โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder: SAD)

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder :SAD) เป็นโรคซึมเศร้าประเภทหนึ่งที่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมักเริ่มต้นและสิ้นสุดในเวลาเดียวกันของทุกปี โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมักเกิดอาการเมื่อเริ่มต้น และมีอาการต่อเนื่องไปจนถึงฤดูหนาว ในช่วงนี้จะรู้สึกไม่มีความกระตือรือร้น และมักจะรู้สึกไม่สบายตัวได้ บ่อยครั้งที่โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลจะเกิดอาการในช่วงฤดูใบไม้ผลิ หรือต้นฤดูร้อน

การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจรวมถึงการบำบัดด้วยแสง (การฉายแสง) การรักษาด้วยยา และจิตบำบัด

อย่าชะล่าใจว่าความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นทุกปีนั้นเป็นเพียงอาการของ “ภาวะหดหู่ในช่วงฤดูหนาว” หรือความหดหู่ตามฤดูกาลที่สามารถรักษาให้หายได้เอง แต่ต้องรักษาตามขั้นตอนทางการแพทย์เพื่อรักษาอารมณ์ และจิตใจของผู้ป่วยให้คงที่ตลอดทั้งปี

ปัจจัยเสี่ยง โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และ โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีอายุน้อยมากกว่าในผู้สูงอายุ

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ได้แก่ :

  • ประวัติครอบครัว. ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจมีญาติทางสายเลือดป่วยเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือภาวะซึมเศร้าในรูปแบบอื่นได้
  • ภาวะซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว อาการของภาวะซึมเศร้าอาจแย่ลงตามฤดูกาลมากขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย
  • ถิ่นที่อยู่อาศัยห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่ไกลออกไปทางเหนือ หรือใต้ของเส้นศูนย์สูตร  อาจเนื่องมาจากปริมาณแสงแดดที่ลดลงในช่วงฤดูหนาว และช่วงกลางวันที่ยาวนานกว่าในฤดูร้อน

สาเหตุ โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

ยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจนของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ แต่พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่สัมพันธ์กับอาการของโรค ได้แก่ :

นาฬิกาชีวิต (ช่วงจังหวะของชีวิต) ปริมาณแสงแดดที่ลดลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวอาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ ปริมาณที่ลดลงในฤดูหนาวจะรบกวนนาฬิกาชีวิต และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้าได้

ระดับเซโรโทนิน เซโรโทนินคือสารเคมีชนิดหนึ่งในสมอง (สารสื่อประสาท) หากมีปริมาณลดลงก็จะส่งผลต่ออารมณ์ได้ เมื่อแสงแดดลดลงอาจทำให้เซโรโทนินลดลงตามไปด้วยจึงนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

ระดับเมลาโทนิน การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลสามารถทำให้สมดุลของระดับเมลาโทนินในร่างกายเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อรูปแบบการนอนหลับ และอารมณ์

อาการ โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

กรณีส่วนมากอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลจะปรากฏในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง หรือต้นฤดูหนาวและหายไปในช่วงที่มีแสงแดดมากขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน แต่ก็มีบางกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการในรูปแบบตรงข้ามคือปรากฎอาการเมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิหรือฤดูร้อน แต่ไม่ว่าจะมีอาการในช่วงใดอาการมักเริ่มจากไม่รุนแรง แล้วรุนแรงขึ้นเรื่อยตามช่วงฤดูกาลที่ดำเนินไป

สัญญาณและอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจรวมถึง:

  • รู้สึกหดหู่เกือบทุกวัน ในทุก ๆ วัน
  • หมดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ
  • ขาดความกระตือรือร้น
  • มีปัญหาในการนอนหลับ
  • ระดับอยากอาหารลดลง หรือน้ำหนักตัวของผู้ป่วยลดลง
  • รู้สึกเฉื่อยชา หรือกระวนกระวายใจ
  • มีปัญหาในการใช้สมาธิ
  • รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า หรือตำหนิตนเอง
  • มีความคิดเรื่องความตายหรือการฆ่าตัวตายบ่อย ๆ

การรักษา โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล

การรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

การใช้ยารักษาอาการ แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า อย่างฟลูออกซิทีน หรือบูโพรพิออนเพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า สามารถรับประทานยาก่อนถึงช่วงฤดูกาลที่เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เป็นการป้องกันอาการซึมเศร้า ผู้ป่วยต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงที่สุด

การรักษาด้วยการทำจิตบำบัด ผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจรักษาด้วยการบำบัดพฤติกรรมและความคิด ซึ่งเป็นการปรับรูปแบบความคิดและพฤติกรรมให้สามารถรับมือกับภาวะซึมเศร้าไดอย่างเหมาะสม โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความคิดและพฤติกรรมที่ผิดปกติไป และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้วิธีการรับมือกับภาวะซึมเศร้าด้วยตนเอง

การรักษาด้วยการบำบัดด้วยแสง เป็นการรักษาด้วยการฉายแสงที่จำลองจากแสงอาทิตย์วันละประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากตื่นนอน เป็นการปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุลมากขึ้น ผู้ป่วยบางรายสามารถฉายแสงด้วยตนเองได้ที่บ้าน แต่วิธีนี้อาจมีผลข้างเคียงได้ ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อน และตรวจสอบคำแนะนำของแพทย์ให้ดี เพื่อให้สามารถใช้เครื่องฉายแสงได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนั้น การปรับกิจวัตรประจำวันในการใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างความผ่อนคลาย ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเนื้อสัตว์ไร้มัน และผักผลไม้ การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การนั่งสมาธิ หรือฟังเพลง ก็สามารถบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้เช่นกัน

[Total: 0 Average: 0]