะมีฤทธิ์เป็นกรด) เข้าไปแก้ภาวะเลือด เป็นด่าง ซึ่งจะแก้ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้มือเท้าหายจีบเกร็ง  และอาการต่าง ๆทุเลาได้ ปกติมักจะได้ผลภายใน 10 -15 นาที
                ควรหลีกเลี่ยงวิธีให้ผู้ป่วยหายใจในกรวยหรือ ถุงกระดาษนี้ถ้าหากสงสัยมีสาเหตุจากโรคทางกาย (เช่น โรคหัวใจ โรคหืด เบาหวาน โลหิตจาง   มีไข้ เป็นต้น) หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด เช่น อายุมากกว่า 55 ปี หรือเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติสูบบุหรี่
                ถ้าอาการดีขึ้น ควรให้ยากล่อมประสามไปกินต่อที่บ้าน ถ้าไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหรือสงสัยอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ

2.ในรายที่เป็นเรื้อรังถ้าทำการทดสอบแล้วมั่นใจว่าเป็นโรคนี้ ก็ให้ยาทางจิตประสาท ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจด้วยท้อง (เวลาหายใจท้องจะป่องเวลาหายใจออกท้องจะแฟบ) และฝึกให้รู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียดหากติดตามผลการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือสงสัยมีสาเหตุ จากโรคทางกาย ก็ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
               ในรายที่อาการไม่ชัดเจน หรือสงสัยมีสาเหตุจากโรคทางกาย แพทย์อาจต้องทำการตรวจคลื่นหัวใจเอกซเรย์ปอด และตรวจพิเศษอื่น ๆ 
               ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้จริง ก็จะปรับเปลี่ยนยาทางจิตประสาทให้เหมาะสม และถ้าพบว่ามีโรคแพนิก ภาวะวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า ก็จะให้การรักษาพร้อมกันไปในบางรายอาจำเป็นต้องปรึกษาจิตแพทย์

[Total: 0 Average: 0]