ติดเชื้อในกระแสเลือด

ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia) คือ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้แก่ จุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อการติดเชื้อในกระแสเลือดคือ การติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย ซึ่งเชื้อดังกล่าวได้แก่ จุลชีพต่างๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆ ของร่างกายสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ เมื่อมีการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้ว ร่างกายของเราจะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อการติดเชื้อหรือต่อพิษของเชื้อโรค ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วบริเวณของร่างกาย หากมีความรุนแรงมากอาจพัฒนาไปสู่ภาวะช็อกและทำให้การทำงานของอวัยวะภายในต่างๆ ล้มเหลว มีอันตรายถึงชีวิตได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

สาเหตุ ติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือดเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย จัดเป็นการติดเชื้อที่รุนแรง โดยทั่วไปแล้ว การติดเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็นการติดเชื้อจากปัญหาสุขภาพทั่วไป และภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล

อาการ ติดเชื้อในกระแสเลือด

การติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยอาจติดเชื้อในกระแสเลือดได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือเกิดขึ้นหลังป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งในระยะแรก ทั้งนี้ การติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุหรือหลังได้รับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยมักมีอาการเบื้องต้น ดังนี้

รู้สึกหนาว มือและเท้าเย็นมาก
ป่วยเป็นไข้ขึ้นสูง ผู้ป่วยบางราย อาการอาจค่อย ๆ เป็นหนักขึ้น และอาจป่วยเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย
หายใจเร็วขึ้น
ชีพจรเต้นเร็ว
หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีและปล่อยให้อาการกำเริบ จะปรากฏอาการรุนแรง ดังนี้

รู้สึกตัวน้อยลง รวมทั้งสับสนจนคิดอะไรไม่ออก
คลื่นไส้และอาเจียน
ผิวหนังอาจเกิดจุดหรือแดง หากปล่อยทิ้งไว้ ผื่นจะลุกลามใหญ่ขึ้นเหมือนรอยช้ำ โดยรอยช้ำเหล่านี้จะแผ่ขยายใหญ่เป็นบริเวณกว้าง
ปัสสาวะน้อยลง
เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะไม่เพียงพอ นำไปสู่ภาวะช็อก
ทั้งนี้ เด็กที่ติดเชื้อในกระแสเลือด อาการจะแสดงออกไม่ชัดเจนเหมือนผู้ใหญ่ โดยเด็กอาจจะตัวเย็นมาก เกิดจุดเป็นหย่อม ๆ และมีสีผิวออกเขียว ๆ หรือผิวซีด หายใจถี่กว่าปกติ รู้สึกเหนื่อยง่ายและซึมลง ปลุกให้ตื่นยาก เมื่อลองกดผื่นบนผิวหนังแล้ว ผื่นนั้นไม่ยอมหายไปตามรอยกด

การรักษา ติดเชื้อในกระแสเลือด

แพทย์จะวินิจฉัยจากลักษณะและอาการของผู้ป่วยเป็นลำดับแรก จากนั้นจะทำการเจาะเลือดและตรวจสิ่งคัดหลั่งจากอวัยวะที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อด้วยการเพาะหาเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน แต่เนื่องด้วยการติดเชื้อในกระแสเลือดเป็นภาวะฉุกเฉิน แพทย์จึงต้องอาศัยการวินิจฉัยเบื้องต้นและเลือกให้ยาต้านจุลชีพที่ครอบคลุมเชื้อไว้ก่อน ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะที่ตรงกับเชื้อในช่วง 1-2   ชั่วโมงแรก ผู้ป่วยจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อหรือได้รับยาช้าเกินไป ก็จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเช่นกัน

อาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อ เช่นการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อในกระแสเลือด เป็นต้น

เมื่อได้รับยาต้านจุลชีพแล้ว แพทย์จะทำการรักษาแบบประคับประคองไปพร้อมๆ กัน เช่น ถ้ามีภาวะไตวายก็ทำการฟอกไต ถ้าผู้ป่วยหายใจเองไม่ได้ก็จะมีการให้ออกซิเจนหรือการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือถ้าผู้ป่วยมีภาวะซีดก็จะมีการให้เลือด โดยพิจารณาตามลักษณะอาการของผู้ป่วย

[Total: 2 Average: 5]