ออทิสติก (Autism)

ออทิสติก (Autism) คือ กลุ่มโรคเกี่ยวกับความผิดปกติพัฒนาการของระบบประสาท โดยโรคนี้มีชื่อทางการภาษาอังกฤษว่า Autism spectrum disorder (ASD) 

กลุ่มความผิดปกตินี้จะมีลักษณะของความบกพร่องหรือมีปัญหาในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ผู้ป่วยออทิสติกจะแสดงการเรียกร้องความสนใจในสิ่งที่ต้องการด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรม

ออทิสติก (ASD) นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในโลกโดยไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมใดๆ ออทิสติกพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 และข้อมูลจากมูลนิธิออทิสติกไทย ระบุว่าทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติกหรือที่เราเรียกว่าเด็กพิเศษจำนวน 6 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากเรื่อย

ออทิสติก ประเภทต่างๆ

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ที่ตีพิมพ์โดย the American Psychiatric Association (APA) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในวงการแพทย์สำหรับการวินิจฉัยและจำแนกประเภทของออทิสติกที่มีอยู่หลากหลาย

ออทิสติกสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภทหลักๆ (DSM-5)  ได้ดังนี้

  • ออทิสติกแบบมีหรือปราศจากข้อบกพร่องทางปัญญา
  • ออทิสติกแบบมีหรือปราศจากข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษา
  • ออทิสติกที่เกี่ยวข้องจากการรับสารเคมี, ทางพันธุกรรม หรือสภาพแวดล้อม
  • ออทิสติกที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติด้านระบบประสาท อารมณ์ หรือพฤติกรรม
  • ออทิสติกร่วมกับคาทาเนีย (Catatonia)

ในผู้ป่วยบางรายอาจถูกวินิจฉัยว่ามีอาการออทิสติกร่วมกันมากกว่า 1 รายการจากรายการด้านบน

ผู้ป่วยออทิสติกอาจได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ความผิดปกติออทิสติก
  • โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s syndrome)
  • พีดีดี เอ็นโอเอส (PDD-NOS)
  • การสูญเสียทักษะของเด็ก CDD (Childhood disintegrative disorder)

สิ่งสำคัญในการวินิจฉัยออทิสติกคือต้องแน่ใจว่าประวัติการตรวจสอบไม่สูญหายไป เพื่อประโยขน์ทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่จะไม่ต้องเริ่มตรวจสอบใหม่ทุกๆครั้งๆ การวินิจฉัยตาม DSM-5 นั้นครอบคลุมออทิสติกเกือบทั้งหมดอย่างโรคแอสเพอร์เกอร์เป็นต้น

สาเหตุ ออทิสติก

ออทิสติกเกิดจากอะไรนั้นไม่สามารถทราบได้แน่ชัด แต่จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือชี้ให้เห็นว่าการป่วยเป็นออทิสติกนั้นไม่ได้มาจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียว

ปัจจัยความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดออทิสติกมีดังนี้:

  • มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นออทิสติก
  • การผ่าเหล่าทางพันธุกรรม
  • การแตกตัวของโครโมโซม X และความผิดปกติด้านพันธุกรรมอื่นๆ
  • พ่อแม่อยู่ในวัยชราระหว่างให้กำเนิดบุตร
  • น้ำหนักแรกเกิดต่อ
  • ระบบเมแทบอลิซึมขาดสมดุล
  • สัมผัสกับโลหะหนักหรือสารพิษอื่นๆ
  • เคยติดเชื้อไวรัส
  • ผลข้างเคียงจากการได้รับ กรดวาลโปรเอท (Depakene) หรือทาลิโดไมด์ (Thalomid)

อาการ ออทิสติก

อาการของผู้ป่วยออทิสติกหรือเด็กออทิสติกที่ชัดเจนนั้นเราจะเห็นได้ในเด็กวัย 12 – 24 เดือน อย่างไรก็ตามความผิดปกติสามารถปรากฏได้ก่อนหรือหลังจากนั้น

อาการเริ่มต้นของออทิสติกอาจจะประกอบไปด้วย พัฒนาการช้าด้านการพูด หรือ พัฒนาการทางสังคมที่ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

หมวดหมู่ความผิดปกติของผู้ป่วยออทิสติก

การวินิจฉัยแบบ DSM-5 แบ่งลักษณะเด็กออทิสติกเป็น 2 หมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้แก่ ความบกพร่องด้านการสื่อสารและสังคม, พฤติกรรมที่ซ้ำซาก

ความบกพร่องด้านการสื่อสารและสังคม ประกอบไปด้วย :

  • ปัญหาด้านการพูดและการสื่อสาร เช่น การแสดงอารมณ์ การแสดงความสนใจ หรือการตอบโต้ระหว่างการสนทนา
  • ปัญหาในการสื่อสารโดยใช้อวัจนะภาษา เช่น สายตา หรือ ภาษากาย
  • พัฒนาการในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนั้นต่ำหรือไม่มีเลย

พฤติกรรมที่ซ้ำซากประกอบไปด้วย :

  • เคลื่อนไหวซ้ำๆ สภาวะอารมณ์เดิมซ้ำๆ รวมถึงการพูดประโยคเดิมซ้ำไปมา
  • จดจ่อกับกิจวัตรหรือพฤติกรรมเดิมๆ
  • ประสาทสัมผัสต่อสิ่งรอบข้างอาจมากหรือน้อยเกินไป เช่น การมีปฏิกิริยาตอบสนองกับเสียงที่จำเพาะเจาะจงan 
  • มีความสนใจเฉพาะสิ่ง และมีความเพ้อฝัน

ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการประเมินจากหัวข้อด้านบนและถูกบันทึกข้อมูลในประวัติผู้ป่วย ในการจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยออทิสติกจะต้องมีความผิดปกติในด้านการสื่อสารตามหัวข้อด้านบนทั้งหมด และมีความผิดปกติในด้านพฤติกรรมซ้ำซากอย่างน้อย 2 รายการ

การรักษา ออทิสติก

สำหรับผู้ป่วยออทิสติกนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ยังมีวิธีบำบัดและเยียวยาที่น่าสนใจอยู่หลายวิธีด้วยกันสำหรับใช้ดูแลเด็กออทิสติก

กิจกรรมบำบัดออทิสติกโดยทั่วไป :

  • การบำบัดพฤติกรรมร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม
  • การบำบัดด้วยการเล่น
  • การบำบัดกิจวัตรประจำวัน
  • การบำบัดทางกายภาพ
  • การบำบัดการพูดและสนทนา

เทคนิคการนวด การใช้ผ้าห่มถ่วงน้ำหนักสำหรับผู้ป่วยออทิสติก การแต่งกาย และการนั่งสมาธิ มักจะประกอบไปด้วยกิจกรรมที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามผลของการบำบัดนั้นสามารถแสดงออกได้หลากหลายซึ่งอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ดีในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

วิธีการบำบัดแบบทางเลือกสำหรับออทิสติก

การบำบัดทางเลือกสำหรับผู้ป่วยออทิสติกมีดังนี้:

  • การให้วิตามินในปริมาณสูง
  • การบำบัดคีเลทชั่นที่ช่วยชำระล้างโลหะหนักออกจากร่างกาย
  • การบำบัดแบบไฮเปอร์บาริค ออกซิเจน (Hyperbaric oxygen therapy)
  • การใช้เมลาโทนินช่วยในการนอนหลับ

ขอควรระวังในการใช้การบำบัดทางเลือกนั่นควรอยู่ภายในการควบคุมหรือแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กได้

[Total: 0 Average: 0]