การฉีดยาเข้าที่หลัง (Epidural Steroid Injection: ESI)

การฉีดยาเข้าที่หลัง หรือ Epidural Steroid Injection เป็นทางเลือกในการช่วยบรรเทาอาการปวดหลัง ปวดขา หรือปวดหลังกับขาแก่คนไข้ แพทย์จะฉีดส่วนผสมของยา Triamcinolone ซึ่งเป็นยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ และยาระงับความรู้สึก ในการฉีดยาดังกล่าว แพทย์จะใช้เครื่องมือ Pain Control Manipulator ซึ่งช่วยตรวจวินิจฉัยอาการและบรรเทาอาการปวดหลังด้วย

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังแบบเก่า

เดิมการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลัง จะต้องใช้เครื่องเอกซเรย์(Fluoroscopy)ร่วมด้วย เพื่อช่วยในการตรวจสอบตำแหน่งในการฉีด ซึ่งจะต้องเอกซเรย์หลายครั้ง ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์ อาจได้รับอันตรายจากรังสีจากการเอกซเรย์ อันตรายที่สำคัญจากการได้รับรังสีฯ ในปริมาณสูง คือ เนื้อเยื่อหรืออวัยวะในบริเวณที่ได้รับรังสีเกิดการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ และเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ได้รับรังสีในระยาวซึ่งมักนานเกิน 5 ปีขึ้นไป

การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงกระดูกสันหลังแบบใหม่ผ่านเครื่องอัลตร้าซาวด์

ในปัจจุบันการได้มีการนำเครื่องอัลตร้าซาวด์ความถี่สูงมาใช้แทนเครื่องเอกซเรย์ ทำให้ระบุตำแหน่งในการฉีดยาได้แม่นยำมากขึ้น ประหยัดเวลาในการฉีดยาระงับการอักเสบเข้าโพรงประสาทสันหลัง ลดอัตราการฉีดยาผิดตำแหน่ง สามารถแสดงผลให้ผู้ป่วยเห็นในเวลาเดียวกันได้ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการรับรังสีเอ็กซ์ต่อผู้ป่วยและแพทย์

กลุ่มคนไข้ที่เหมาะกับ การฉีดยาเข้าที่หลัง (Epidural Steroid Injection: ESI)

  • คนไข้ที่อายุมาก มีความเสี่ยงไม่สามารถผ่าตัดได้
  • คนไข้ที่มีอาการปวดหลัง และไม่สามารถรักษาให้หายด้วยการผ่าตัด
  • คนไข้ที่มีอาการปวดหลังที่ไม่ทราบสาเหตุของอาการ
  • คนไข้ที่มีอาการปวดหลังส่วนบนและล่าง ที่มีสาเหตุมาจากการกดทับเส้นประสาท มีเจลในหมอนรองกระดูกไหลกดทับเส้นประสาทและมีอาการปวดร่วมด้วย หรือไม่มีอาการปวดร่วมด้วย

ข้อดี การฉีดยาเข้าที่หลัง (Epidural Steroid Injection: ESI)

  • แพทย์ไม่ได้ใช้ needle ในการฉีด จึงควบคุมการฉีดได้ดีกว่า และไม่แข็งเท่า needle
  • สามารถฉีดได้ตรงจุดที่คนไข้มีอาการ
  • มีความปลอดภัยมากกว่า จะมีตัว guiding บอกทิศทางว่าจุดใด
  • การฉีดยาดังกล่าว สามารถช่วยวินิจฉัยอาการของคนไข้ได้ด้วยว่ามีปัญหาที่จุดใด
  • คนไข้ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่ รพ. สามารถกลับบ้านได้ (เป็น OPD)

การรักษา การฉีดยาเข้าที่หลัง (Epidural Steroid Injection: ESI)

การรักษาเบื้องต้น ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวด ร่วมกับการออกกำลังกายและการทำกายภาพบำบัด หากมีอาการปวดไม่ดีขึ้น และมีอาการอ่อนแรงยาวนาน 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน ควรทำ MRI และ CT scan เพื่อหาสาเหตุของอาการดังกล่าว

สเตียรอยด์ คืออะไร

สเตียรอยด์ เป็นกลุ่มฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เองแต่ในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้เป็นปกติอยู่เสมอ จึงทำให้บริษัทยา ผลิตยาสเตียรอยด์ขึ้นมาจำหน่าย โดยเลียนแบบสเตียรอยด์ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ เช่น ต้านการอักเสบในโรคปวดข้อรูมาตอยด์ ลดอาการปวดต่างๆ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ และนอกจากนี้สเตียรอยด์ยังมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน จึงมีการนำมาใช้เพื่อลดภูมิคุ้มกันในโรคแพ้ภูมิตนเองเพื่อไม่ให้โรคลุกลาม เช่น โรคเอสแอลอี (โรคพุ่มพวง) โรคสะเก็ดเงิน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ฯลฯ

[Total: 1 Average: 5]