ทำความรู้จัก ประสาทวิทยาศาสตร์ ผ่าน Single’s Inferno กับ ซินจียอน

เส้นผมและโรคของเส้นผม อาการ รักษา

“ชินจียอน” หนึ่งในผู้เข้าร่วมการแข่งขันรายการเดทติ้งเรียลลิตี้ “Single’s Inferno” (솔로지옥) ซึ่งได้รับความนิยมและมีกระแสตอบรับในช่วงที่ผ่านมา

“Single’s Inferno” หรือในชื่อไทยก็คือ “โอน้อยออก ใครโสดตกนรก” เป็นรายการเรียลลิตี้วาไรตี้เกาหลีใต้ที่ออกอากาศทาง Netflix ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะคอนเซ็ปต์ของรายการ ที่เป็นรายการเดทติ้งเรียลลิตี้ที่พาหนุ่มสาวมาใช้ชีวิตร่วมกันบนเกาะร้างเป็นเวลา 9 วัน 8 คืน มีเพียงคู่ที่สมหวังเท่านั้นที่จะได้ออกจากเกาะร้างรัก ไปใช้เวลาในค่ำคืนแสนหวานด้วยกันบนเกาะสวรรค์

โดย “ชินจียอน” เธอเป็นคนที่มีเสน่ห์และมีภาพลักษณ์ที่ดูสวยและน่ารักในเวลาเดียวกัน นอกจากชินจียอนจะเป็นคนเพอร์เฟคทั้งภายนอกแล้ว ภายในหรือเบื้องหลังโปรไฟล์ของเธอก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน

“ชินจียอน” เกิดในปี1997 เป็นนักศึกษาเอก #ประสาทวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโตรอนโต้ มหาวิทยาลัยชื่อดังในแคนาดา ซึ่งศาสตร์ที่ “ชินจียอน” เรียนเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจมากในปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท วินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง จึงทำให้น้อยคนนักที่จะรู้จักกับศาสตร์นี้

“ประสาทวิทยาศาสตร์” หรือ “Neuroscience” คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทของมนุษย์ ที่สามารถรู้และเจาะลึกได้ถึงระบบความคิดของมนุษย์ หรือที่มาของการกระทำต่าง ๆ ได้

ขอบเขตของการศึกษาสมองและระบบประสาท เซลล์และเนื้อเยื่อของระบบประสาท คุณสมบัติทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาท การถ่ายทอดสัญญาณประสาท การเจริญพัฒนาของระบบประสาท กายวิภาคศาสตร์พื้นฐานของสมอง ก้านสมอง ไขสันหลัง และโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง ระบบการรับความรู้สึก การควบคุมการเคลื่อนไหวและการทำงานของระบบอวัยวะภายใน และกระบวนการของระบบการรู้คิด

—–

การแบ่งประเภทของ Neuroscience

  1. Classical disciplines of neuroscience เป็น neuroscience แบบดั้งเดิม แยกเฉพาะวิชา โดยวิธีการคิดแบบแนวตั้ง ประกอบด้วย ประสาทชีววิทยา ประสาทกายวิภาค จิตวิทยา ประสาทสรีระ พฤติกรรมศาสตร์ ประสาทเคมี ประสาทต่อมไร้ท่อ ฯลฯ
  2. Clinical neuroscience เป็นการแบ่งทางคลินิก ตามลักษณะทางการแพทย์ เช่น พยาธิวิทยาระบบประสาท โรคทางระบบประสาท ระบาดวิทยา รังสีประสาทวิทยา เป็นต้น
  3. Modern Neuroscience disciplines ประกอบด้วย 3 ลักษณะ คือ
    • System Neuroscience เป็น Neuroscience ที่อยู่ในระดับโครงสร้างใหญ่ ๆ ของสมองเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
    • Cellular and molecular Neuroscience เป็น Neuroscience ที่อยู่ระดับเซลล์หรือโมเลกุล
    • Development Neuroscience เป็นNeuroscience ที่มีการพัฒนาและเฟื่องฟูมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เพราะในอนาคตไม่นานมานี้ มีการค้นพบ Blue print หรือแบบแปลนโครงสร้างของสมอง พัฒนาการของสมองตั้งแต่ปฏิสนธิ แรกคลอด เด็กวัยรุ่น ถึงผู้ใหญ่ว่าสมองมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

—–

เนื่องจากการศึกษาการทำงานของระบบประสาทเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนนักประสาทวิทยาศาสตร์จึงแบ่งการศึกษาประสาทวิทยาศาสตร์ (neuroscientist) นั้นเป็นส่วนที่เล็กลงเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์ที่เป็นระบบอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเราเรียกกลวิธีนี้ว่า Reductionist approach โดยอาจแบ่งระดับการศึกษาวิเคราะห์ (level of analysis) ออกเป็น 5 ระดับย่อย ดังนี้

1. ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงโมเลกุล (molecular neuroscience)

สมองถือเป็นอวัยวะที่มีองค์ประกอบที่พิศวงและซับซ้อนมากที่สุดในจักรวาลเลยก็ว่าได้ เนื้อสมองประกอบไปด้วยโมเลกุลพื้นฐานมากมายที่มีความมหัศจรรย์และเป็นเอกลักษณ์ที่พบได้เฉพาะในระบบประสาทเท่านั้น โมเลกุลเหล่านี้ก็มีบทบาทสำคัญต่อหน้าที่การทำงานของสมองที่แตกต่างกันไป การศึกษาในระดับพื้นฐานที่สุดนี้จึงเรียกว่าประสาทวิทยาศาสตร์เชิงโมเลกุล

2. ประสาทวิทยาศาสตร์ระดับเซลล์ (cellular neuroscience)
การศึกษาในระดับนี้เน้นการค้นคว้าหาความสัมพันธ์ของโมเลกุลต่างๆ ที่ทำให้เซลล์ในระบบประสาททำงานในแง่มุมต่างๆ เช่น การศีกษาชนิดของเซลล์ในระบบประสาทและหน้าที่ของมัน การส่งสัญญาณประสาทเพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ประสาท รวมทั้งกระบวนการจัดเก็บข้อมูลของเซลล์ประสาท เป็นต้น

3. ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงระบบ (systems neuroscience)
เซลล์ประสาทไม่ได้ทำงานตามลำพังเพียงเซลล์เดี่ยวๆ หากแต่เกิดการเชื่อมประสานเป็นกลุ่มก้อนเกิดเป็นวงจรประสาทในระบบต่างๆ เช่น ระบบการมองเห็น ระบบการเคลื่อนไหว และ ระบบการได้ยิน เป็นต้น วงจรประสาทในสมองของแต่ละระบบมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เกิดศึกษาถึงกลไกที่แตกต่างกันทั้งในการวิเคราะห์ข้อมูลการรับสัมผัส (sensory information) การรับรู้ (perception) การตัดสินใจของสมอง และเกิดการเคลื่อนไหว เป็นต้น

4. ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรม (behavioural neuroscience)
พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาเกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบทางประสาท (neural system) ที่แยกย่อยหลายระบบ ทำไมเพศหญิงกับเพศชายมีอารมณ์และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ความผูกพันธ์ระหว่างแม่กับลูกเกิดได้อยางไร สมองส่วนไหนที่ควบคุมความฝัน คำถามเหล่านี้ล้วนเป็นการศึกษาในระดับพฤติกรรมทั้งสิ้น

5. ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงปัญญา (cognitive neuroscience)
การศึกษาในขั้นนี้นับว่าเป็นสิ่งท้าทายความสามารถของมนุษย์อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจกับกระบวนการทางจิต (mental process) ขั้นสูงของสมองที่เชื่อมการทำงานของสมองกับจิตใจ เช่น การตระหนักรู้ตนเอง การจินตนาการ ความสามารถทางเชาว์ปัญญา การเรียนรู้ด้านภาษา และสติสัมปะชัญญะ เป็นต้น

[Total: 11 Average: 4.6]

Leave a Reply