การรักษา โรคแพนิก

ถ้าผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับเกณฑ์การวินิจฉัย โรคนี้ และมั่นใจว่าไม่มีโรคทางกาย (เช่น โรคหัวใจ คอ พอกเป็นพิษ) ก็ให้การรักษาดังนี้
ก.ให้ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI)ได้แก่ ฟลูออกซีทีน เริ่มด้วยขนาด 10มก./วัน แล้วค่อย ๆ  เพิ่มขนาดยาทุกสัปดาห์ จนถึงขนาด 20-40 มก./วัน โดยกินวันละ 1 ครั้งหลังอาหารเช้า
ข. ให้ยากล่อมประสาท ได้แก่ อัลพราโซแลม ขนาด 2-4 มก./วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง
              ควรให้ยา 2 ชนิดนี้ร่วมกันตั้งแต่แรก  ถ้าอาการดีขึ้นควรให้ติดต่อกันนาน 4 - 6 สัปดาห์ แล้วจึงค่อย ๆ ลดยากล่อมประสาทลงลง จนเหลือยาแก้ซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว (ไม่ควรให้ยากล่อมประสาทติดต่อกันนาน ๆ เพราะ อาจทำให้เสพติดได้)
             เมื่อควบคุมอาการได้ดีแล้ว ให้คงยาแก้ซึมเศร้าต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 12 เดือน แล้วจึงค่อย ๆ ลดยาลงจนหยุดยาได้ โดยใช้เวลา
2 - 6  เดือน
2. ถ้าให้ยา 2-4 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการ ที่สงสัยมีสาเหตุจากโรคทางกาย หรือผู้ป่วยรู้สึกกลัวหรือ กังวลมากควรส่งปรึกษาจิตแพทย์
             ในรายที่สงสัยเป็นโรคทางกาย อาจต้องทำการ ตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ คลื่นหัวใจ เป็นต้น
             หากวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก ก็จะให้การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้า และยากล่อมประสามตามแนวทางดังกล่าวข้างต้น ยาทั้ง 2 กลุ่มนี้ 
มีอยู่หลายชนิด  แพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย
             นอกจากนี้  ยังอาจมีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การฝึกการผ่อนคลาย (relaxation training) การใช้เทคนิคจิตบำบัดและพฤติกรรมบำบัดต่าง ๆ 
              ผลการรักษาหากได้รับการรักษาอย่างจริงจัง และต่อเนื่องมักจะได้ผลดี บางรายเมื่อหยุดยาสักระยะหนึ่งก็อาจมีอาการกำเริบได้อีกก็ควรจะได้รับยารักษาใหม่อีก

[Total: 0 Average: 0]