ฝีฝักบัว

ฝีฝักบัว (Carbuncle) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดสแตฟีโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) หรือชนิดสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus pyogenes) ที่ต่อมไขมันและที่ขุมขนของผิวหนัง แล้วลุกลามจนรวมกันเป็นกลุ่มก้อนมีหนองสะสม มีลักษณะเป็นก้อนหนองหลายก้อนติดกัน เรียกว่า “ฝีฝักบัว” ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาถึงอัตราการเกิดของโรคนี้อย่างแน่ชัด แต่พบว่าเป็นโรคที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัยและพบได้มากในเมืองร้อน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีไข้และมีอาการหนาวสั่นร่วมด้วย เมื่อตุ่มแดงยุบจะมีโอกาสเกิดรอยแผลเป็นมากกว่าฝีโดยทั่วไป

สาเหตุ ฝีฝักบัว

เป็นตุ่มแดงมีขนอยู่ตรงกลาง เจ็บเล็กน้อยตุ่มนี้ จะขยายโตขึ้น และมีอาการเจ็บเป็นหนองเรียก Furuncle หากมีหลายรูเรียก Carbuncle มักจะพบในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานไม่ดีเช่นโรคเบาหวาน

โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ การเกิดโรคจะอาศัยปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ การบาดเจ็บที่ผิวหนังที่เกิดอยู่ก่อน และเชื้อก่อโรค (เชื้อแบคทีเรีย) ที่อยู่ที่ผิวหนัง ซึ่งการล้างมือบ่อย ๆ จะช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรคเหล่านี้ได้

อาการ ฝีฝักบัว

ในระยะแรกผู้ป่วยอาจรู้สึกคันผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นจึงเกิดก้อนบวมแดงที่มีลักษณะเป็นก้อนหนองหลายก้อนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยมีขนาดประมาณ 3-10 เซนติเมตร

นอกจากลักษณะดังกล่าว ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัสผิวหนังที่อักเสบ
  • ผิวหนังโดยรอบฝีบวมแดง
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีไข้ หรืออ่อนเพลีย
  • เกิดแผลเล็ก ๆ บนหัวหนอง แผลบางจุดอาจแห้งและตกสะเก็ดร่วมกับมีน้ำเหลืองซึมออกมา

การรักษา ฝีฝักบัว

  • หากมีตุ่ม ผื่น แดง กดเจ็บ มีหนอง เป็นฝีที่หน้า เป็นฝีใกล้กระดูกสันหลัง ก้อนฝีมีขนาดใหญ่และไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ หรือมีฝีขึ้นหลายหัวติด ๆ กัน ควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาต่อไป
  • ให้การรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ เช่น ให้รับประทานยาแก้ปวดลดไข้ การรักษาความสะอาดบริเวณรอยโรคด้วยการทำความสะอาดด้วยสบู่อ่อน ๆ ที่มียาฆ่าเชื้อร่วมกับการทายาฆ่าเชื้อชนิดครีมหลังจากทำความสะอาดแล้ว เป็นต้น

การรักษาฝีฝักบัวในขั้นต้น มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการบีบหรือเกาฝี เพราะอาจส่งผลให้การติดเชื้อลุกลามเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
  • แช่อวัยวะจุดที่มีฝีลงในน้ำอุ่น หรือประคบผิวหนังบริเวณดังกล่าวด้วยผ้าอุ่นประมาน 15 นาที/วัน หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดผ้าที่ใช้ด้วยน้ำร้อนและอบแห้งที่อุณหภูมิสูงเพื่อฆ่าเชื้อ
  • ใช้ผ้าพันแผลที่ปลอดเชื้อพันรอบแผล เพื่อช่วยรักษาความสะอาดบริเวณแผลที่เป็นฝี แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำร้อนและสบู่
  • รับประทานยาพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดจากการอักเสบ

เมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์

  • เป็นฝีที่หน้า
  • เป็นฝีใกล้กระดูกสันหลัง
  • ฝีก้อนใหญ่ และไม่หายในสองสัปดาห์
  • คนที่เป็นฝีมีโรคพื้นฐานที่ภูมิไม่ดี
  • เพิ่งจะออกจากโรงพยาบาล

[Total: 0 Average: 0]