หอบหืด

หืด คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งมีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นเนื่องจากหลอดลมตีบเป็นครั้งคราว ทำให้มีอาการหายใจหอบเหนื่อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง ส่วนมากมักจะไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้นในรายที่เป็นมากหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร หรือมีอันตรายถึงตายได้ บ้างเรียก “หอบ”

โรคนี้พบได้บ่อยในคนทุกวัย มีความซุกสูงสุดในช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนใหญ่มักมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่อายุก่อน 5 ปี ส่วนน้อยที่เกิดขึ้นครั้งแรกในวัยหนุ่มสาวและวัยสูงอายุ

  •  ในบ้านเราเคยมีการสำรวจนักเรียนในกรุงเทพฯ พบว่ามีความชุกของโรคนี้ประมาณร้อยละ 4–13
  • ในวัยเด็ก (ก่อนวัยหนุ่มสาว) พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงประมาณ 1.5-2 เท่า

ทั่วโลกพบว่าโรคนี้มีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในทุกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองที่มีสิ่งแวดล้อม(ได้แก่ มลพิษและสารก่อภูมิแพ้)  และวิธีชีวิตที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนี้

สาเหตุ หอบหืด

เกิดจากปัจจัยร่วมกันหลายประการ ทั้งทางด้านกรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  การติดเชื้อ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีการอักเสบเรื้อรังของหลอดลมทำให้หลอดลมมีความไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ มากกว่าคนปกติเป็นเหตุให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม (เสมหะ) มากในหลอดลม มีผลโดยรวมทำให้หลอดลมตีบแคบลงเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นชนิดผันกลับได้ (revesible) ซึ่งสามารถกลับคืนเป็นปกติได้เอง หรือภายหลังให้ยารักษา

 บางรายอาจมีการอักเสบของหลอดลมอย่างต่อเนื่องนานเป็นแรมปี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโครงสร้างของหลอดลมจะค่อยๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงจนในที่สุดมีความผิดปกติ (airway remodeling) ชนิดไม่ผันกลับ (irreversible) ทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร

ผู้ป่วยมักมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อื่น ๆ (เช่น ไข้หวัด ภูมิแพ้ ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้) ร่วมด้วย และมักมีพ่อแม่ปู่ย่าตายายหรือญาติพี่น้องเป็นหืดหรือโรคภูมิแพ้อื่นๆ 

นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น ได้แก่ ทารกคลอดก่อนกำหนดหรือน้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกที่มีมารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อไวรัสตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสอาร์เอสวี การสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ (ได้แก่ ไรฝุ่นบ้าน) ปริมาณมากตั้งแต่ในช่วงขวบปีแรก

อาการ หอบหืด

มักมีอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก หรือหอบเหนื่อย ร่วมกับมีเสียงดังวี้ดคล้ายเสียงนกหวีด (ระยะแรกจะได้ยินช่วงหายใจออก ถ้าเป็นมากขึ้นจะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและออก ถ้าเป็นมากขึ้นจะได้ยินทั้งช่วงหายใจเข้าและออก) อาจมีอาการไอ ซึ่งมักมีเสมหะใสร่วมด้วย

บางรายอาจมีเพียงอาการแน่นอึดอัดในหน้าอก หรือไอเป็นหลัก โดยไม่มีอาการอื่นๆ ชัดเจนก็ได้ อาการไอดูคล้ายไข้หวัดหวัดภูมิแพ้ หรือหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรกเริ่มของโรคนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการไอมมากตอนกลางคืนหรือเช้ามืด ในช่วงอากาศเย็นหรืออากาศเปลี่ยน  หรือวิ่งเล่นมาก ๆ เด็กเล็กอาจไอมากจนอาเจียนออกมาเป็นเสมหะเหนียว ๆ และรู้สึกสบายหลังอาเจียน

ผู้ป่วยอาจมีอาการภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก คันคอ เป็นหวัดจามหรือผื่นคันร่วมด้วย หรือเคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน

ในรายที่เป็นเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางมักจะมีอาการเป็นครั้งคราว และมักกำเริบทันทีเมื่อมีสาเหตุกระตุ้นผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบากจะลุกขึ้นนั่งฟุบโต๊ะหรือพนักเก้าอี้และหอบตัวโยน ในรายที่เป็นรุนแรงมักมีอาการต่อเนื่องตลอดทั้งวันจนกว่าจะได้ยารักษา จึงจะรู้สึกหายใจโล่งสบายเช่น ในช่วงที่ไม่มีอาการกำเริบ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบาย เช่น คนปกติทั่วไป

ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคหืดรุนแรง เช่น เคยหอบรุนแรงจนต้องไปรักษาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลบ่อยเคยต้องใส่ท่อหายใจช่วยชีวิต  ต้องใช้ยาสตีรอยด์ชนิดกินหรือฉีด หรือต้องใช้ยากระตุ้นบีตา 2 ชนิดออกฤทธิ์สั้น สูดมากกว่า 1-2 หลอด/เดือน ถ้าขาดการรักษาหรือได้รับยาไม่เพียงพอในการควบคุมอาการ  อาจมีอาการหอบอย่างต่อเนื่องเป็นชั่วโมง ๆ ถึงวัน ๆ แม้จะใช้ยารักษาตามปกติที่เคยใช้ ก็ไม่ไดผล เรียกว่า ภาวะหืดดื้อ หรือ หืดต่อเนื่อง (status asthmaticus) ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบาก ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนและมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์  เกิดภาวะเลือดเป็นกรด มีอาการสับสน หมดสติ ในที่สุดหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น เสียชีวิต ในเวลารวดเร็ว

การป้องกัน หอบหืด

  1. โรคนี้แม้ว่าจะเป็นเรื้อรัง แต่หากได้รับการรักษาอย่างพอเพียงและต่อเนื่อง ก็มักจะควบคุมอาการได้  สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติสุขเหมือนคนทั่วไปและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้
  2. ผู้ป่วยบางรายอาจมีเพียงอาการไอโดยไม่มีอาการหอบเหนื่อย หรือหายใจมีเสียงวี้ด ทำให้วินิจฉัยผิดและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการไอบ่อย ตอนกลางคืนหรือเช้ามืด ในช่วงอากาศเย็นหรืออากาศ เปลี่ยน หรือขณะวิ่งเล่นมาก ๆ ควรคิดถึงโรคหืดระยะแรกเริ่ม  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีประวัติโรคหืดในครอบครัวหรือมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ก่อน หากไม่แน่ใจควรส่งไปตรวจเพิ่มเติมที่โรงพยาบาล
  3. ผู้ป่วยโรคหืดอาจมีอาการกำเริบรุนแรงขณะตั้งครรภ์ หรือเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาล ควรปรับยาให้สามารถควบคุมอาการได้ดี   มิเช่นนั้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
  4. ถ้าน้ำหนักเกินหรืออ้วน ควรลดน้ำหนัก อาจช่วยให้อาการลุเลาได้
  5. ในรายที่ให้ยารักษาแล้วยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ อาจเกิดจากการวินิจฉัยผิด มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผู้สูงอายุ และมีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน) ผู้ป่วยสูบบุหรี่ การใช้ยาไม่ครบขนาดการสูดยาไม่ถูกวิธี การไม่ได้รักษาโรคที่พบร่วม (เช่นโรคกรดไหลย้อน โรคหวัดภูมิแพ้) การสัมผัสสาเหตุกระตุ้นการดื้อต่อสตีรอยด์ หรือเป็นโรคหืดที่รุนแรง ควรค้นหาสาเหตุ และให้แก้ไขตามสาเหตุ
  6. ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อยรุนแรง ห้ามให้ยานอนหลับ และควรหลีกเลี่ยงยาละลายเสมหะ (mucolytic drugs) ซึ่งอาจทำให้อาการเลวลงได้
  7. ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย
    • ควรติดตามรักษากับแพทย์เป็นประจำ และตรวจสมรรถภาพของปอดเป็นระยะเรียนรู้วิธีใช้ยาให้ถูกต้อง และใช้ยาตามขนาดที่แพทย์แนะนำ อย่าลดละยาตามอำเภอใจ หรือเลิกไปพบแพทย์ แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม
    • ควรพกยาบรรเทาอาการติดตัวเป็นประจำหากมีอาการกำเริบ ให้รีบสุดยา 2-4 หน (puff) ทันทีถ้าไม่ทุเลาอาจสูดซ้ำทุก 20 นาที อีก 1-2  ครั้ง ถ้ายังไม่ทุเลาควรไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่าปล่อยให้หอบนานอาจเป็นอันตรายได้
    • ควรดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ อย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ไอมีเสมหะเหนียว หรือมีอาการหอบเหนื่อย
    • ทุกครั้งที่สูดยาสตีรอยด์ ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาตกค้างที่คอหอย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคเชื้อราในช่องปาก 
    • ทุกครั้งที่สูดยาหรือยาลูกกลอนมาใช้เอง เพราะยาเหล่านี้มักมีสตีรอยด์ผสม แม้ว่าอาจจะใช้ได้ผล แต่ต้องใช้เป็นประจำ ซึ่งทำให้มีผลข้างเคียงร้ายแรงตามมาได้อย่างไรก็ตาม ถ้าเคยใช้ยาเหล่านี้มานาน ห้ามหยุดยาทันทีอาจทำให้มีอาการหอบกำเริบรุนแรงหรือเกิดภาวะต่อมหมวกไตวิกฤติ ได้ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อหาทางค่อยๆ ปรับลดยาลง
    • ฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ (โดยการเป่าลมออกทางปาก ให้ลมในปอดออกให้มากที่สุด) เป็นประจำ จะทำให้รู้สึกปลอดโปร่งสดชื่น อาจช่วยให้อาการดีขึ้นได้

การรักษา หอบหืด

                1. เมื่อมีอาการหอบหืดกำเริบฉับพลัน ให้สูดยากระตุ้นบีตา 2) ทันที ถ้าไม่มียาชนิดสูด ให้ฉีดยากระตุ้นบีตา 2 เข้าใต้ผิวหนังแทน ถ้ายังไม่ทุเลา สามารถให้ยาสูดหรือยาฉีดดังกล่าวซ้ำได้อีก 1-2 ครั้งทุก 20 นาที

                     หากผู้ป่วยรู้สึกหายดี ให้ทำการประเมินอาการสาเหตุกระตุ้น  และประวัติการรักษาอย่างละเอียด

                    ในกรณีที่มีประวัติเป็นโรคหืดและมียารักษาอยู่ประจำ ถ้าป่วยมีอาการตอนกลางวันไม่เกิน 2 ครั้ง/สัปดาห์ สามารถทำกิจกรรม ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นปกติ และไม่มีอาการตอนกลางคืน ก็ให้การรักษาแบบกลุ่มที่ควบคุมโรคได้ โดยให้ใช้ยาที่เคยใช้อยู่เดิมต่อไป

                     ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งมีอาการครั้งแรกและไม่เคยได้รับยารักษามาก่อน ควรเริ่มให้การรักษาขั้นที่ 2 และถ้ามีอาการรุนแรงก็ควรเริ่มให้การรักษาขั้นที่ 3 ควรส่งตรวจสมรรถภาพของปอด ให้สุขศึกษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง และการหลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้น

                     ควรติดตามผู้ป่วยทุก 1-3 เดือน เพื่อประเมินอาการและปรับเปลี่ยนขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสม

                     2. ผู้ป่วยมีอาการกำเริบและมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ ควรส่งโรงพยาบาลด่วน

  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้นภายใน 1-2 ชั่วโมง มีอาการหอบต่อเนื่องมานานหลายชั่วโมง หรือ มีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย
  • มีอาการหอบรุนแรง ซี่โครงบุ๋ม ปากเขียว มีอาการสับสน ซึม หรือพูดไม่เป็นประโยค
  • มีประวัติเคยเป็นโรคหืดรุนแรง  เคยรับการรักษาในห้องอภิบาลผู้ป่วย (ไอซียู) เนื่องจากโรคหืดมาก่อน กำลังกินหรือเพิ่งหยุดกินยาสตีรอยด์ หรือใช้ยาบีตา 2 ออกฤทธิ์สั้นสูดบ่อยกว่าทุก 3–4 ชั่วโมง
  • มีอาการหอบเหนื่อยที่สงสัยว่าเกิดจากสาเหตุร้ายแรงอื่น ๆ เช่น 
    • มีไข้และใช้เครื่องฟังตรวจปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) หรือสงสัยว่าเป็นปอดอักเสบ  หรือหลอดลมฝอยอักเสบ
    • มีอาการเท้าบวม  หลอดเลือดคอโป่ง ความดันโลหิตสูง หรือสงสัยมีภาวะหัวใจวาย 
    • มีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง มีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือสงสัยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย 

                          แพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลในรายที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน อาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น เอกซเรย์ปอด  ตรวจสมรรถภาพของปอด ตรวจเลือด ตรวจเสมหะ ตรวจคลื่นหัวใจ เป็นต้น

การรักษา ในรายที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคหืดกำเริบรุนแรงหรือภาวะหืดต่อเนื่อง มีแนวทางในการรักษาดังนี้

  • ให้ออกซิเจน และสารน้ำ (น้ำเกลือ)
  • ให้ยาขยายหลอดลม ได้แก่ ยากระตุ้นบีตา 2 ออกฤทธิ์สั้น ชนิดสูด 2-4 หน (Puff) ทุก 20นาทีในชั่วโมงแรก ต่อไป 2-4 หน  (puff) ทุก 3-4 ชั่วโมง สำหรับในรายที่เป็นรุนแรงเล็กน้อย หรือ 6-10 หน (Puff) ทุก 1-2 ชั่วโมง สำหรับในรายที่เป็นรุนแรงปานกลางถึงมาก
  • ให้สตีรอยด์ชนิดสูดในขนาดสูงกว่าเดิม
  • ในรายที่มีอาการรุนแรงปานกลางและมากให้สตีรอยด์  ชนิดฉีดหรือกิน อาจให้เมทิลเพร็ดนิโซโลน 40-60 มก.(เด็ก 1 มก/กก.)  ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง หรือในรายที่กินได้ ให้กินเพร็ดนิโซโลน 40-60 มก.(เด็กให้ขนาด 1-2 มก./กก/วัน) วันละครั้งเมื่ออาการดีขึ้น (มักได้ผลภายใน 36-48 ชั่วโมง) ก็ให้กินเพร็ดนิโซโลนต่อจนครบ 5 วัน
  • ในรายที่หอบรุนแรงจนเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว อาจต้องใส่ท่อหายใจและเครื่องช่วยหายใจและแก้ไขภาวะผิดปกติต่าง ๆ  พร้อมกัน

เมื่อควบคุมอากาได้แล้ว แพทย์จะนัดติดตามดูอาการภายใน 2-4 สัปดาห์ 

                     3. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดทุกราย แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาระยะยาวเพื่อควบคุมอาการให้น้อยลง ป้องกันอาการกำเริบรุนแรงเฉียบพลัน  ฟื้นฟูสมรรถภาพของปอดให้กลับคืนสู่ปกติ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ป้องก้นการเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างถาวร โดยมีแนวทางการดูแลรักษาดังนี้

ก. ประเมินความรุนแรงของโรค โดยพิจารณาจากอาการแสดงร่วมกับการตรวจสมรรถภาพของปอด (ดูค่า  FEV1 และ PEF)

ข. ให้ยารักษาโรคหืด  ซึ่งมีการเลือกใช้ชนิดและขนาดของยาตามระดับของการควบคุมโรค ดังนี้

  • กลุ่มควบคุมได้  ให้การรักษาตามขั้นตอนเดิมต่อไปอย่างน้อย 3 เดือน  แล้วค่อยๆ  ปรับลดขั้นตอนลงทีละน้อย (เช่น จากขั้นที่ 3 เดิมลงเป็นขั้นที่ 2 และ 1 ตามลำดับ) จนกว่าจะใช้การรักษาขั้นที่ต่ำสุดที่ยังสามารถควบคุมอาการได้
  • กลุ่มควบคุมได้บางส่วน และกลุ่มควบคุมไม่ได้  ควรปรับเพิ่มขั้นตอนการรักษาจนกว่าจะสามารถควบคุมอาการได้ภายใน 1 เดือน ก่อนปรับยาควรทบทวนว่าผู้ป่วยมีการใช้ยาตามสั่ง และใช้ถูกวิธีหรือไม่รวมทั้งได้หลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นหรือไม่ และแก้ไขให้รวมทั้งได้หลีกเลี่ยงสาเหตุกระตุ้นหรือไม่ และแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน

                หลังจากควบคุมอาการได้แล้ว ก็ควรติดตามผลการรักษาต่อไปทุก 1-3  เดือน และปรับขั้นตอนการรักษาให้เหมาะกับระดับของการควบคุมโรค  ซึ่งสามารถแปรเปลี่ยน (ดีขึ้นหรือเลวลง) ไปได้เรื่อย ๆ 

                ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคหืด แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • ยาบรรเทาอาการ  (reliever medication)  นิยมใช้ยากระตุ้นบีตา 2 ออกฤทธิ์สั้นชนิดสูด ซึ่งออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้เร็ว และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าชนิดฉีดและชนิดกิน ใช้สูดเมื่อมีอาการ และให้ซ้ำได้เมื่ออาการกำเริบ แต่ไม่ควรเกินวันละ 3-4 ครั้ง

                ในรายที่สูดไม่ได้ อาจใช้ยากระตุ้นบีตา 2 ออกฤทธิ์สั้นชนิดกิน หรือที่โอฟิลลีนออกฤทธิ์สั้นชนิดกินแทน ส่วนยากระตุ้นบีตา 2 ชนิดฉีดจะใช้เฉพาะเมื่อมีอาการรุนแรงเฉียบพลัน

                ในกรณีที่ใช้ยาสูดชนิดนี้เพียงอย่างเดียวไม่ได้ผลเต็มที่ อาจใช้ยาขยายหลอดลมกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก ได้แก่ ไอพราโทรเพียมโบรไมด์ชนิดสูดแทนหรือใช้ร่วมกันซึ่งจะเสริมให้ควบคุมอาการได้ดีขึ้น

  • ยาควบคุมโรค (controller medication)ผู้ป่วยที่ต้องให้การรักษาตั้งแต่ขั้นที่ 2 ถึง 5 แพทย์จะให้ยาควบคุมโรค ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดการอักเสบการบวมของผนังบุหลอดลม ยากลุ่มนี้ถือเป็นยาหลักในการรักษาโรคหืดเรื้อรัง  ซึ่งเมื่อใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้ควบคุมโรคและลดการกำเริบของโรคได้ยากลุ่มนี้ได้แก่

         -  สตีรอยด์ชนิดสูด (inhaled  glucocorticosteroid / ICS เช่น บีโคลเมทาโซนไดโพริโอเนตบูดีโซไนด์ ฟลูนิโชไลด์ ฟลูทิคาโซน ไตรแอมซิโนโลน อะเซโทไนด์ เป็นต้น มักใช้เดี่ยวๆ ในการรักษาขั้นที่ 2 และ 3 หรือใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 3-5 ยากระตุ้นบีตา 2 ออกฤทธิ์นาน  เช่น Formoterol  หรือ salmeterol ชนิดสูด bambuterol ชนิดกิน เป็นต้น มักใช้ร่วมกับสตีรอยด์ชนิดสูดในการรักษาขั้นที่ 3-5

          -  ยาต้านลิวโคทรีน (leukotriene modi-Fier) เช่น montelukast หรือ zafirlukast ชนิดกิน เป็นต้น ยานี้สามารถใช้เดี่ยว ๆ
ในการรักษาขั้นที่ 2 หรือใช้ร่วมกับยาอื่นในขั้นที่ 3-5 ใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นหืดจากยาแอสไพริน หรือการออกกำลังกาย รวมทั้งในรายที่มีโรคหวัดภูมิแพ้ร่วมด้วย

           -  ที่โอฟิลลีนออกฤทธิ์นานชนิดกิน  มักใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 3 – 5 

           - เพร็ดนิโซโลนชนิดกิน มักใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 5 ขนาด 5 -10 มก.วันละครั้ง สักระยะหนึ่งจนกว่าจะดีแล้วจึงค่อยหยุดยา

            - ยาต้านไอจีอี (amti-IgE) เช่น omali-zumab  ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง  มักใช้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาขั้นที่ 5

                โดยทั่วไป  ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาขั้นที่ 3 แล้ว  ยังควบคุมอาการไม่ได้ ควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหือ  เพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม

                ในเด็กที่มีสาเหตุจากสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และอาการไม่ดีขึ้นหลังการใช้ยาหรือไม่สามารถทนต่อผลข้างเคียง
ของยา  แพทย์อาจพิจารณาให้การรักษาด้วย การขจัดภูมิไว (desensitization)

ค. ให้การรักษาโรคที่พบร่วม เช่น หวัดภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ โรคกรดไหลย้อน เป็นตัน

ง. แนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าหรือสาเหตุกระตุ้นและการปฏิบัติตัวต่าง ๆ 

จ. ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องและทำการตรวจสมรรถภาพของปอดเป็นระยะ ในรายที่เป็นโรคหืดรุนแรง ควรให้ผู้ป่วยใช้มาตรวัดการไหลของ ลมหายใจออกสูงสุด (Peak flow meter) ไปตรวจเองที่บ้านทุกวัน เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและปรับยาให้เหมาะสม  และผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง

                ผลการรักษา  ส่วนใหญ่สามารถควบคุมอาการได้ดี

                ถ้ามีอาการเริ่มเป็นตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อโตขึ้นหรือ ย่างเข้าวัยหนุ่มสา อาการอาจทุเลาจนสามารถเหยุดการใช้ยาสูดบรรเทาอาการได้  แต่บางรายเมื่ออายุมากขึ้นก็อาจมีอาการกำเริบได้อีก

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจมีการอักเสบของหลอดลมอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่ไม่มีอาการหอบเหนื่อยแล้วหากขาดการให้ยาควบคุมโรค  (ลดการอักเสบ) ก็อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจผิดปกติและอุดกั้นในระยะยาวได้ ดังนั้น ถึงแม้จะมีอาการทุเลาแล้วก็ควรติดตามรักษากับแพทย์อย่าง
ต่อเนื่อง

 ส่วยในรายที่มีอาการมาก  จำเป็นต้องได้รับยาอย่างเพียงพอ หากขาดยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสตีรอยด์มาก่อน ก็อาจมีอาการกำเริบรุนแรงเฉียบพลัน ถึงขึ้นกลายเป็นภาวะหืดดื้อ เป็นอันตรายได้

 ปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหอบหืดอย่างถูกต้องจะมีอัตราตายต่ำ

[Total: 2 Average: 5]