ภาวะเพ้อสับสน (Delirium) เป็นภาวะแทรกซ้อนทางจิตเวชที่พบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 มีลักษณะเด่น คือ ผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมฉับพลันในด้านสมาธิและการรู้ตัว มักส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยได้
- ภาวะนี้จะเกิดขึ้นในทันที เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภาวะสับสนเฉียบพลัน โดยอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ การเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ หรือเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด การรักษาภาวะเพ้อจะมุ่งไปที่การรักษาปัญหาสุขภาพที่เป็นต้นเหตุและการควบคุมอาการเพ้อไม่ให้แย่ลง
- ภาวะนี้เป็นภาวะเร่งด่วน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อสืบค้นสาเหตุและรักษาทันที เนื่องจากหากปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้สูญเสียหน้าที่การทำงานของสมองถาวร นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม และเพิ่มอัตราการตาย
สาเหตุ สับสน – เพ้อ
- ได้รับยาบางชนิด เช่น ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยานอนหลับ ยารักษาโรคซึมเศร้า ยารักษาโรคพาร์กินสัน ยารักษาโรคจิตเภท ยิ่งได้รับยาหลายชนิดยิ่งมีความเสี่ยงสูง
- หยุดสุราหรือหยุดยาบางชนิดกะทันหัน (กรณีติดสุราหรือติดยานั้น ๆ แล้ว)
- มีการติดเชื้อ หรือการเจ็บป่วยเฉียบพลันอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะขาดออกซิเจน ภาวะช็อก ภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ภาวะซีด หรือภาวะขาดน้ำ
- สาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเจ็บปวด ท้องผูก การใส่สายสวนปัสสาวะ การใช้อุปกรณ์เหนี่ยวรั้งผู้ป่วย การเปลี่ยนสถานที่ หรือ เปลี่ยนผู้ดูแล การอดนอนนาน ๆ เป็นต้น
อาการ สับสน – เพ้อ
- มีความบกพร่องในความสนใจจดจ่อและความตื่นรู้ตัว
- มีความบกพร่องในการรู้คิด เช่น ความจำ ความเข้าใจ การสับสนเวลาสถานที่ หรือบุคคล และการรับรู้สัมผัสผิดปกติ (เห็นภาพหลอน หรือหูแว่ว)
- วงจรการหลับตื่นเปลี่ยนแปลงไป
- ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
- ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ กระสับกระส่าย หงุดหงิด ก้าวร้าว เงียบซึม ตอบสนองน้อย
การรักษา สับสน – เพ้อ
การรักษาภาวะเพ้อให้ได้ผลต้องเริ่มจากการวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวหรือใช้ยาเพื่อช่วยให้อาการสงบลง จากนั้นจึงมุ่งเน้นการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อฟื้นฟูอาการป่วยทางกายควบคู่กับการฟื้นฟูความคิด ความจำ และการรับรู้ของผู้ป่วยให้กลับมาเป็นปกติ โดยผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อรับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ การดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
[Total: 2 Average: 5]