โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือโรคแผลติดเชื้อจากแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเกร็งตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกล้ามเนื้อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ บางครั้งโรคบาดทะยักอาจจะส่งรุนแรงหรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้
จากสิถิติผู้ป่วยโรคบาดทะยักในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยปี 2516 มีผู้ป่วยเป็นโรคบาดทะยักจำนวน 1,494 ราย และในปี 2520 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1,975 รายในปี 2520 คิด เป็นอัตราป่วยด้วยโรคบาดทะยักต่อประชากร แสนคนเท่ากับ 3.67 และ 4.49 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคบาดทะยักแล้วเสียชีวิตมี 273 คน ในปี 2516 เพิ่มเป็น 427 คน ในปี 2520 อัตราตายนี้คิดได้เป็น 18.3 ถึง 21.7% ของผู้ป่วย ดังนั้นการเป็นโรคบาดทะยักนับเป็นเรื่องที่น่าเป็นกังวลมาก ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาทันที แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัค แต่วัคซีนโรคบาดทะยัคจำเป็นต้องฉีดซ้ำทุก ๆ 10 ปี
สาเหตุ บาดทะยัก
สาเหตุของโรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Clostridium tetani ที่มีสปอร์ที่แพร่กระจายตามบริเวณฝุ่น หรือพื้นดิน และมูลสัตว์ และเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานตามพื้นที่ต่าง ๆ นอกร่างกาย แบคทีเรียมีความทนทานต่อความร้อน จึงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ เมื่อผู้ป่วยมีบาดแผลและสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ก็จะทำให้เกิดโรคบาดทะยักขึ้น และเมื่อเกิดการติดเชื้อแล้วสปอร์ของแบคทีเรียจะแพร่กระจายผ่านกระแสเลือด ส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้ประสาทส่วนกลางผลิตสารพิษ ทำให้ประสาทที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อเกิดความเสียหาย
สาเหตุการบาดเจ็บที่อาจจะก่อให้เกิดการได้รับเชื้อบาดทะยักมีดังนี้
- แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
- แผลจากการถูกมีดบาด การเจาะ รอยสัก
- แผลติดเชื้อในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- แผลฉีกขาดของกล้ามเนื้อหรือผิวหนัง
- แผลจากการถูกแมวข่วน หรือสุนัขกัด
อาการ บาดทะยัก
เมื่อรับเชื้อบาดทะยักมาแล้ว เชื้อจะทำการฟักตัวเป็นเวลา 3-21 วัน โดยทั่วไปอาการจะแสดงออกมาภายใน 14 วัน โรคบาดทะยักจะส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อซึ่งอาจนำไปสู่การเกร็งบริเวณขากรรไกร และกล้ามเนื้อลำคอ ส่งผลให้เกิดอาการกลืนอาหารหรือน้ำลายลำบาก นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการชักและเกร็งในกล้ามเนื้อต่างๆ เช่นบริเวณกราม หน้าท้องหน้าอก หลังและคอ
นอกจากนี้บาดทะยักอาจจะส่งผลให้ :
- หัวใจเต้นเร็ว
- มีไข้ เหงื่อออก
- ความดันโลหิตสูง
การรักษา บาดทะยัก
การรักษาโรคบาดทะยักจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย และมีหลายทางเลือกในการรักษา :
- การให้ยาปฏิชีวนะ จำพวกเพนิซิลลินในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
- การให้ยา tetanus immune globulin (TIG) เพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
- การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
- ทำความสะอาดแผลที่ติดเชื้อแบคทีเรีย
- ในบางกรณีอาจจะมีการผ่าชิ้นเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกไป