กลุ่มอาการซิคไซนัส (Sick Sinus Syndrome) คือ กลุ่มอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานที่ผิดปกติของ sinus node (เซลล์ชนิดพิเศษในหัวใจซึ่งสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าเอง) sinus node ทำหน้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจ
จังหวะไซนัส หรือ จังหวะการเต้นปกติของหัวใจ ควบคุมโดยกระแสไฟฟ้าจาก sinus node หากไม่มีกระแสไฟฟ้านี้ หัวใจไม่สามารถเต้นปกติได้
ประเภทของกลุ่มอาการซิคไซนัส
มีความผิดปกติหลายอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อ sinus node ทำงานผิดปกติ จังหวะการเต้นของหัวใจจะแตกต่างไปตามกระแสไฟฟ้าที่ sinus node ผลิตออกมา
ความผิดปกติที่พบได้จากกลุ่มผิดปกตินี้ คือ
- หัวใจเต้นช้าแบบ sinus bradycardia หัวใจเต้นช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที
- sinus arrest หรือ sinus pause คือ อาการที่ sinus node หยุดทำงานชั่วคราว ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป
- sinoatrial block เมื่อกระแส sinus node ไม่สามารถเข้าไปถึงหัวใจห้องบนสองห้องได้
- tachycardia-bradycardia (or tachy-brady) syndrome เมื่อหัวใจสลับจังหวะระหว่างช้ามาก กับเร็วมาก
สาเหตุของกลุ่มอาการซิคไซนัส
เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- เกิดความเสียหายต่อระบบกระแสไฟฟ้าของหัวใจ เกิดจากโรคต่างๆ
- แผลเป็นจากการผ่าตัดหัวใจ
- การใช้ยาบางตัว เช่น ยาต้านแคลเซียม หรือ beta blockers ที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ
- กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลงตามอายุ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
มีความเชื่อว่า ความผิดปกตินี้เกิดจากความเสื่อมของเซลล์เพซเมกเกอร์ (เซลล์ผลิตกระแสประสาท) ความเสื่อมของเซลล์นี้ทำให้ระบบที่ส่งกระแสไฟฟ้าทั่วทั้งหัวใจเปลี่ยนไป ทำให้ sinus node ทำงานผิดปกติและหัวใจไม่สามารถเต้นตามปกติได้
อาการซิคไซนัส ซินโดรม
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ อาการจะเห็นได้ชัดเมื่อหัวใจไม่สามารถเต้นได้ตามปกติ
อาการมีดังนี้
- เป็นลม หรือรู้สึกจะเป็นลม
- เหนื่อยง่าย
- วิงเวียนศีรษะ
- หัวใจเต้นผิดปกติ
- ชีพจรช้ามาก
- หายใจลำบาก
- เจ็บหน้าอก
- สับสน งุนงง
- มีปัญหาความจำ
- นอนหลับไม่สนิท
- ไม่ทนต่อการออกกำลังกาย เหนื่อยเร็ว
การรักษาซิคไซนัส ซินโดรม
การรักษาจะรักษาตามอาการ ส่วนมากเป็นการรักษาด้วยยา แพทย์อาจจะเปลี่ยนยาหากมีปัญหา และอาจจะสั่งยาเพิ่ม เพื่อรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจโดยเฉพาะ
สุดท้ายแล้วเมื่อ sinus node ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ (artificial pacemaker) ซึ่งเป็นอุปกรณ์เล็กๆที่ฝังไว้ที่ใต้ผิวหนังหน้าอกหรือหน้าท้อง ทำหน้าที่ส่งกระแสไฟฟ้าให้หัวใจเต้นได้ตามปกติ
เครื่องกระตุ้นหัวใจใช้เพื่อรักษากลุ่มอาการซิคไซนัส เครื่องกระตุ้นหัวใจมีความคงทนสูง และมีน้อยคนที่มีภาวะแทรกซ้อน
อาการแทรกซ้อน (พบได้ยาก) ที่เกิดจากเครื่องกระตุ้นหัวใจ มีดังนี้
- เกิดรูทะลุที่กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากขั้นตอนการผ่าตัด
- การติดเชื้อจากเครื่องกระตุ้นหัวใจ เกิดในขั้นตอนการฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ
- เลือดออกเข้าไปในเครื่องกระตุ้นหัวใจ
- ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
- ปอดแฟบ Atelectasis
ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นทำให้มีนักวิจัยสนใจในการทำเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบชีวภาพ โดยเอาเซลล์ที่มียีนส์ของเซลล์เพซเมกเกอร์ฝังไปในหัวใจ เซลล์นี้จะเติบโตเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจ และกลายเป็นเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบชีวภาพ
อีกวิธีหนึ่ง คือ ใช้สเต็มเซลล์ โดยสเต็มเซลล์จะเป็นแบบเซลล์ที่ยังไม่โตเต็มที่ และสามารถกลายไปเป็นเซลล์ชนิดที่ต้องการได้ คือ โตไปเป็นเซลล์ชนิดเดียวกับเซลล์หัวใจ และ sinus node