การรักษา โรคเกาต์

1.ถ้ามีอาการชัดเจน ให้ยาลดข้ออักเสบ เช่น คอลชิซีน (colchicine) ขนาด 0.5 มก.ครั้งแรกให้ 1-2 เม็ด แล้วให้ซ้ำอีกครั้งละ 1เม็ดทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 8 ชั่วโมง แล้วให้เป็น1 เม็ดทุก 2 ชั่วโมงจนกว่าจะหายปวด แต่ถ้ามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน ซึ่งเกิดจากพิษของยาก็ให้หยุดยาเสีย

โดยทั่วไปจะให้ได้ประมาณ 8-20 เม็ด และ อาการปวดข้อจะหายใน 24-72 ชั่วโมง ถ้ามีอาการท้อง เดินให้กิน ยาแก้ท้องเดิน-โลเพอราไมด์  ถ้าไม่มีคลอชิซีนหรือในระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ เช่น อินโดเมทาชิน หรือไอบูโพรเฟน ครั้งแรกให้ 2 เม็ด แล้วให้ 1เม็ดทุก 6 ชั่วโมง จนกว่าจะหาย ไม่ควรให้ติดต่อกันนาน ๆ ควรให้ผู้ป่วยนอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ ใช้น้ำอุ่นจัด ๆ ประคบข้อที่ปวด และลดอาหารที่มีกรดยูริกสูง

เมื่ออาการทุเลาแล้ว ควรแนะนำไปโรงพยาบาล เพื่อยืนยันการวินิจฉัย และให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป

2.ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการไม่ชัดเจน หรือให้ยาลดข้ออักเสบแล้วดีขึ้น ควรส่งโรงพยาบาล มัก จะวินิจฉัย โดยการเจาะเลือดหาระดับของกรดยูริกใน เลือด (ค่าปกติเท่ากับ 3-7 มก./ดล.) ถ้าผลการตรวจไม่ ชัดเจน อาจต้องทำการเจาะดูดน้ำจากข้อที่อักเสบไปส่อง ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ถ้าเป็นเกาต์จะพบผลักของ ยูเรต นอกจากนี้อาจต้องตรวจ พิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็น

การรักษา ในการที่มีอาการข้ออักเสบ แพทย์จะให้ ยาลดข้ออักเสบ ดังในข้อ 1 ถ้าไม่ได้ผลอาจให้สตีรอยด์ในการที่เกาต์เรื้อรัง แพทย์จะให้คอลชิซีน วัน 1-2  เม็ด กินเป็นประจำเพื่อป้องกันมิให้ข้ออักเสบกำเริบ ที่ทำสำคัญ ผู้ป่วยจำเป็นต้องกินยาลดกรดยูริก* เป็นประจำ เพื่อควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ ปกติ ยาลดกรดยูริกมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  • ยาลดการสร้างกรดยูริก เช่น ยาเม็ดอัลโลพลู รินอล (alloprino) 200-300 มก./วัน ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงได้       (ถ้าเกินแล้วมีอาการคันตามตัว ควรหยุดยาทันที) และอาจทำให้ตับอักเสบได้
  • ยาขับกรดยูริก เช่น ยาเม็ดโพรเบเนชิด (pro benecid) 1-2 เม็ด/วัน ผู้ป่วยที่กินยานี้ ควรดื่มน้ำประมาณวันละ 3 ลิตร เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วไต เนื่องจากการตกตะกอนของกรดยูริก ยานี้ห้ามใช้ในผู้ที่มีนิ่งไต หรือภาวะไตวาย ผู้ที่กินยานี้ไม่ควรกินแอสไพริน เพราะจะทำให้ฤทธิ์ในการขับกรดยูริกลดน้อยลง

การให้ยาลดกรดยูริก จะเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่กับสภาพของผู้ป่วย ซึ่งจะให้ผู้ป่วยกินเป็น ประจำทุกวันไปจนตลอดชีวิต จะช่วยให้สารยูริกที่สะสมตามข้อและอวัยวะต่าง ๆ ละลายหายไปได้ รวมทั้งตุ่มโทฟัสจะยุบหายไปในที่สุด  ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดกรดยูริกก็ ไม่จำเป็นต้องงดอาหารประเภทเนื้อสัตว์และเครื่องใน สัตว์อย่างเคร่งครัดสามารถกินอาหารได้ทุกชนิดในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดของยาที่ใช้

ผู้ป่วยจำเป็นต้องไปรับการตรวจหาระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ ๆ แม้ว่าจะไม่มีอาการผิดปกติแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อติดตามดูว่าระดับกรดยูริกในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่

[Total: 0 Average: 0]