โคม่า (Coma)

โคม่า (Coma) คือภาวะที่ผู้ป่วยหมดสติเป็นเวลานาน เนื่องจากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งได้รับความเสียหาย ซึ่งความเสียหายนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะหมดสติ ไม่สามารถตื่นตัว เคลื่อนไหว และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกได้ เช่นความเจ็บปวด เสียงและแสง รวมไปถึงการสัมผัส คำว่าโคม่า มีรากมาจากภาษากรีก “Koma”  ที่แปลว่า การหลับลึก นั่นเอง  

อาการโคม่าสามารถเกิดจากสาเหตุหลายประการ ตั้งแต่การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยไปจนถึงโรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง และนอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์และการใช้ยาเสพติดสามารถส่งผลให้เกิดอาการโคม่าได้เช่นกัน

ผู้ป่วยอยู่ในอาการโคม่านั้นยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวและรู้สึกตัวได้ ผู้ป่วยจะหยุดการคิด และไม่สามารถพูดหรือตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมได้ แต่ภาวะทางร่างกายยังคงสามารถสั้งการทำงานที่สำคัญได่ เช่นการหายใจและการไหลเวียนของเลือด 

ภาวะโคม่าที่โดยส่วนใหญ่นั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้มีในบางกรณีที่ผู้ป่วยจะโคม่าในระยะยาวได้   ทั้งนี้ระยะเวลาในการเกิดอาการโคม่าขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระดับความเสียหายต่อสมอง การเอาใจใส่ของคนใกล้ชิด ด้วยการพูดคุย หรือสัมผัสบ่อยๆ อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวได้เร็วขึ้น และควรจะพลิกตัวผู้ป่วยบ่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงแผลกดทับ

สาเหตุ โคม่า 

โคม่ามีสาเหตุมาจากการที่สมองถูกทำลาย โดยเป็นการทำลายที่จำเพาะเจาะจงในสมองใหญ่ทั้งซีกซ้ายและขวา ในบริเวณของเยื่อหุ้มสมอง และระบบประสาท ซึ่งสมองในส่วนนี้ทำหน้าที่ในการรับรู้ และการตื่นตัว การถูกทำลายสามารถเป็นเหตุมาจากปัจจัยสำคัญได้หลายประการ เช่น ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน การขาดออกซิเจน การมีเลือดออกหรือเกิดแรงดันในสมอง การติดเชื้อ ระบบเมแทบอลิซึมมีปัญหา ภาวะเป็นพิษ ตัวอย่างได้แก่

  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือสมอง เช่น เกิดจากอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง  หรือการถูกทำร้ายอย่างรุนแรง
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • เนื้องอกในสมอง
  • การขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมองเป็นเวลานาน
  • การใช้ยาหรือแอลกอฮอล์เกินขนาด
  • ได้รับสารพิษมากเกินไปจนตับหรือไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • การสะสมของสารพิษในร่างกาย เช่น แอมโมเนีย ยูเรีย หรือคาร์บอนไดออกไซด์
  • ได้รับสารพิษจากโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว
  • การติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือโรคไข้สมองอักเสบ
  • เกิดอาการชักต่อเนื่องกัน

อาการ โคม่า

อาการโคม่าเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์และต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที สัญญาณของอาการโคม่า มีดังนี้

  • ผู้ป่วยไม่ลืมตา
  • ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าใด ๆ 
  • ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ
  • ร่างกายไม่ตอบสองต่อความเจ็บปวด
  • รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสงค่ะ

การรักษา โคม่า

สิ่งสำคัญอันดับแรกของการรักษา คือ การรักษาชีวิตและการทำงานของสมอง แพทย์จะทำการให้ยาปฏิชีวนะทันทีในกรณีที่มีการติดเชื้อในสมอง และการรักษาอื่น ๆ ตามสาเหตุของอาการโคม่า เช่น ในกรณีของการใช้ยาเกินขนาด อาจต้องผ่าตัด เพื่อลดอาการบวมในสมอง

เมื่อผู้ป่วยโคม่ามีอาการทรงตัวแพทย์จะดูแลในส่วนของการป้องกันการติดเชื้อ แผลกดทับ และการหดตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้แพทย์จะให้สารอาหารที่ผู้ป่วยต้องการอย่างเพียงพอในช่วงที่อยู่ในภาวะโคม่า

[Total: 0 Average: 0]