การรักษา วัยหมดประจำเดือน

                1. ถ้าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องให้ยารักษาแต่อย่างใด ควรให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยว่า อาการที่ เกิดขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามธรรมชาติ และจะค่อย ๆ หายไปได้เอง

                2. ถ้ามีอาการไม่สุขสบายมาก ให้ยารักษาตามอาการถ้าปวดศีรษะหรือปวดข้อ ให้ยาแก้ปวดถ้ามีความรู้สึกวิตกกังวล อารมณ์ซึมเศร้า  นอนไม่หลับให้ยาทางจิตประสาท  เป็นต้น

                3. ถ้ามีอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมาก (เช่น ออกร้อนซู่ซ่ามากเจ็บปวดเวลาร่วมเพศปัสสาวะเล็ดเป็นต้น)ไม่เคยตรวจสุขภาพมาก่อน หรือสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุอื่น (เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอดมาก สงสัยว่าอาจเกิดจากมะเร็งปากมดลูกหรือโพรงมดลูก) ควรส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

                แพทย์จะวินิจฉัยโรคของหญิงวัยหมดประจำเดือนโดยการตรวจเลือดพบว่าระดับฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ (follicle timulating hormone/FSH) และฮอร์โมน แอลเอช (luteinizing ormone/LH) สูง และระดับเอสโทรเจน (ที่มีชื่อว่า estradiol) ต่ำนอกจากนี้อาจ ต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด (อาจพบไขมันในเลือดผิดปกติ) ตรวจ กรอง มะเร็งเต้านมโดยการถ่ายภาพรังสีเต้านม (mammography) มะเร็งปากมดลูกโดยการตรวจแพ็ปสเมียร์ ตรวจ ชิ้นเนื้อเยื่อบุมดลูกในรายที่มีเลือดออกทางช่องคลอดมากผิดปกติ ตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นต้น

การรักษา ในรายที่มีอาการมาก แพทย์จะให้กิน ฮอร์โมนเอสโทรเจนจนทดแทน (hormone replacement therapy/HRT) เพื่อลดอาการไม่สบายต่าง ๆ เช่น อาการร้อนซูซ่า ปัสสาวะเล็ด ภาวะเยื่อบุช่องคลอดและผิวหนัง บางและแห้ง อาการทางจิตประสาท เป็นต้น โดยอาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  • ให้เอสโทรเจน ร่วมกับโพรเจสเทอโรน ทุกวันอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการเว้น เหมาะสำหรับในราย ที่หมดประจำเดือนนานแล้ว หรือไม่อยากมีประจำเดือน อีกนิยมใช้ยาเม็ดที่มีฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดในเม็ดเดียวกัน ในช่วง 2-3 เดือนแรก อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย และในที่สุดจะหยุดออกไปเอง
  • ให้เอสโทรเจน ในวันที่ 1 ถึง 25 และโพรเจสเทอโรน ในวันที่ 16 ถึง 25 ของรอบเดือน วิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกแบบประจำเดือนทุกเดือน เหมาะ สำหรับในรายที่ยังไม่ถึงวัยหมดประจำเดือน หรือเพิ่ง หมดประจำเดือนไม่เกิน 2 ปี 

                แพทย์จะเลือกใช้ขนาดยาที่ต่ำที่สุดที่ทำให้มีประ สิทธิผลในการรักษา นัดผู้ป่วยติดตามผลเป็นระยะ และ ปรับเปลี่ยนชนิดและขนาดของยาเพื่อไม่ให้เกิดผลข้างเคียง ระยะเวลาที่ให้ยาฮอร์โมนทดแทนขึ้นกับข้อบ่งชี้ที่ให้และการตอบสนองต่อการรักษาโดยทั่วไปถ้าให้เพื่อ ลดอาการร้อนซู่ซ่า อาการทางจิตประสาท หรือปวดข้อ และกล้ามเนื้อ อาจให้นานประมาณ 1-2 ปีไม่เกิน 2 ปี

                ในกรณีที่ไม่ให้ฮอร์โมนทดแทน แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการที่พบ เช่นในรายที่มีช่องคลอดอักเสบ จากเยื่อบุช่องคลอดบางและแห้ง ให้ใช้ครีมเอสโทรเจน (เช่น Premarin vaginal cream) ทาช่องคลอดทุกคืน หรือทาทุกคืนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ แล้วเว้น 1 สัปดาห์ สลับไปเรื่อย ๆ ในรายที่มีอาการเจ็บปวดเวลาร่วมเพศ  ก่อนร่วมเพศให้ใช้เจลลีหล่อลื่น เช่น เจลลีเค-วาย (K-Y jelly) ใส่ในช่องคลอด ในรายที่มีอาการร้อนซู่ซ่า  แพทย์อาจในยาฟลูออกซีทีน (fluoxetine) กาบาเพนทิน (gabapentin) หรือโคลนิดีน (clonidine) เป็นต้น

                นอกจากนี้ให้การรักษาภาวะอื่น ๆ ตามที่ตรวจพบ เช่นไขมันในเลือดผิดปกติ กระดูกพรุน  ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะ น้ำหนักเกิน เป็นต้น

[Total: 0 Average: 0]