แมลงกัดต่อย (Insect Bites and Stings)

แมลงกัดต่อย (Insection Bites and Stings) คือเหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเนื่องจากในประเทศไทยเราเป็นประเทศเขตร้อนทำให้มีสัตว์จำพวกแมลงค่อนข้างชุกชุมและหลากหลาย ปฎิกริยาจากการโดนแมลงกัดจะแตกต่างกันออกไป หากไม่มีอาการแพ้มากเมื่อโดนแมลงกัดอาจเป็นแค่ตุ่มแดง ทายาก็จะหายได้

คนส่วนใหญ่มักจะตอบสนองต่อการรักษาจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ดีทั้งแบบรักษาเองที่บ้านหรือรักษาฉุกเฉินที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาแพ้ขั้นรุนแรง หรือผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้นจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการนอนโรงพยาบาลเพื่อการรักษาและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด และอาจรุนแรงถึงขั้นถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม

สำหรับคนที่เป็นโรคมาจากการปล่อยเชื้อของแมลงสัตว์กัดต่อย ต้องเฝ้าติดตามว่ามาจากเชื้อชนิดไหน หากวินิจฉัยได้รวดเร็วมากเท่าไรการรักษาและการดูแลก็รวดเร็วมากขึ้นเท่านั้น การเฝ้าติดตามหรือการพยากรณ์โรคอาจมีความแตกต่างกันมากตั้งแต่ดีจนแย่มากได้หากอวัยวะนั้นๆมีความเสียหายแบบถาวร

สาเหตุของแมลงกัดต่อย

ตามปกติแล้วนั้นแมลงทุกชนิดจะไม่โจมตีมนุษย์ก่อนยกเว้นถูกยั่วยุหรือกระตุ้น การกัดและต่อยคือการป้องกันตัวชนิดหนึ่ง แมลงกัดต่อยเพื่อปกป้องรังหรือที่อยู่ของมันเมื่อมีอะไรเข้ามาสัมผัสหรือเข้ามารบกวน (ดังนั้นจึงไม่ควรไปเข้าใกล้หรือรบกวนรังผึ้งหรือรังต่างๆเด็ดขาด)

การกัดหรือต่อยแมลงจะปล่อยพิษที่ประกอบไปด้วยโปรตีนและสารบางตัวที่ไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ในตัวเหยื่อขึ้นมา การกัดต่อยเป็นสาเหตุทำให้เกิดรอยแดงและบวมตรงบริเวณที่ถูกกัดต่อย

ผึ้ง, ตัวต่อ, แตน, ต่อเสื้อคลุมเหลือง (yellow jackets) และมดคันไฟ คือแมลงในตระกูลอันดับ Hymenoptera การถูกแมลงตระกูล Hymenoptera นี้กัดหรือต่อยอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงต่อคนที่แพ้พวกมันได้ พบว่ามีการเสียชีวิตจากการถูกผึ้งต่อยมากกว่าถูกงูกัดเสียชีวิตถึง 3ใน4ครั้ง  การถูกผึ้ง ตัวต่อและมดคันไฟกัดต่อยให้ผลเกิดการบาดเจ็บต่อร่างกายแตกต่างกัน

  • เมื่อผึ้งต่อย มันจะปล่อยตัวฉีดพิษ(เหล็กไน)ของมันทิ้งไว้ และตัวผึ้งก็จะตายไปตามกระบวนกา
  • ตัวต่อจะสามารถต่อยทำความเสียหายได้หลายครั้งเพราะตัวต่อจะไม่สลัดตัวฉีดพิษทิ้งหลังจากมันต่อย
  • มดคันไฟจะฉีดพิษของพวกมันโดยใช้จงอยปากของพวกมัน (ส่วนขากรรไกรล่าง) และหมุนตัวเอง พวกมันสามารถปล่อยพิษซ้ำได้หลายครั้ง
  • หนอนผีเสื้อกลางคืน หรือ Megalopyge opercularis ตัวของมันจะมี “ขน” ปุกปุยหรือเงี่ยง (เดือย) ที่แตกออกได้เมื่อไปสัมผัสโดน และสารพิษจะถูกฉีดเข้าไปสู่ร่างกาย
  • ในทางกลับกัน การโดนยุงกัดไม่ได้เกิดจากการป้องกันตัว เพราะยุงมากัดเราเพราะต้องการเลือดเราเป็นอาหาร

โดยปกติแล้วนั้นการโดนยุงกัดไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการเจ็บป่วยแบบมีนัยสำคัญหรือก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้เว้นเสียแต่ว่ายุงนั้นๆเป็นพาหะของโรคหรือนำเอาเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาด้วย ยกตัวอย่างเช่น:

    • โรคมาลาเรีย ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโรคที่อยู่ในวงจรชีวิตของยุงสายพันธุ์หนึ่ง
    • ไข้เวสต์ไนล์คือโรคอีกชนิดหนึ่งที่แพร่เชื้อโดยยุง ยุงหลายสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อให้เกิดโรคไวรัสอื่นๆเช่น
    • ไข้สมองอักเสบ
    • โรคไข้ซิกา Zika virus (ที่สงสัยว่าอาจเป็นเหตุให้เกิดภาวะศีรษะเล็ก)
    • ไข้เลือดออก
    • ไข้เหลืองในคนและสัตว์

ยังมีแมงหรือแมลงชนิดอื่นๆที่มากัดเพื่อกินเลือดเป็นอาหารและส่งผลให้เกิดโรคที่อาจมาจากการแพร่เชื้อโรค เช่น:

  • โรคไข้กลับซ้ำชนิดระบาดเกิดจากโดนแมลงปรสิตเล็กๆ เหา หมัด โลนไรกัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสไปโรคีท.
  • โรคลิชมาเนีย เป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัวลิชมาเนีย ที่มีตัวริ้นฝอยทรายที่มีเชื้อกัด
  • โรคไข้เหงาหลับ (Sleeping sickness) ในคนและในโรคของวัวพบได้แพร่หลายในแอฟริกา และเป็นที่รู้กันดีว่ามีสาเหตุมาจากเชื้อโปรโตซัวทริพาโนโซม (protozoan trypanosomes) ที่ส่งผ่านเชื้อจากการโดนแมลงวันซีทซี ฟาย (tsetse flies) กัด
  • โรคทูลารีเมียหรือโรคไข้กระต่าย เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียที่แพร่เชื้อจากการถูกเหลือบกัด, โรคกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจากหมัด, โรคไข้รากสาดใหญ่ชนิดระบาดจากเหา
  • เห็บสามารถแพร่เชื้อทำให้เกิดโรคลายม์และอาการเจ็บป่วยอื่นๆเมื่อโดนพวกมันกัด เห็บจัดเป็นแมลงชนิดกินเลือดเป็นอาหารด้วยฃ
  • สัตว์กลุ่มแมงอื่นๆ เช่น ไรอ่อน(ชิกเกอร์), ตัวเรือด(เบดบั๊ก)และ ตัวไร เป็นสาเหตุอาการเฉพาะที่ที่สามารถหายได้เองและมักมีอาการบวมฃ
  • การโดนแมงมุมกัดชนิดร้ายแรง ซึ่งไม่ใช่โดนกัดจากแมลง อาจโดนแมงมุมแม่ม่ายดำหรือแมงมุมสันโดษสีน้ำตาลกัด เมื่อโดนแมงมุมกัดก็จะเกิดกลไกการป้องกันขึ้

แมลงและแมงชนิดอื่นๆก็สามารถแพร่เชื้อโรคได้โดยวิธีง่ายๆเช่น เชื้อซาลโมเนลลาติดได้โดยการสัมผัส ยกตัวอย่างเช่น ในสถานที่ที่ขาดสุขอนามัยเต็มไปด้วยแมลงวันก็สามารถแพร่เชื้อสู่คนให้เกิดการติดเชื้อในลำไส้ได้ (เช่นโรคไทฟอนด์, โรคบิดแบบมตัวและไม่มีตัว) โดยผ่านการปนเปื้อนในอาหารของคนและแพร่ต่อจากอาหารกลับไปสู่สิ่งปนเปื้อนเดิมเช่นอุจจาระ

อาการของแมลงสัตว์กัดต่อย

การตอบสนองจากการโดนแมลงหรือแมงกัด ต่อยมีมากมายหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย ผลที่พบเห็นได้ทั่วไปส่วนใหญ่คือ:

  • เจ็บปวด
  • บวม
  • มีรอยแดง
  • คัน
  • มีแผลพุพอง

ผิวหนังอาจเกิดรอยแผลและเริ่มมีการติดเชื้อ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การติดเขื้อทั่วๆไปอาจกลายเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงและอาจเป็นสาเหตุของโรคที่เรารู้จักกันดีว่าโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ

ผู้ป่วยบางคนอาจเคยประสบกับปฏิกิริยารุนแรงอย่างทันทีหลังโดนแมลงกัดต่อยหากผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อการกัดต่อยจากแมลงนั้นๆ ที่รู้จักในภาวะแพ้ชนิดรุนแรง อาการรุนแรงต่างๆเช่น:

  • ลมพิษ
  • หายใจมีเสียงวี๊ด
  • หายใจสั้น ถี่
  • หมดสติ
  • เสียชีวิตภายใน 30 นาที

ในช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา นักวิจัยค้นพบว่าการโดนเห็บกัด (จากเห็บ lone star) สามารถก่อให้เกิดการตอบสนองต่อการแพ้เนื้อแดง (เช่นเนื้อวัว เนื้อหมูและเนื้อกวาง)และนม

การรักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

การรักษาแมลงสัตว์กัดต่อยขั้นรุนแรงควรทำการรักษาที่โรงพยาบาล การรักษาอาจเริ่มจากใช้ยาอิพิเนฟรินหรืออะดรีนาลีน (โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง), ยาแก้แพ้ (เบนาดริล), และสเตียรอยด์ (เป็นยาในตระกูลคอร์ติซอล) ด้วยวิธีการฉีดเข้าสู่ร่างกาย และรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผล ในผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรง อาจต้องให้ยาด้วยการฉีดยา ให้ออกซิเจนและใช้เครื่องติดตามหัวใจไปจนกว่าอาการจะเริ่มดีขึ้น

สำหรับแมลงสัตว์กัดต่อยที่นำเอาเชื้อโรคมาด้วย ขั้นต่อมาแพทย์จะต้องวินิจฉัยหาเชื้อเพื่อทำการรักษาต่อไป การรักษาเชื้อโรคจะขึ้นอยู่กับเชื้อโรคแต่ละชนิด แพทย์ควรวินิจฉัยโรคดังกล่าวเพื่อการวางแผนการรักษาต่อไปในโรคที่อาจเกิดขึ้น

[Total: 0 Average: 0]