ผื่นแพ้ยา (Drug Rash)

ผื่นแพ้ยา (Drug Rash) คือ ปฏิกิริยาที่ผิวหนังแสดงอาการแพ้ต่อยา

ยาเกือบทุกชนิดสามารถทำให้เกิดผื่นแพ้ได้ กลุ่มยาที่สร้างอาการแพ้บ่อยที่สุดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ (โดยเฉพาะยากลุ่มเพนิซิลลินและยาซัลฟา) NSAIDs และยาต้านการชัก

ส่วนมากอาการผื่นยาไม่น่าเป็นห่วง และจะดีขึ้นได้เองเมื่อคุณหยุดใช้ยา โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการหยุดใช้ยา

สำหรับอาการผื่นจากยาที่รุนแรง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ทันเวลา หลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน

สาเหตุ ผื่นแพ้ยา

ผื่นแพ้ยาเกิดได้จากหลายสาเหตุ

  • ยานั้นๆ เป็นสารก่อภูมิแพ้
  • การสะสมของยาที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อผิวหนัง
  • ยาทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น
  • ปฏิกิริยาของยาสองตัวขึ้นไป

บางครั้งผื่นจากยาอาจเกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุ

ปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผื่นจากยาเช่น อายุมากขึ้น หรือเพศ ปัจจัยเที่เพิ่มความเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่

  • การติดเชื้อไวรัส และการรับประทานยาปฏิชีวนะ
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เนื่องจากยา
  • โรคมะเร็ง

อาการ ผื่นแพ้ยา

ลักษณะผื่นยาส่วนใหญ่มักจะปรากฏในร่างกายทั้งด้านซ้ายและด้านขวาในลักษณะสมมาตร

ผื่นแพ้จากยาไม่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการอื่นๆ นอกจากอาการคัน หรือเจ็บเล็กน้อย

โดยปกติแล้วเราสามารถแยกผื่นทั่วไปกับผื่นแพ้ยาออกจากกันได้ เนื่องจากผื่นแพ้ยามักจะเกิดหลังจากการเริ่มใช้ยาใหม่ๆ โดยอาจเกิดภายหลังการใช้ยาไปแล้ว 2 สัปดาห์ก็ตาม ผื่นมักจะหายไปเมื่อคุณหยุดใช้ยา

ผื่นแพ้จำนวนมาก

เป็นลักษณะผื่นแพ้ยาที่พบบ่อยที่สุดคิดเป็นประมาณ 90 % ของผู้ป่วย มีรอยแผลเล็ก ๆ บนผิวหนังที่แดง โดยผื่นสามารถนูนหรือแบน และอาจจะผุพองเป็นหนองได้

ยาที่ทำให้เกิดผื่นแพ้จำนวนมากได้แก่

  • เพนิซิลลิน
  • ซัลฟา
  • เซฟาโลสปอริน
  • ยาต้านอาการชัก
  • อัลโลพูรินอล

ผื่นลมพิษ

อาการผื่นแพ้ยาแบบลมพิษเป็นผื่นจากยาที่พบบ่อยรองลงมากจากผื่นแพ้ยาแบบแรก มีลักษณะเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดงซีดอาจทำให้เกิดรอยที่ใหญ่ขึ้นได้ โดยผื่นลมพิษมักจะคันมาก

ยาที่เป็นสาเหตุของผื่นลมพิษได้แก่

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ยายับยั้ง ACE
  • ยาปฏิชีวนะโดยเฉพาะเพนิซิลลิน
  • ยาชาทั่วไป

ผิวไหม้

ยาบางชนิดสามารถทำให้ผิวของคุณไวต่อแสงอัลตราไวโอเลตเป็นพิเศษ ส่งผลให้เกิดผิวไหม้ได้ง่ายหากไม่ได้รับการป้องกันที่ถูกต้องเมื่อได้รับแสงแดด

 ยาที่ทำให้ผิวไวต่อแสง ได้แก่

  • ยาปฏิชีวนะบางชนิดรวมถึงเตตราไซคลีน
  • ยาซัลฟา
  • ยาต้านเชื้อรา
  • ยาแก้แพ้
  • Retinoids เช่น Isotretinoin
  • ยาสแตติน
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ยา NSAID บางตัว

ผื่นแพ้ทั่วร่างกาย

ผื่นแพ้ประเภทนี้ทำให้ผิวหนังเกือบทั้งหมดคันและแดง ผิวหนังจะตกสะเก็ดและแดง แสบร้อนเมื่อสัมผัส

1ยาที่สามารถทำให้เกิดผื่นแพ้ทั่วร่างกายได้แก่

  • ยาซัลฟา
  • ยาเพนิซิลลิน
  • ยาต้านอาการชัก
  • ยาคลอโรฟอร์ม
  • ยาอัลโลพูรินอล
  • ยาไอโซเนียซิด 

ภาวะสุขภาพที่สามารถทำให้เกิดผื่นแดงได้แก่

สตีเว่น จอห์นสัน ซินโดรม (SJS) และผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรงมาก(TEN)

SJS และ TEN มีอาการคล้างคลึงกันแต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อยดังนี้

  • SJS เกิดขึ้นน้อยกว่า 10% ของพื้นที่ร่างกาย
  • TEN เกิดมากกว่า 30% ของพื้นที่ร่างกาย

SJS และ TEN ทำให้มีรอยแผลขนาดใหญ่ และเจ็บปวด สามารถทำให้ผิวหนังชั้นนอกหลุดออกไป และกลายเป็นแผลเปิดที่สร้างความเจ็บปวดได้

ยาที่สามารถทำให้เกิดอาการนี้ได้แก่

  • ยาซัลฟา
  • ยาต้านอาการชัก
  • ยา NSAID บางตัว
  • ยาอัลโลพูรินอล
  • ยาเนวิราพีน

SJS และ TEN เป็นปฏิกิริยาร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยทันที

เนื้อร้ายจากยาต้านทานการแข็งตัวของเลือด

ยาต้านทานการแข็งตัวของเลือดบางชนิด เช่น Warfarin สามารถทำให้เกิดเนื้อร้ายที่เกิดจากการต้านการแข็งตัวของเลือด ทำให้ผิวหนังเป็นสีแดง และสร้างความเจ็บปวด

และนำไปสู่การตายของเนื้อเยื่อ เมื่อได้รับยาประเภทนี้มากเกินไป

เนื้อร้ายนี้ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่ต้องได้รับการรักษาโดยทันที

ปฏิกิริยาของยากับผื่นแพ้ยาชนิดรุนแรง (DRESS)

DRESS เป็นผื่นจากยาที่หายาก โดยเป็นอันตรายถึงชีวิต อาจใช้เวลา 2-6 สัปดาห์ กว่าอาการจะปรากฏหลังจากเริ่มใช้ยาใหม่ ผื่น DRESS มีลักษณะเป็นสีแดง เริ่มจากบริเวณใบหน้า และร่างกายส่วนบน ทั้งยังส่งผลต่ออวัยวะภายในอื่นๆ ที่รุนแรง

  • ไข้
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • ใบหน้าบวม
  • ปวดแสบปวดร้อน และคันตามผิวหนัง
  • ไข้หวัดใหญ่
  • อวัยวะภายในเสียหาย

ยาที่เป็นสาเหตุของผื่น DRESS ได้แก่

  • ยากันชัก
  • ยาอัลโลพูรินอล
  • ยาอะบาคาเวียร์
  • ยามิโนไซโคลไลน์
  • ยาซัลฟาซาลาซีน
  • ยายับยั้งโปรตอนปั๊ม

การรักษา ผื่นแพ้ยา

ส่วนมากผื่นแพ้ยาจะหายไปเอง เมื่อหยุดใช้ยาที่ทำให้เกิดผื่น

หากผื่นคันมากวิธีรักษาผื่นแพ้ยาคือ การใช้ยาต้านฮีสตามีนหรือสเตียรอยด์ด้วยการรับประทาน สามารถช่วยจัดการอาการคันได้จนกว่าผื่นจะหายไป

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดใช้ยาทุกครั้ง นี่เป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องรับประทานยาหลายตัวในการรักษา เนื่องจากแพทย์จะต้องเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสม

หากคุณมีอาการลมพิษรุนแรง Erythroderma  SJS / TEN เนื้อร้ายจากการแพ้ยา และอาการผื่นรุนแรง DRESS จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ฉุกเฉิน อาจเป็นการได้รับยาสเตียรอยด์ และการให้ของเหลวอื่นๆทางหลอดเลือดดำ 

[Total: 0 Average: 0]