โอมิครอน BA.2 เชื่อใครดี? นักวิจัยญี่ปุ่นหรือไทย

4 เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ไอเทมยอดฮิตประจำปี covid-19 คือ รักษา วัคซีน โอไมครอน โควิด เดลต้า

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 คืออะไร ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เมื่อไวรัสเกิดสายพันธุ์หลัก ก็จะมีสายพันธุ์ย่อยตามมา โดยในกรณีของโอมิครอน มีสายพันธุ์ย่อย คือ BA.2 และ BA.3

ในส่วนของสายพันธุ์ย่อย BA.2 ถูกนำมาถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากตัวอย่างผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้วทั้งสิ้น 10,811 ราย (<0.5%) พบในประเทศไทย 2 ราย (1%)

สายพันธุ์ย่อย BA.2 บางครั้งยังถูกเรียกว่า สายพันธุ์ล่องหน (Stealth Variant) เพราะสามารถตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีนส์ ทำให้แยกไม่ออกระหว่าง “เดลต้า” กับ “BA.2” เพราะเดลต้าก็ตรวจ RT-PCR ได้ครบทั้งสามยีนส์เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังพบว่า BA.2 กลายพันธุ์ต่างไปจากสายพันธุ์ดั้งเดิมอย่าง “อู่ฮั่น” มากที่สุดประมาณ 70-80 ตำแหน่ง แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนทางคลินิกว่า มีอาการรุนแรงกว่าโอมิครอนสายพันธุ์หลัก BA.1 หรือไม่ แต่คาดคะเนจากข้อมูลทางระบาดวิทยาว่า อาจแพร่ติดต่อได้เร็วกว่าโอมิครอนสายพันธุ์หลักอยู่บ้าง

นักวิจัยญี่ปุ่น

เผย โควิดสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 รุนแรงเท่าเดลตา หลบภูมิคุ้มกันวัคซีนและยารักษาโควิดอาจเอาไม่อยู่

วานนี้ (17 ก.พ.65) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานถึงผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการของนายเคอิ ซาโตะ นักวิจัยวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ของญี่ปุ่น พบว่า สายพันธุ์โอมิครอน BA.2 ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรงได้ใกล้เคียงกับสายพันธุ์เดลตา ทั้งในแง่อาการ และการเสียชีวิต นอกจากนี้ สายพันธุ์รอง BA.2 สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการฉีดวัคซีน และยังต่อต้านกับการรักษาด้วยยา Sotrovimab หรือชื่อทางการค้าว่า Xevudy ซึ่งเป็นยารักษาโควิดด้วยแอนติบอดี ที่พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างบริษัท GlaxoSmithKline (GSK) ของสหราชอาณาจักร และบริษัท Vir Biotechnology จากสหรัฐฯ

ผลการศึกษาทั้งหมดตามข้างต้น ได้ถูกเก็บไว้ใน bioRxiv ซึ่งเป็นแหล่งอ้างอิงเอกสารงานวิจัย และผลการศึกษาทางการแพทย์ชั้นนำระดับโลก ก่อนที่จะถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ที่วงการแพทย์ทั่วโลกใช้เป็นที่อ้างอิง


นักวิจัยไทย

เผย โควิดสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 ไม่รุนแรงเท่าเดลตา แค่แพร่กระจายไวกว่า

จากการศึกษาของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาฯ ในการติดตามสายพันธุ์โอมิครอน

ที่พบในเขตกรุงเทพมหานคร จะเห็นว่าสายพันธุ์ที่พบทั้งหมด เป็นสายพันธุ์ โอมิครอน ส่วนใหญ่ที่พบยังเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1 ในเดือนกุมภาพันธ์นี้มีแนวโน้มที่พบ สายพันธุ์ BA.2 เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด

สายพันธุ์ BA.2 ไม่ได้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น แต่จะติดต่อง่ายขึ้นกว่าสายพันธุ์ BA.1 และจะเป็นเหตุ ให้การแพร่กระจายของโรคได้มากขึ้น

[Total: 9 Average: 4.9]

Leave a Reply

Discover more from HEALTH ME NOW

Subscribe now to keep reading and get access to the full archive.

Continue reading