การป้องกันไซนัสอักเสบ

โรค | สาเหตุ | อาการ | การรักษา 

1. ผู้ที่มีอาการเป็นหวัด มีน้ำมูกหรือมีเสมหะในคอมีลักษณะข้นเหลืองหรือเขียว เป็นหวัดต่อเนื่องกันทุกวันนานผิดปกติ (เช่น นานเกิน  10 วัน) หรือเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์  อาจเป็นอาการแสดงของโรคไซนัสอักเสบก็ได้

2. ในรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ บ่อย ควรแยกออกจากโรคหวัดภูมิแพ้ (ซึ่งจะมีอาการจาม คันคอ คันจมูก น้ำมูกใส  เป็นสำคัญ) และมะเร็งในโพรงไซนัส (ซึ่งจะมีอาการปวดไซนัสอย่างต่อเนื่อง และมักมีเลือดกำเดาไหลร่วมด้วย) นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรังมักมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนั้น จึงควรส่งไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุ อาจช่วยให้ทุเลาได้

3. ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • ดื่มน้ำมาก ๆ สูดดมไอน้ำอุ่น และล้างจมูกด้วยน้ำเกลือนอร์มัลบ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ควันบุหรี่ และมลพิษทางอากาศ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์  เนื่องจากจะทำให้เยื่อบุจมูก และโพรงไซนัสบวม
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเครื่องบิน ในขณะที่เป็นไข้หวัด หวัดภูมิแพ้  หรือไซนัสอักเสบกำเริบ  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้กินยาแก้คัดจมูก ได้แก่ สูโดเอฟีดรีน ครั้งละ 1-2 เม็ด ก่อนเดินทาง และซ้ำทุก 6 ชั่วโมง ระหว่างเดินทาง (ระยะไกล) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะอุดกั้นของช่องระบายและรูเปิดไซนัส
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระว่ายน้ำนาน ๆ เนื่องจากคลอรีนในสระว่ายน้ำ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูกและโพรง ไซนัสได้
  • เมื่อเป็นไข้หวัด ควรดื่มน้ำมาก ๆ และสั่งน้ำมูกบ่อย ๆโดยสั่งออกทีละข้าง
  • ระวังอย่าให้เป็นไข้หวัด
  • กินยาตามที่แพทย์แนะนำและติดตามรักษากัลป์แพทย์อย่างต่อเนื่อง
  • ไม่ควรรักษากันเองตามแบบพื้นบ้าน เช่น ใช้สารกรดบางอย่างหยอดเข้าจมูก (ทำให้มีน้ำมูกไหลออกมามาก เพราะเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก) อาจทำให้เกิดการอักเสบ และจมูกพิการได้
[Total: 0 Average: 0]