การรักษา เบาหวาน

1.  การวินิจฉัย
สำหรับคนทั่วไป (ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์) หากมีอาการของเบาหวาน (เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำบ่อย) หรือไม่มีอาการแต่ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้ (เช่น อ้วน มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน) ควรส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ดังนี้

          ก.  กรณีผู้ป่วยไม่มีอาการแสดง ควรตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแบบเจาะที่แขน (venous  blood) หลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (fasting plasma glucose/FPG) ซึ่งสามารถแปลผล  ดังนี้

  • ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าต่ำกว่า 100  มก./ดล. ถือว่าถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าต่ำกว่า100-125 มก./ดล. ถือว่าเป็นระดับน้ำตาลสูงผิดปกติ(impaired fasting glucose/IFG) เรียกว่า กลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน (categories of  increased risk for diabetes) ควรตรวจยืนยันด้วยการทดสอบความทนต่อน้ำตาล (oral glucose tolerance test/OGTT)  
  • ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) มีค่าตั้งแต่ 126 มก./ดล. ขึ้นไป หรือระดับน้ำตาลในเลือดหลังดื่มกลูโคส 2 ชั่วโมงมีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไป ให้สงสัยว่าอาจเป็นเบาหวาน ควรทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG หรือ OGTT แล้วแต่กรณี) ซ้ำอีกครั้งในวันหลัง ถ้ายังมีค่าสูงอยู่ในระดับดังกล่าวอีกก็จะวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน

          นอกจากนี้ ยังสามารถวินิจฉัยโรคเบาหวาน จากการตรวจพบระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม  (HbA1C) มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 6.5 % จากการตรวจ 2 ครั้งในต่างวันกัน

          ข.  กรณีผู้ป่วยมีอาการชัดเจน ควรตรวจวัด ระดับน้ำตาลในเลือดแบบสุ่มตรวจ คือ ตรวจได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาใด ถ้าพบว่ามีค่าตั้งแต่ 200 มก./ดล. ขึ้นไปก็สามารถวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน

2.  เมื่อตรวจพบว่าเป็นเบาหวาน
          ควรให้สุขศึกษาแนะนำข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย และควรให้แพทย์พิจารณาให้ยารักษาเบาหวาน นอกจากนี้ แพทย์จะประเมินภาวะเสี่ยงอื่นๆ (เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ภาวะน้ำหนักเกิน เป็นต้น) และทำการควบคุมภาวะเสี่ยงต่างๆ (เช่น ให้ยาลดความดัน ยาลดไขมัน) ควบคู่กันไปให้ได้ตามเป้าหมาย ถ้าควบคุมได้ดีอย่างต่อเนื่อง  ก็จะลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้

3.  ในการติดตามผลการรักษา 
          
ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำเพื่อดูว่าระดับน้ำตาลมีค่าเท่าไรสูงหรือต่ำเกินไปไหม มีประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนยาและพฤติกรรมของผู้ป่วย   

          สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 (ซึ่งใช้ยาฉีดอินซูลิน) ควรตรวจระดับน้ำในเลือดวันละ 2-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน ถ้ามีการปรับเปลี่ยนอาหาร ออกแรงกาย หรือมีการเจ็บป่วยอื่นๆ ร่วมด้วย อาจต้องตรวจบ่อยขึ้นในกรณีที่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ดีอย่างสม่ำเสมอแล้ว อาจตรวจน้ำตาลในเลือดสัปดาห์ละ 1 วัน (ตรวจ 4-5 ครั้งในวันนั้น) หรือตรวจวันละครั้งก่อนอาหารหรือก่อนนอนแต่ละวันเปลี่ยนเวลาตรวจให้ต่างกันไป  

          สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่  2  ถ้ารักษาโดยการควบคุมอาหารอย่างเดียวหรือร่วมกับยาเบาหวานชนิด กิน  ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสัปดาห์ละ 1-2 วัน วันละ 2 ครั้งก่อนอาหารเช้า 1 ครั้ง อีก 1 ครั้งคือหลัง อาหาร 2 ชั่วโมงหรือก่อนนอน ถ้าใช้ยาฉีดอินซูลินตรวจ สัปดาห์ 2 วัน วันละ 4 ครั้ง  หรือตรวจวันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหารหรือก่อนนอน โดยแต่ละวันเปลี่ยนเวลาตรวจให้ต่างกันไป

          ผู้ที่เป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดวันละ 5 ครั้ง คือ ก่อนอาหารเช้า หลังอาหาร 2 ชั่วโมง (เช้า - กลางวัน - เย็น) และก่อนนอน การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดควรฝึกให้ผู้ป่วยตรวจเองที่บ้านหรือไปตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยใช้เครื่องตรวจแบบพกพา (เจาะปลายนิ้ว)

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานทุกชนิดควรตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมหรือเฮโมโกลมินเอ 1 ซี (HbA 1C) ซึ่งเป็นวิธีตรวจหาระดับน้ำตาลที่เกาะกับเม็ดเลือดแดง สามารถบอกค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมาควรตรวจทุก 3 เดือน (ในรายที่ควบคุมน้ำตาลได้ดี)

4.  ควรส่งผู้ป่วยไปรับการตรวจกรองภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ  ดังนี้
     -  ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง ได้แก่ ความดันโลหิตสูงไขมันในเลือดสูงหรือผิดปกติ ภาวะมีสารไข่ขาวในปัสสาวะ (albuminuria) ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดในครอบครัว
     -  ตรวจคลื่นหัวใจ หรือ exercise stress test ปีละครั้ง
     -  ตรวจระดับครีอะตินีนในเลือด ปีละครั้ง
     -  ตรวจตาโดยจักษุแพทย์ปีละครั้ง  ควรตรวจถี่ขึ้นสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ตั้งครรภ์
     -  ตรวจความผิดปกติของเท้า (เช่น อาการชาลักษณะการเต้นของชีพจรที่เท้า) ปีละครั้ง ในปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเส้นใยเดี่ยว (monofilament) ตรวจหาความเสื่อมของประสาทส่วนปลายก่อนที่ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกชาปลายมือปลายเท้าได้

          ทั้งนี้ ถ้าพบความผิดปกติจะได้หาทางป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือชะลอความรุนแรงลง เช่น ให้แอสไพริน กินวันละ 75-162  มก. ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มเสี่ยง (อายุมากกว่า 50 ปีในผู้ชาย หรือ 60 ปีในผู้หญิงและมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง และถ้ามีความดันสูงควรให้ยาควบคุมความดันให้ได้ก่อน มิเช่นนั้น อาจทำให้มีเลือดออกในสมองได้) ให้ยากลุ่มต้านเอช หรือกลุ่ม angiotensin receptor blockers (ARE) เพื่อป้องกันภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ที่ตรวจพบสารไข่ขาวในปัสสาวะ เป็นต้น ในรายที่เคยมีโรคหัวใจและหลอดเลือดแทรกซ้อนมาก่อน ควรให้ยากลุ่มต้านเอชแอสไพรินและสแตติน กินป้องกันไม่ให้กำเริบซ้ำ

5.  ถ้าพบป่วยมีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเกิดจากภาวะแทรกซ้อน 
           
เช่น เจ็บแน่นหน้าอก (โรคหัวใจขาดเลือด) แขนขาชา หรืออ่อนแรง (หลอดเลือดสมองตีบตัน) สายตามืดมัว (ภาวะแทรกซ้อนทางตา)เท้าบวม (ไตวาย) มีแผลที่เท้าและผิวหนัง บริเวณนั้นเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำลุกลามเร็ว (แผลติดเชื้อรุนแรง) ปลายนิ้วเท้ามีสีดำคล้ำและ เย็นลงอย่าง
รวดเร็ว (ภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ขา) มีไข้สูง  หนาวสั่น (โลหิตเป็นพิษ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน) เป็นลมหมดสติ (ภาวะหมดสติจากเบาหวาน) เป็นต้น ควรส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในรายที่มีอาการรุนแรง (เช่น อัมพาตเฉียบพลันกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน) จะต้องส่งโรงพยาบาลด่วนและให้การช่วยเหลือขั้นต้น เช่น ฉีดกลูโคสในรายที่ตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดต่ำให้น้ำเกลือนอร์มัลในรายที่มีภาวะคีโตแอซิโดซิสหรือน้ำตาลในเลือดสูงรุนแรง         

6.  ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวการณ์ตั้งครรภ์ 
          
โรคติดเชื้อรุนแรงหรือบาดเจ็บรุนแรง อาจมีระดับน้ำตาลสูง  ควรทำการวัดน้ำตาลในเลือดและส่งโรงพยาบาลมักจะต้องใช้ยาฉีดอินซูลินแทนยากินในรายที่เป็นมากอาจต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล

          ผู้หญิงที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์โรคจะกำเริบมากขึ้นอาจทำให้มารดาและทารกเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทารกพิการหรือตายมากขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับการรักษาจากสูติแพทย์ร่วมกับอายุรแพทย์ใกล้ชิด และควรควบคุมน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย   ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FPG) < 95 มก./ดล. หรือ
  • ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 1 ชั่วโมง < 140 มก./ดล. หรือ
  • ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง < 120 มก./ดล.

7.  ผู้ป่วยที่เป็นแผลอักเสบเป็นฝีหรือพุพอง
          
ควรให้กินยาปฏิชีวนะ เช่น ไดคล็อกซาซิล โคอะม็อกซิคลาฟ หรือไซโพรฟล็อกซาซิน หากมีอาการอักเสบรุนแรง ควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล

8.  ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้ว
         เช่น  ไข้หวัด  ท้องเดิน และมีอาการอาเจียน หรือเบื่ออาหาร อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ  ควรตรวจน้ำตาลในเลือดวันละ 4 ครั้ง แนะนำให้กินข้าวต้ม โจ๊ก น้ำผลไม้ นม ถั่วเหลืองนมพร่องมันเนย น้ำซุป ถ้ากินไม่ได้เลยควรให้ดื่มน้ำหวานหรือนำอัดลมเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าพบว่ามีระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำเกินไปควรส่งไปรักษาที่โรงพยาบาล

[Total: 0 Average: 0]