ทริคิโนซิส

ทริคิโนซิส  เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า ทริคิเนลลาสไปราลิส (Trichinella spiralis) ซึ่งมีอยู่ในเนื้อหมูหรือหนู ผู้ที่จะเป็นโรคนี้จะต้องกินเนื้อหมูหรือหนูที่มีซิลต์ของพยาธิและไม่ได้ทำให้สุก เช่น ลาบ แหนม เป็นต้น มักพบเป็นพร้อมกันหลายคน ในบ้านเราเคยพบเป็นโรคระบาดทางภาคเหนือหลายครั้ง

วงจรชีวิตของพยาธิ พยาธิทริคิเนลลาสไปราลิสตัวผู้มีขนาดยาวประมาณ 1.4 -1.6 มม.และตัวเมียยาว ประมาณ 3-4 มม.ปกติอาศัยอยู่ในเนื้อหมูหรือหนู เมื่อคน หมู หรือหนูกินเนื้อหมูหรือหนูที่มีซิลต์ของพยาธิเมื่อตกถึงลำไส้ พยาธิตัวอ่อนจะฟักตัวออกมาจากซิลต์เจริญเป็นตัวแก่ภายใน 2-3 วัน และภายใน 5-7 วัน พยาธิ ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กัน แล้วตัวเมียจะไซและฝังตัวอยู่ในเยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น ออกลูกเป็นตัวอ่อน ซึ่งจะไซเข้าหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองเข้าไปในกระแส เลือด แล้วเข้าไปขดตัวอยู่ในกล้ามเนื้อประมาณวันที่ 9-23 หลังจากกินซิลต์ พยาธิจะเจริญเติบโตจนเป็นตัว อ่อนระยะติดต่อ แล้วเกิดมีซิลต์หุ้ม ถ้าซิลต์ไม่ได้ถูกกินตัวอ่อนในซิลต์จะตายและมีหินปูนมาจับ

อาการ ทริคิโนซิส

                แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

  • ระยะที่ 1 ระยะพยาธิอยู่ในลำไส้ หลังจากผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียฝังตัวในลำไส้ ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินหลังกินเนื้อหมูที่มีซิลต์ของพยาธิประมาณ 24-72 ชั่วโมง และจะมีอาการ อยู่นาน 1-7 วัน
  • ระยะที่ 2 ระยะที่พยาธิตัวเมียออกลูก และพยาธิตัวอ่อนเข้าไปในกระแสเลือด แล้วไซเข้ากล้ามเนื้อ เริ่มประมาณ 5-7 หลังกินซิลต์ของพยาธิ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง (ซึ่งอาจเป็นอยู่นาน 1-2 สัปดาห์) เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อมากจนไม่อยากกระดุกกระดิก อาจหายใจ เคี้ยว กลืนหรือพูดลำบาก เพราะเจ็บกล้ามเนื้อ อาจมีอาการบวมที่หนังตา (ประมาณวันที่ 12-14 ของโรค) หรือ มีผื่นแดงขึ้นหรือมีเลือดออกใต้เล็บ บางรายอาจมีอาการปวดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายหลังเกิดโรค 4-6 สัปดาห์
  • ระยะที่ 3 ระยะที่พยาธิตัวอ่อนมีซิลต์หุ้ม ผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลงและอาการเจ็บปวดตามกล้าม เนื้อค่อยๆ ทุเลาลง ซิลต์จะยังคงอยู่ในกล้ามเนื้อตลอดไป โดยพยาธิในซิลต์จะตายและมีหินปูนมาจับ ซึ่งสามารถ ตรวจพบโดยการเอกซเรย์

การป้องกัน ทริคิโนซิส

โรคนี้สามารถป้องกันโดยการไม่กินเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ แหนม เป็นต้น และควบคุมโรงฆ่าสัตว์ไม่ให้นำหมูที่เป็นโรคนี้มาทำเป็นอาหาร หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน มักจะวินิจฉัยโดยการตรวจเลือด ซึ่งจะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติและมีจำนวนอีโอซิโนฟิล (eosinophil) สูงถึงร้อยละ 10-90

การรักษา ทริคิโนซิส

                อาจทำการทดลอบทางน้ำเหลือง (serologic test) ตัดชิ้นเนื้อจากกล้ามเนื้อ (เช่น ที่น่อง) หรือลำไส้ไปตรวจ หาตัวพยาธิ

                ถ้าสงสัยมีพยาธิในสมอง อาจเจาะหลังนำน้ำไขสัน-หลังไปตรวจ

                เมื่อพบว่าเป็นโรคนี้จรอง จะให้การักษาดังนี้

1. ในระยะพยาธิอยู่ในลำไส้ นอกจากให้การรักษาตามอาการ เช่น นอนพัก ให้ยาแก้ปวดลดไข้ ให้น้ำเกลือแล้ว แพทย์จะให้ยาถ่ายพยาธิ เช่น มีเบนดาโซล ครั้งละ 200-400 มก.วันละ 3 ครั้ง นาน 3 วัน แล้วเพิ่มเป็นครั้งละ 400-500 มก.วันละ 3 ครั้ง อีก 10 วัน หรือ ไทอาเบนดาโซล (thiabendazole) ขนาดครั้งละ 25 มก./กก. (สูงสุด 1.5 กรัม) วันละ 2 ครั้ง นาน 3-7 วัน

2. ระยะพยาธิอยู่ในกล้ามเนื้อ ถ้ามีการอักเสบรุนแรง ให้เพร็ดนิโซโลน ขนาดวันละ 1 มก./กก.นาน 5 วัน แล้วค่อย ๆ ลดขนาดลงที่ละน้อย จนหยุดยา ภายใน 1-2 สัปดาห์ พร้อมกับให้ยาถ่ายพยาธิดังกล่าว ซึ่งอาจได้ผลสู้ระยะพยาธิอยู่ในลกไส้ไม่ได้

[Total: 1 Average: 4]