เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

เซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) คือ โรคผิวหนังอักเสบ seborrheic ที่ส่งผลให้เกิดผื่นแดงตามผิวหนัง ทำให้ผิวลอกเป็นแผ่นและตกสะเก็ดที่ดูเหมือนรังแค มักจะเกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณหนังศีรษะ และบริเวณอื่นที่ผิวมีความมัน เช่น ใบหน้า หน้าอก และแผ่นหลัง อาจจะเกิดขึ้นได้ในเด็กทารก ซึ่งจะเป็นช่วงแรกเกิดสองอาทิตย์แรก และจะค่อย ๆ หายไปเอง

สาเหตุ เซ็บเดิร์ม

ปัจจุบันสาเหตุของการเกิดเซ็บเดิร์มยังไม่เป็นที่แน่ชัด แพทย์ตั้งข้อสันนิษฐานว่า อาจจะมีสองปัจจัยหลักที่สามารถทำให้อาการเกิดกำเริบได้ ปัจจัยแรก คือ การผลิตน้ำมันมากเกินไป ทำให้เกิดน้ำมันส่วนเกินบนผิวหนัง และส่งผลให้ผิวหนังแดงและระคายเคือง ปัจจัยที่สองคือเชื้อรา Malassezia ซึ่งเป็นประเภทของเชื้อราที่พบได้ตามธรรมชาติในน้ำมันของผิวหนัง หากเชื้อรามีการเจริญเติบโตผิดปกติจะส่งผลทำให้ผิวหลั่งน้ำมันมากเกินไปและทำให้เกิดเซ็บเดิร์มได้

นอกจากนี้เซ็บเดิร์มอาจจะเกิดในทารกได้เช่นกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะกระตุ้นต่อมน้ำมันของทารกซึ่งนำไปสู่การผลิตน้ำมันมากเกินไปซึ่งอาจทำให้ผิวระคายเคือง

เซ็บเดิร์มเป็นปัญหาผิวหนังระยะยาว ที่จะต้องมีการรักษาอย่างต่อเนื่อง การดูแลผิวที่เหมาะสมและการควบคุมปัจจัยกระตุ้นสามารถ ช่วยคุณจัดการกับเซ็บเดิร์มได้

อาการโรคเซ็บเดิร์มจะกำเริบโดยปัจจัยเร้าต่าง ๆ เช่น

  • ความเครียด
  • อากาศเย็น และแห้ง
  • การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ทั้งนี้การดื่มแอลกอฮอล์อาจจะส่งผลที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบุคคล และอาการที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

อาการ โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis)

เซ็บเดิร์มมีลักษณะและอาการดังนี้:

  • ผมร่วงบริเวณหนังศีรษะที่เป็นเซ็บเดิร์ม
  • ผิวหนังในบริเวณเป็นเซ็บเดิร์มจะมีความมัน
  • มีอาการแดง คัน
  • ผิวลอก ตกสะเก็ด บางครั้งสะเก็ดที่หลุดลอกอาจจะเป็นสีเหลือง หรือขาว ที่เรียกว่ารังแค อาจจะเป็นได้บริเวณผมหรือคิ้ว 

ใครที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเซ็บเดิร์ม

ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดนักว่าใครที่มีความเสี่ยงของการเกิดเซ็บเดิร์ม แต่บางครั้งหากบุคคลในครอบครัวเป็นเซ็บเดิร์มคุณอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น: 

รักษาโรคเซ็บเดิร์ม

หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นจากการรักษาด้วยตัวเอง สามารถไปพบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจจะทำการรักษาโดยใช้ตัวยาดังนี้:

  • แชมพูที่มีส่วนผสมของ hydrocortisone, fluocinolone หรือ desonide ตัวยาเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากในการรักษาโรคเซ็บเดิร์ม แต่หากใช้เป็นเวลานานอาจจะมีผลข้างเคียง
  • ยาต้านเชื้อราที่เรียกว่า binbinafine ยานี้มักจะไม่แนะนำเนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เกิดอาการแพ้และปัญหาตับ
  • Metronidazole เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งที่สามารถบรรเทาอากาและยับยั้งแบคทีเรีย อยุ่ในรูปแบบครีมและเจล สามารถใช้กับผิวได้วันละสองครั้งจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • แพทย์อาจจะให้ใช้ตัวยา psoralen ร่วมกันกับการรักษาด้วยแสง ตัวยา psoralen อาจจะมาในรูปแบบยาทาหรือยาเม็ดรับประทาน 

วิธีรักษาเซ็บเดิร์มเองที่บ้าน

โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถใช้แชมพูขจัดรังแค ในการรักษาเซ็บเดิร์มหนังศีรษะ 

การรักษาและบรรเทาอาการเองที่บ้าน ที่อาจช่วยให้รักษาเซ็บเดิร์ม มีดังนี้:

  • ครีมลดเชื้อรา
  • ล้างแชมพู หรือสบู่ให้เกลี้ยง
  • โกนหนวดเครา
  • ใช้สบู่ และผงซักฟอกที่อ่อนโยน
[Total: 0 Average: 0]