ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) คือ อาการร้ายแรงที่เกิดจากติดเชื้อในกระแสเลือด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ โลหิตเป็นพิษ
ติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย เช่น ปอด หรือผิวหนัง จากนั้นแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ซึ่งทำให้เกิดอันตรายเนื่องจากแบคทีเรียและพิษของมันสามารถกระจายไปได้ทั่วทั้งร่างกาย
ติดเชื้อในกระแสเลือดสามารถเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตได้ เมื่อเกิดภาวะดังกล่าวจำเป็นต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หากทิ้งไว้ไม่ไปพบแพทย์เชื้อโรคจะกลายเป็นภาวะพิษเหตุติดเชื้อ
ติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะพิษเหตุติดเชื้อนั้นไม่เหมือนกัน ภาวะพิษเหตุติดเชื้อนั้นเป็นระยะที่ร้ายแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อในกระแสเลือดทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย การอักเสบนี้อาจทำให้เลือดอุดตันและขัดขวางออกซิเจนไม่ให้ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญส่งผลให้อวัยภายในล้มเหลวได้
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยติดเชื้อในกระแสเลือดมากกว่า 50,000 คนต่อปี โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อไวรัส การผ่าตัด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยเด็ก ทารกแรกเกิด หรือการใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกาย มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดสูง
สาเหตุ ติดเชื้อในกระแสเลือด
ติดเชื้อในกระแสเลือดมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อที่ส่วนอื่นๆในร่างกาย กาติดเชื้อนี้มักจะรุนแรง แบคทีเรียหลายชนิดสามารถนำไปสู่ภาวะโลหิตเป็นพิษ ไม่สามารถระบุแหล่งที่แน่นอนของการติดเชื้อได้ การติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดที่นำไปสู่ภาวะโลหิตเป็นพิษคือ:
- การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
- การติดเชื้อที่ปอด
- การติดเชื้อที่ไต
- การติดเชื้อในช่องท้อง
แบคทีเรียจากการติดเชื้อนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็แสดงอาการโดยทันที
ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดใดๆ พวกเขามีความเสี่ยงสูงที่จะมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและอาจพัฒนากลายเป็นภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้ โดยการติดเชื้อนี้เป็นภาวะอันตรายเพราะแบคทีเรียสามารถต้านทานต่อแอนตี้ไบโอติคในร่างกายได้
ปัจจัยที่จะทำให้คุณมีความเสี่ยงในการติดเชื้อในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น:
- มีบาดแผลรุนแรง
- เด็กทารกหรือผู้สูงอายุ
- มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี,มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) การรักษาทางการแพทย์ เช่น เคมีบำบัดหรือการฉีดสเตียรอยด์
- ใช้สายสวนปัสสาวะหรือหลอดเลือดดำ
- ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
อาการ ติดเชื้อในกระแสเลือด
อาการของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการป่วยอย่างเห็นได้ชัด โดยพวกเขาเหล่านั้นอาจจะอยู่ระหว่างการได้รับบาดเจ็บหรือการผ่าตัดหรืออื่นๆ ที่สามารถติดเชื้อได้ อาการโดยทั่วไปได้แก่:
สำหรับอาการรุนแรงนั้นจะเกิดเมื่อไม่ได้รับการรักษา อาการเหล่านี้ประกอบด้วย:
- ความสับสนมึนงง
- คลื่นไส้และอาเจียน
- ตุ่มสีแดงบนผิวหนัง
- ปริมาณปัสสาวะน้อยลง
- การไหลเวียนของเลือดไม่เพียงพอ
- ช็อก
หากผู้ป่วยมีอาการโลหิตเป็นพิษ ควรพาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร่งด่วน
การรักษาติดเชื้อในกระแสเลือด
ติดเชื้อในกระแสเลือดนั่นเมื่อส่งผลต่ออวัยหรือเนื้อเยื่อที่สำคัญในร่างกายถือว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาโดยเร่งด่วน โดยต้องนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาโดยทันที
วิธีการรักษาขึ้นกับปัจจัยบางประการดังนี้:
- อายุ
- สุขภาพโดยรวม
- ปัจจัยบางประการของผู้ป่วย
- การแพ้ยาบางชนิด
ยาปฏิชีวนะใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยปกติแล้วการแยกชนิดของแบคทีเรียในระยะเวลาอันสั้นทำได้ยาก ดังนั้นการรักษาครั้งแรกจึงใช้ยาปฏิชีวนะที่สามารถออกฤทธิ์กับเชื้อแบคทีเรียในวงกว้าง ซึ่งสามารถออกฤทธิ์กับแบคทีเรียหลากหลายชนิดพร้อมกัน และหากต้องการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่จำเพาะเจาะจง ก็จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่จำเพาะเจาะจงเช่นกัน
ผู้ป่วยอาจจะได้รับยาหรือของเหลวอื่นๆ ทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาความดันโลหิตหรือป้องกันการอุดตันในหลอดเลือด อาจจะจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกรณีที่หายใจติดขัดจากภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด