การเจาะน้ำคร่ำ คือ การนำเซลล์ของทารกที่ปนอยู่ในน้ำคร่ำไปตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค ได้แก่ โครโมโซมผิดปกติ, โรคทางพันธุกรรมที่วินิจฉัยก่อนคลอดได้โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย คือ โรคโลหิตจางทารัสซีเมียม ตรวจหาสารเคมี เช่น Alpha-Fetoprotein (AFP) เพื่อช่วยวินิฉัยโรคไขสันหลังเปิดเป็นต้น โดยทั่วไปจะตรวจเมื่ออายุครรภ์ที่ 17-18 สัปดาห์ บางกรณีอาจทำในอายุครรภ์มากกว่านี้ แล้วแต่แพทย์พิจารณา
ประโยชน์จาก การเจาะตรวจน้ำคร่ำ
จุดมุ่งหมายของการตรวจส่วนใหญ่เพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์ ที่อาจมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น สตรีตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป (นับถึงวันครบกำหนดคลอด) นอกจากนี้อาจทำเนื่องจากข้อบ่งชี้อื่น เช่น โรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางโรคที่วินิจฉัยก่อนคลอดได้ โดยเฉพาะโรคที่พบบ่อยในประเทศไทย คือโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย แพทย์จะแนะนำให้ตรวจในกรณีที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหรือตรวจพบว่าเป็นคู่สามีภรรยาที่มีความเสี่ยง บางกรรีมีการนำน้ำคร่ำไปตรวจหาสารเคมีบางอย่าง เช่น alphafetoprotein (AFP) เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคไขสันหลังเปิด (open spinal befida ) เป็นต้น ผลการตรวจโครโมโซม มักใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่ต้องใช้วิธีตรวจพิเศษหรือจำเป็นต้องมีวิธีตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อยืนยันการตรวจวินิจฉัยอาจใช้เวลานานกว่า
ใครควรได้รับการตรวจ
1. หญิงตั้งครรภ์ที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปนับถึงวันกำหนดคลอดมีโอกาสที่ทารกในครรภ์เป็นภาวะกลุ่มอาการดาวน์ได้มากขึ้น
2. หญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีบุตรที่มีความผิดปกติของโครโมโซมในครรภ์ก่อน
3. หญิงตั้งครรภ์และสามีที่มีโคโมโซมผิดปกติ
4. หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติการแท้งเป็นอาจิณ
5. หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองทางชีวเคมีแล้วพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่ทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของโคโมโซม
6. หญิงตั้งครรภ์ที่พบความผิดปกติของทารกในครรภ์ จากการตรวจคลื่นความถี่สูง(อัลตราซาวด์)
7. ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
นอกจากนี้ยังสามารถใช้น้ำคร่ำตรวจหาภาวะอื่นเช่น การตรวจหาการติดเชื้อในทารก การตรวจหา bilirubin ในการพยากรณ์ความรุนแรงของโรค Rh isoimmunization การตรวจวิเคราะห์ทางด้านดีเอ็นเอ เป็นต้น
จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรก่อนเจาะน้ำคร่ำ
ก่อนเจาะน้ำคร่ำแพทย์จะให้ความรู้และอธิบายเกี่ยวกับการเจาะน้ำคร่ำให้คู่สามีภรรยาทราบก่อนจากนั้นจึงเป็นการตัดสินใจของคู่สามีภรรยาว่าจะรับการตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่ ถ้าตัดสินใจว่าต้องการเจาะน้ำคร่ำ ท่านไม่ต้องเตรียมตัวพิเศษแต่อย่างใดไม่ต้องงดน้ำและอาหาร แต่ควรถ่ายปัสสาวะก่อนเข้ารับการเจาะน้ำคร่ำ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
การเจาะตรวจน้ำคร่ำเป็นการตรวจโดยใช้เข็มขนาดเล็กผ่านทางหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์เข้าไปในถุงน้ำคร่ำของทารก แม้ว่าการตรวจจะกระทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ปลอดเชื้ออย่างถูกต้องตามมาตรฐานแล้วก็ตาม ก็ยังมีรายงานภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ภายหลังการตรวจภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เช่น มีการติดเชื้อของรกและถุงน้ำคร่ำ มีเลือดออกทางช่องคลอด น้ำเดินก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ ในที่สุดนำไปสู่การสูญเสียทารกในครรภ์ โดยทั่วไปโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตรที่เกี่ยวเนื่องจากเจาะตรวจน้ำคร่ำอยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5 (1 ใน 200)
คำแนะนำภายหลังรับการตรวจ
โดยทั่วไปการเจาะตรวจน้ำคร่ำมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังนั้นภายหลังรับการตรวจควรปฏิบัติตัว ดังนี้
- งดกิจกรรมหนัก โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก เช่น การยกของหนัก เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆ หรือเดินทางไกลในช่วง 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ
- งดการมีเพศสัมพันธ์ ในช่วง 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ
- ถ้าปวดแผลบริเวณที่เจาะสามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการปวดแผลได้
- ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดแผลบริเวณที่เจาะน้ำคร่ำแต่ประการใด สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ
คำแนะนำหลังการเจาะ
- สิ่งที่ควรสังเกตและหลังการเจาะ หากมีรายการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์
- ปวดเกร็งท้องมาก ไม่หาย หลังจากนอนพัก
- มีไข้ ภายใน 2 สัปดาห์หลังการเจาะ
- มีน้ำหรือเลือดออกจากช่องคลอด
- ควรพักเป็นระยะเวลา 1-2 วันหลังจากการเจาะ และควรงดการออกแรงมาก เช่น งดออกกำลังกายและงดการมีแพศสัมพันธ์อีก 4-5 วัน และควรงดเดินทางไกลภายใน 7 วัน
น้ำคร่ำคืออะไร
น้ำคร่ำก็คือของเหลว ใส สีเหลืองอ่อนที่อยู่ล้อมรอบทารกในครรภ์ ส่วนประกอบของน้ำคร่ำประกอบไปด้วยน้ำ 98% และสารต่างๆอีก 2% ซึ่งจะมีเซลล์ของทารกที่หลุดออกมาปนอยู่ด้วย เมื่อตั้งครรภ์ครบกำหนด (40 สัปดาห์) จะมีปริมาณของน้ำคร่ำประมาณ 1,000 ml. ที่ล้อมรอบทารกอยู่ น้ำคร่ำจะไหลเวียนโดยการเคลื่อนไหวตัวของทารกทุกๆ 3 ชั่วโมง
ประโยชน์ของน้ำคร่ำ
- ป้องกันทารกจากการกระทบกระเทือน
- ทารกเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง
- ควบคุมอุณหภูมิที่แวดล้อมทารกให้คงที่
- ป้องกันการสูญเสียความร้อนของทารก
- เป็นแหล่งของน้ำที่ทารกกลืนเข้าไป
ความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำ
- การมีปริมาณน้ำคร่ำมากกว่าปกติจะเรียกว่า Polyhydraminos เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยๆ สำหรับการตั้งครรภ์แฝด หรือ อาจเกิดจากความพิการแต่กำเนิดของทารกบางอย่าง เช่น Hydrocephalus
- การมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติจะเรียกว่า Oligohydraminos สภาวะดังกล่าวจะเป็นสาเหตุทำให้ทารกไม่เจริญเติบโตตามปกติ