น้ำร้อนลวก (Scalding)

น้ำร้อนลวก (Scadling) คือ เกิดจากการไหม้ ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนเช่น ไฟเตารีด หรือเตา แผลไหม้ที่เกิดจากสิ่งที่เปียกเช่นไอน้ำหรือน้ำร้อนเรียกว่าน้ำร้อนลวก

การถูกน้ำร้อนลวกผิวนั้นทำให้เกิดความเจ็บปวดและความเสียหายต่อผิวหนังจากความร้อน การเผาไหม้ประเภทนี้อาจเป็นอันตรายได้เนื่องจากสามารถทำลายเนื้อเยื่อและเซลล์ที่โดนน้ำร้อนลวก ร่างกายของคุณอาจถึงขั้นช็อกหากโดนความร้อนในปริมาณที่สูงและมาก ในกรณีที่ร้ายแรงกว่านั้นแผลไหม้เหล่านี้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก คือแผลไหม้ที่หายช้า แม้ว่ากรณีแผลไฟไหม้จำนวนมากสามารถรักษาที่บ้านได้ แต่บางกรณีที่รุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หากเกิดแผลไฟลวกที่มีขนาดใหญ่กว่าสามนิ้วหรือครอบคลุมมากกว่าหนึ่งส่วนของร่างกายให้รีบไปพบแพทย์ทันที

สาเหตุ น้ำร้อนลวก

น้ำร้อนลวกอาจเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่ได้ระวัง แต่เป็นกรณีที่สามารถป้องกันได้ โดยหลายครั้งที่น้ำร้อนลวกนั้นมักเกิดจากอุบัติเหตุเล็กน้อย เช่น:

  • ทำกาแฟ หรือซุปหกใส่ตัวเอง หรือคนอื่น
  • ไอน้ำจากเตาอบ หรือไมโครเวฟ เครื่องเตารีดไอน้ำที่สัมผัสกับผิวหนังเมื่ออยู่ใกล้เกินไป
  • น้ำอุ่นที่ตั้งความร้อนไว้สูงเกินไป

แผลน้ำร้อนลวก หรือบางครั้งอาจเป็นแผลไฟลวกมักพบได้บ่อยในบุคคลที่ประกอบอาชีพในร้านอาหาร เนื่องจากในห้องครัว ร้านอาหารนั้นจำเป็นจะต้องรักษาอุณหภูมิของน้ำให้สูงเพื่อป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียและทำความสะอาดเครื่องครัวอย่างถูกต้อง

อาการ น้ำร้อนลวก

แผลน้ำร้อนลวกหรือแผลไหม้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผล หากเป็นการลวกแบบไม่รุนแรงมากนัก อาจเพียงแค่ส่งผลให้ผิวมีอาการ แสบ ลอก บวม แดง หรือหากรุนแรงกว่านั้นอาจเกิดแผลพุพอง ติดเชื้อหรือส่งผลเสียหายต่อเซลล์ผิวหนังชั้นแท้ทำให้มีอาการปวด แผลเป็น ผิวหนังบิดเบี้ยวไม่สวยงาม 

การรักษา น้ำร้อนลวก 

วิธีรักษาอาการน้ำร้อนลวกนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ บาดแผลและอาการ น้ำร้อนลวกบางครั้งถ้าไม่รุนแรงมากนั้นสามารถรักษาได้ที่บ้าน เคล็ดลับการปฐมพยาบาลเหล่านี้สามารถช่วยคุณรักษาอาการไหม้หรือบาดเจ็บจากน้ำร้อนลวกได้:

  • เปิดน้ำเย็นไหลผ่านบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก เพื่อทำให้บริเวณนั้นเย็นลงอย่างน้อย 20 นาที ห้ามเอาน้ำแข็งประคบแผลโดยตรง  ในระหว่างขั้นตอนนี้ควรรักษาอุณหภูมิของร่างกายที่เหมาะสม
  • หากแผลไหม้ครอบคลุมส่วนใหญ่ของร่างกายอย่าแช่ตัวในน้ำเย็น เนื่องจากอาจทำให้สูญเสียความร้อนในร่างกายและทำให้อาการบาดเจ็บรุนแรงขึ้น
  • ถอดเครื่องประดับหรือเสื้อผ้าบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก เพื่อลดอุณหภูมิบนผิวหนังและให้มีที่ว่างสำหรับอาการบวม แต่เมื่อโดนน้ำร้อนลวกหรือไฟ้ไหม้ผิวแล้วมีเศษวัสดุละลายติดอยู่บริเวณผิวหนังไม่ควรเอาออกทันทีเนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผิวหนังเพิ่มขึ้น
  • ปิดบาดแผลด้วยผ้าพันแผลชื้น หรือผ้าสะอาด 
  • ให้ยกแผลบริเวณที่ไหม้ให้สูงกว่าระดับหัวใจ
  • ไม่ควรแกะหรือเกาแผลพุพอง หรือหนอง
  • หายาทาแก้น้ำร้อนลวกที่แพทย์สั่งจ่ายเพื่อให้แผลแห้งไว

แผลไฟลวกต้องใช้เวลาในการรักษา แม้ว่ากรณีที่ไม่รุนแรงอาจใช้เวลาหลายวัน แต่กรณีที่รุนแรงอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการรักษาแผลไฟไหม้ให้หายสนิท

หากผู้ป่วยมีอาการช็อกหรือสัญญาณของการติดเชื้อหรือหากแผลไหม้ของคุณมีขนาดใหญ่กว่าสามนิ้วให้รีบไปพบแพทย์ทันที

[Total: 0 Average: 0]