โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia)

โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia)  คือโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ และสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกดังนี้

  • หนีไปไหนไม่ได้
  • ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้
  • ตื่นตระหนก
  • รู้สึกอับอาย
  • รู้สึกหวาดกลัว

หากท่านสงสัยว่าตนเองมีอาการนี้ ควรต้องรักษาให้เร็วที่สุด การรักษาจะทำให้จัดการกับอาการได้ดีและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย การบำบัด การทำสมาธิ และการปรับวิถีชีวิต

สาเหตุ โรคกลัวที่ชุมชน

ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเช่น

  • โรคซึมเศร้า
  • โรคกลัวชนิดอื่น เช่น โรคกลัวที่แคบ และ โรคกลัวสังคม
  • มีอาการของงโรควิตกกังวลชนิดอื่น เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • มีประวัติถูกละเมิดทางร่างกาย หรือทางเพศ
  • การใช้สารเสพติด
  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้

พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น( อายุเฉลี่ยประมาณ 20ปี)  แต่ก็เกิดในคนวัยอื่นได้

อาการ โรคกลัวที่ชุมชน

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการดังนี้

  • กลัวการออกจากบ้านไปนานๆ
  • กลัวการอยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก
  • กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ในที่สาธารณะ
  • กลัวการอยู่ในที่ที่หนีออกมาได้ยากเช่น ในรถหรือลิฟต์
  • ไม่สนิทสนมกับใคร รู้สึกแปลกแยก
  • กังวลหรืออยู่ไม่สุข

การรักษาโรคกลัวชุมชน

การรักษามีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกัน เช่น

การบำบัดรักษา

การบำบัดทางจิตหรือการบำบัดด้วยการพูดคุย

ผู้ป่วยต้องพบกับผู้บำบัด หรือผู้ชำนาญด้านสุขภาพจิต เป็นระยะสม่ำเสมอ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความกลัว และสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้น การบำบัดจิตมักทำร่วมกับการใช้ยา เพื่อให้ได้ผลสูงสุด เป็นการรักษาระยะสั้นซึ่งจะหยุดได้เมื่อท่านรับมือกับความกลัวและความกังวลใด้

การบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม

เป็นการบำบัดจิตที่ใช้บ่อยกับผู้ป่วยโรคนี้ กระบวนการนี้ช่วยให้เข้าใจความรู้สึกและมุมมองที่ผิดปกติไป(ซึ่งทำให้เกิดโรค) และสอนวิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดโดยการปรับวิธีคิด ทำให้ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น

การบำบัดโดยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว

ช่วยให้ก้าวข้ามความกลัว ในการบำบัดนี้จะให้ท่านค่อยๆเผชิญหน้ากับสถานการณ์หรือสถานที่ที่ท่านกลัวทีละน้อย ทำให้ความกลัวลดลง เมื่อเวลาผ่านไป

ยารักษาอาการกลัว

ยาช่วยลดอาการกลัวที่ชุมชน หรืออาการตื่นตระหนก เช่น

  • ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors, เช่น paroxetine (Paxil) หรือ fluoxetine (Prozac)
  • ยากลุ่ม selective serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors เช่น venlafaxine (Effexor) หรือ duloxetine (Cymbalta)
  • ยากลุ่ม tricyclic antidepressants, เช่น amitriptyline (Elavil) หรือ nortriptyline (Pamelor)
  • ยาต้านกังวล เช่น alprazolam (Xanax) หรือ clonazepam (Klonopin)

การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

การเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ช่วยรักษาอาการ แต่จะช่วยลดความกังวลในชีวิตประจำวัน ควรลองปรับเปลี่ยนดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้สมองผลิตสารเคมีที่ทำให้มีความสุขและผ่อนคลาย
  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่ประกอบด้วย ธัญพืช ผัก และโปรตีน ปราศจากไขมัน เพื่อให้รู้สึกดีทั้งร่างกาย
  • ทำสมาธิทุกวัน หรือฝึกการหายใจลึกๆ เพื่อลดความกังวลและต้านอาการตื่นตระหนก
  • ระหว่างการรักษา ควรงดการใช้สมุนไพร และอาหารเสริม นอกจากจะไม่ช่วยให้ดีขึ้นแล้ว ยังอาจรบกวนต่อการออกฤทธิ์ของยาที่แพทย์สั่งด้วย
[Total: 0 Average: 0]